สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย เหลือผู้รอดกี่ราย

สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเวลาเราเดินเข้าร้านเซเว่น หรือเดินผ่านหน้าปากซอย ก็จะเห็นร้านชาขายแก้วละ 19 บาท 25 บาท 40 บาท เรียงรายเต็มไปหมด แล้วเคยสงสัยอีกหรือไม่ ร้านชาที่เคยเห็นกันเกลื่อนกลาด วันนี้อาจหายไปแล้ว

ตลาดเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย กลายเป็นหนึ่งในสมรภูมิทางธุรกิจที่ร้อนแรง เพราะมีทั้งแบรนด์ท้องถิ่นที่เริ่มต้นจากศูนย์ และแบรนด์ต่างชาติ โดยเฉพาะแบรนด์จากจีนที่บุกเข้ามาพร้อมระบบแฟรนไชส์ราคาถูก แต่มีสเกลมหาศาล

นั่นเท่ากับว่าสมรภูมิตลาดเครื่องดื่มชาราคาถูก ไม่ใช่แค่การเล่นสงครามราคา แต่เป็นบททดสอบว่าแบรนด์ไหนจะอยู่รอดได้ในสมรภูมิการแข่งขันที่มีต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ได้กำไรต่อแก้วน้อยลงเรื่อยๆ

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย จะเหลือผู้รอดกี่ราย?

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

การแข่งขันของตลาด “เครื่องดื่มชา” ในประเทศไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่ 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ชาเขียวอย่าง “โออิชิ” และ “อิชิตัน” แม้ผู้ก่อตั้งเป็นคนเดียวกัน แต่พอเปลี่ยนมือก็ได้ประกาศสงครามกันอย่างชัดเจน ต่อมาได้เกิดการแข่งขันของตลาดในอีก Segment ก็คือ เครื่องดื่มชาราคาเดียว 25 บาทต่อแก้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มชาราคาถูกที่สุด เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มในร้านกาแฟเวลานั้น

ผู้ที่เริ่มต้นจุดกระแสให้กับตลาดชา 25 บาท ก็คือ ชาพะยอม ต่อมาได้มีอีกหลายแบรนด์เกิดขึ้นตามมามากมาย จากการสำรวจข้อมูลของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ในตอนนั้น พบว่ามีมากถึง 50-60 แบรนด์ในตลาดเมืองไทย

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

แต่ละแบรนด์เน้นขายแฟรนไชส์ราคาหลักหมื่น หลักแสนบาท ทำให้มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก เพราะมองว่าเป็นธุรกิจที่กำลังเป็นกระแสมาแรงอย่างมาก ผู้บริโภคให้ความสนใจเพราะราคาเพียง 25 บาทเท่านั้น

ภาพการแข่งขันของตลาดเครื่องดื่มชาราคาเดียว เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาแค่ 2- 3 ปี โดยช่วงที่มีการแข่งขันกันดุเดือด จะเห็นว่าแต่ละแบรนด์มีการขยายสาขาไปเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ปริมณฑลจะมีสาขามากที่สุด

ด้วยความที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ประกอบกับรสชาติเครื่องดื่มของแต่ละแบรนด์ไม่ต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการร้านที่อยู่ใกล้ๆ มากกว่า ทำให้ร้านที่อยู่ไกลขายไม่ได้ ผู้บริโภคไม่มีความภักดีต่อแบรนด์ จะซื้อร้านไหนก็ได้ที่อยู่ใกล้และสะดวก

เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ละสาขาของแบรนด์ต่างๆ เริ่มทยอยปิดตัวหายไปจากตลาดเครื่องดื่มชาราคาเดียว อาจเป็นเพราะลูกค้าประจำหายไป กระแสเริ่มซาลง ค่าเช่าแพง

ประกอบกับเริ่มมีแบรน์เครื่องดื่มชานมราคา 19 – 40 บาท กลับเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอีกครั้ง ผู้บริโภคที่เริ่มเบื่อชาเขียว 25 บาท ก็หันมาหาชานมไข่มุกที่อร่อยและขายราคาต่ำกว่าทันที เพราะเป็นตัวเลือกใหม่ในตลาด

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

หลังจากนั้นตลาดเครื่องดื่มชาราคาถูกในประเทศไทย เริ่มกลับมามีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นอีกครั้ง นับตั้งแต่เริ่มมีการบุกตลาดเข้ามาของแบรนด์ไอศกรีมและชาจากจีน – อินโดนีเซีย ขายเครื่องดื่มชาในราคาต่ำเริ่มต้น 20 – 40 บาท ไม่ว่าจะเป็น Mixue, Ai-Cha, Wedrink, Bing Chun, Momoyo ฯลฯ

ยังไม่พอแค่นี้ ในอนาคตคาดว่ายังมีแบรนด์ไอศกรีมและชาจากจีน กำลังจะบุกเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย ชูโมเดลขายสินค้าราคาถูก ขายแฟรนไชส์ราคาต่ำ เหมือนแฟรนไชส์ MIXUE นั่นคือ

  • บิงซู (Bingxue) ก่อตั้ง 2557 มีจำนวนมากกว่า 3,000 สาขาทั่วโลก
  • คูลเลอร์ ซิตี้ (Cooler City) ก่อตั้ง 2561 มีจำนวนมากกว่า 2,000 สาขาทั่วโลก

กลยุทธ์และความสำเร็จแบรนด์ชาจากจีน

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแฟรนไชส์ไอศกรีมและชา MIXUE เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2025 ได้เป็นผลสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงโมเดลการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยจำนวนมากกว่า 46,500 สาขาทั่วโลก แซงหน้าแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง McDonald’s ที่มีอยู่ 42,406 สาขาทั่วโลก, แฟรนไชส์ไก่ทอด KFC มีจำนวน 30,680 สาขาทั่วโลก

จากการเข้าเทรดหุ้น IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงวันแรก สามารถระดมทุนได้ประมาณ 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าตลาดอยู่ที่ราวๆ 12.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งผลให้ 2 พี่น้อง Zhang Hongchao (ประธาน) และ Zhang Hongfu (CEO) ผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านชาและไอศกรีมราคาประหยัดอย่าง Mixue กลายเป็นเศรษฐีมีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าทรัพย์สินของ MIXUE ถือว่าสูงกว่า Chagee แฟรนไชส์ชาจากจีน ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 6,440 สาขาทั่วโลก โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน เม.ย. 2025 ส่งผลให้ผู้ก่อตั้งวัย 30 ปีอย่างคุณ Junjie Zhang กลายเป็นมหาเศรษฐีมีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่ทำให้แฟรนไชส์ไอติมและชาราคาประหยัด MIXUE จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงได้สำเร็จ มาจากจำนวนสาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีมากกว่า 46,500 สาขาทั่วโลก ครอบคลุมตลาดจีนและหลายประเทศ เช่น ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฯลฯ ที่สำคัญโมเดลธุรกิจของ MIXUE สามารถทำกำไรในปี 2024 มากกว่า 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โมเดลรายได้หลักมาจาก ขายวัตถุดิบ อุปกรณ์ และวัสดุให้สาขาแฟรนไชส์ คิดเป็นสัดส่วน 97.6 % ของรายได้ทั้งหมด บริษัทฯ แทบจะไม่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์โดยตรง

MIXUE ยังมีโรงผลิตและระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ช่วยลดต้นทุน เพิ่มมาร์จิ้น จัดส่งวัตถุดิบถึงสาขาแฟรนไชส์ใน 12 ชั่วโมงครอบคลุมทั่วจีน

เครื่องดื่มชาราคาถูก

ถ้าหากเปรียบเทียบความสำเร็จแฟรนไชส์ MIXUE ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ กับแฟรนไชส์ ชานมไทย ที่ยังไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ สามารถวิเคราะห์ได้หลากหลายมุม

  • เริ่มจากจำนวนสาขา MIXUE ที่มีมากกว่า 46,500 สาขาทั่วโลก ส่วนแบรนด์ไทยหลักร้อยถึงหลักพัน
  • รายได้ของ MIXUE หลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ส่วนแบรนด์ไทยหลักร้อยล้านบาทต่อปี
  • MIXUE จับกลุ่มลูกค้าตลาด Mass เน้นราคาถูก ทั้งในและต่างประเทศ
  • การขยายกิจการ MIXUE เปิดสาขาเฉลี่ยวันละ 28 สาขาในจีนและต่างประเทศ ส่วนแบรนด์ไทยเติบโตช้าๆ
  • ภาพลักษณ์และแบรนด์ MIXUE มีความชัดเจน บริหารธุรกิจด้วยระบบ Centralized ใช้มืออาชีพช่วยบริหาร ส่วนแบรนด์ไทยบริหารแบบครอบครัว และเครือญาติ

กระแสชาราคาถูกของไทย

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

สำหรับตลาดเครื่องดื่มชาราคาถูกในประเทศไทย “มารุชา” (MARUCHA) ถือเป็นเจ้าแรกที่จุดกระแสชานมไข่มุกแก้วละ 19 บาท ตั้งแต่ช่วงปี 2017-2018 ก่อนที่จะมีผู้สนใจมาขอซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก

ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 2,200 สาขาทั่วประเทศ มีเมนูหลากหลาย ราคาถูก สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ทำให้เข้าถึงผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย อาทิ ชาชีส, ชานมกาแฟ, ชานมไข่มุก, ชาเขียวไข่มุก, ชานมเผือก ฯลฯ

หลังจากนั้นมีร้านขายชานม 19 บาทอีกหลายแบรนด์เกิดขึ้นจากการจุดกระแสของ “มารุชา” ในช่วงเวลานั้น

ถ้าเปรียบ “มารุชา” เป็นผู้จุดกระแสชานม 19 บาท ก็เหมือนกับ “ชาพะยอม” ที่จุดกระแสให้กับตลาดชาราคาเดียว 25 บาท ในช่วงปี 2015-2016 หลังจากนั้นก็มีผู้ประกอบการแห่เปิดร้านและขยายสาขาจนเกิดภาวะล้นตลาด

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

แบรนด์เครื่องดื่มชาราคาถูก 19-40 บาท สัญชาติไทย ยังมีอีกหลายแบรนด์ เช่น

  • NOBI CHA ราคา 19 – 24 บาท
  • Majime ราคา 19 – 24 บาท
  • Maru Cha ราคา 19 บาท
  • Chakuma ราคา 19 บาท
  • DRAGON CHA ราคา 19 บาท
  • AKITA CHA ราคา 19 บาท
  • Aru Cha ราคา 20 – 25 บาท
  • Daily cha ราคา 20 บาท
  • Moncha ราคา 24 บาท
  • alls BUBBLE TEA ราคา 29 บาท
  • Colla Tea ราคา 29 บาท
  • OWL CHA ราคา 29 – 34 บาท
  • ชาพะยอม ราคา 30 บาท
  • Ochaya ราคา 35 – 40 บาท
  • Pearly Tea ราคา 39 บาท
  • Fresh Me ราคา 40 บาท

กลยุทธ์ในภาพรวมของแบรนด์ร้านชาราคาถูกในไทย

เครื่องดื่มชาราคาถูก

1.กลยุทธ์ด้านราคา

แบรนด์ร้านชาราคาถูกในตลาดเมืองไทยส่วนใหญ่ตั้งราคาที่เข้าถึงได้ง่าย บางแบรนด์ราคาเริ่มต้นที่ 19 บาท บางแบรนด์นำเสนอโปรโมชัน เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือมีการเพิ่มท็อปปิ้งฟรี เพื่อสร้างความคุ้มค่า ซึ่งการใช้กลยุทธ์ขายราคาต่ำจะเป็นจุดดึงดูดให้ลูกค้าใช้บริการในร้านก่อน แล้วนำเสนออัพเกรดเมนู เช่น เพิ่มขนาด เพิ่มปริมาณ เพิ่มไข่มุก เพิ่มนม ฯลฯ

2.กลยุทธ์ด้านสถานที่

หลายๆ แบรนด์ร้านชาราคาถูกมักจะเปิดร้านในทำเลใกล้แหล่งชุมชน เช่น หน้าโรงเรียน หน้ามหาวิทยาลัย ป้ายรถเมล์ ตลาดสด หรือในคอนโดฯ หมู่บ้าน แต่ละสาขาใช้พื้นที่ขนาดเล็ก เช่น คีออส ซุ้ม หรือรถเข็น เพื่อลดต้นทุนค่าเช่า ที่สำคัญบางแบรนด์ดำเนินธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เพื่อขยายสาขาให้ได้รวดเร็วในหลายพื้นที่ที่ตัวเองไม่ชำนาญ

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

3.กลยุทธ์ด้านการตลาด

สังเกตได้ว่าหลายแบรนด์ชานมทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นหลัก เช่น Facebook, TikTok, Instagram เพื่อโปรโมตร้านของตนเอง บางแบรนด์ทำคอนเทนต์ให้เกิดไวรัลแพร่หลาย เช่น ชาไข่มุก 19 บาท แก้วไซส์ใหญ่เท่าแขน หรือใช้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยรีวิวร้านหรือเมนูให้ เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์และดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการที่ร้าน

4.กลยุทธ์ด้านสินค้า

หลายแบรนด์ชานมไข่มุกนำเสนอเมนูที่ลูกค้าเข้าใจง่าย เช่น ชานมไข่มุก ชานมเผือก โกโก้ ชาเขียว ฯลฯ ปรุงรสชาติมาตรฐานคงที่ ไม่หวานเกิน ไม่จืดเกิน เพื่อให้ถูกปากกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง หรือเน้นปริมาณมาก “คุ้มค่า” เช่น แก้วใหญ่ 22-24 ออนซ์

เครื่องดื่มชาราคาถูก

5.กลยุทธ์ความแตกต่าง

สังเกตหรือไม่ว่า ร้านชาราคาถูกหลายแบรนด์มักชูเอกลักษณ์ใช้บรรจุภัณฑ์โดดเด่น เช่น แก้วพิมพ์ลายคาแรกเตอร์น่ารัก และมีการตั้งชื่อเมนูแปลกใหม่ หรือสนุกสนาน เพื่อสร้างอารมณ์และดึงดูดให้ลูกค้ามาถ่ายรูปและแชร์บนโซเชียลมีเดีย ที่สำคัญบางแบรนด์ชูจุดเด่นในเรื่องการใช้วัตถุดิบคุณภาพในราคาประหยัด สบายกระเป๋า ช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น

สงครามชาราคาถูก ส่งผลอย่างไรต่อผู้บริโภค

ชมงาน TFBO 2025

การแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มชาที่หลายๆ แบรนด์ชูจุดขายราคาถูกตั้งแต่ 19-40 บาท มีเมนูให้เลือก 60-70 เมนู แน่นอนว่าจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการได้มากขึ้น สามารถเข้าถึงเครื่องดื่มในราคาย่อมเยาสบายกระเป๋าได้ง่าย

แต่บางครั้งก็มีข้อเสียตรงที่บางแบรนด์หรือบางสาขาใช้วัตถุดิบคุณภาพต่ำลง เพื่อควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงเกินไป ที่สำคัญเมื่อมีร้านชาราคาถูกหลากหลายแบรนด์ให้เลือกมากมาย อาจทำให้ผู้บริโภคสับสนและรู้สึกเบื่อหน่ายเร็วขึ้น

สงครามชาราคาถูก ส่งผลอย่างไรต่อแบรนด์

ต้นทุนค่าเสียโอกาส

แบรนด์เครื่องดื่มชาที่ขายราคาถูก 19-40 บาท จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้าง หรือเป็นกลุ่มลูกค้าตลาด Mass เช่น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ไม่เคยดื่มชานม ก็เปลี่ยนใจมาซื้อกินเพราะราคาไม่แพง

แต่ผลเสียต่อแบรนด์ ก็มีมากมายเช่นกัน

  1. กำไรต่อแก้วหด เมื่อแบรนด์จำนวนมากขายราคาถูก อาจทำให้กำไรต่อแก้วลดลง หากไม่มี Volume มากพออาจทำให้ขาดทุน เช่น ถ้าบางร้านได้กำไร 3-5 บาท/แก้ว หากยอดขายต่ำกว่า 100 แก้ว/วัน จะขาดทุนทันที
  2. คุณภาพลดน้อยลง การขายราคาต่ำอาจทำให้หลายๆ แบรนด์ต้องลดต้นทุนลง เช่น เปลี่ยนใบชาเกรดต่ำลง ใช้น้ำเชื่อมแทนน้ำตาลธรรมชาติ หรือใช้ Topping ในราคาถูกลง เมื่อลูกค้ารู้สึกไม่ดี อาจทำให้สูญเสียลูกค้าในระยะยาวได้
  3. ตลาดอิ่มตัว คนไทยเบื่อง่าย เพราะมีร้านชาจำนวนมาก ไม่ภักดีต่อแบรนด์ เลือกร้านใกล้บ้าน ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น เสี่ยงต่อการขาดทุน ถ้าผู้บริโภคใช้บริการน้อย ที่สำคัญผู้บริโภคบางกลุ่มลดการซื้อของ “ฟุ่มเฟือย” หรือของทานเล่น เช่น ชานม, ขนมหวาน, กาแฟ เพราะค่าครองชีพสูง สุดท้ายแต่ละสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ก็ต้องปิดตัวลง

ปัจจัยทำให้ร้านชาราคาถูกอยู่รอด

สมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูกในไทย

  1. ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะร้านราคาถูกต้องอยู่ย่านคนพลุกพล่าน ค่าเช่าไม่แพง
  2. บริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบให้ต่ำที่สุด โดยที่คุณภาพของสินค้ายังเหมือนเดิม
  3. คุณภาพสินค้า รสชาติเครื่องดื่มทุกแก้วต้องอร่อยถูกปาก คุ้มค่า
  4. สร้างแบรนด์ให้เป็นรู้จัก มีโลโก้ มีชื่อร้านเป็นที่จดจำได้ง่าย การตกแต่งร้านมีเอกลักษณ์โดดเด่น
  5. การทำตลาดสม่ำเสมอ จัดโปรโมชั่น สะสมแต้ม เช่น ซื้อ 10 ฟรี 1 ช่วยดึงดูดลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ
  6. การบริหารจัดการร้าน มีสูตรตายตัว รสชาติเป็นมาตรฐานทุกสาขา มีการอบรมพนักงานให้บริการดี

จะเห็นได้ว่า ถ้าเรามองจากภาพรวมของสมรภูมิเครื่องดื่มชาราคาถูก ในไทยที่มีการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกันตั้งแต่ราคา 19 บาทไปจนถึง 40 บาท สะท้อนให้เห็นว่าตลาดเครื่องชาไม่ได้แข่งขันกันที่ “รสชาติ” หรือ “ความสดใหม่” อีกต่อไป แต่เป็นการแข่งขันกันด้วยกลยุทธ์ด้านราคา, การบริหารต้นทุนให้ต่ำ เพื่อให้ได้กำไร และอยู่รอดได้

ผู้เล่นที่อยู่รอดในวันนี้ คือแบรนด์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ชอบ “ราคาถูก” และยังรักษาคุณภาพเอาไว้ได้ มีการสื่อสารจากแบรนด์ที่ชัดเจน เช่น ใช้ภาพลักษณ์ทันสมัย, มี Story หรือสร้างคาแรกเตอร์ที่ชัดเจนบนโซเชียลฯ

ส่วนผู้เล่นรายย่อยที่ไม่มีระบบจัดการต้นทุน ไม่มีอัตลักษณ์แบรนด์ หรืออิงกับทำเลอย่างเดียว หลายรายต้องปิดตัวลงไปในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถแบกรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการแข่งขันจากแบรนด์ต่างชาติที่เข้ามาด้วยทุนที่เหนือกว่า

ดังนั้น ตลาดเครื่องดื่มชาราคาถูกในวันนี้ เหลือ “ผู้อยู่รอด” ไม่มากนัก ถ้าเทียบกับจำนวนร้านชาที่เคยผุดขึ้นทั่วประเทศ เมื่อ 4-5 ปีก่อน

คำถามสำคัญต่อจากนี้ก็คือ ใครคือผู้เล่นที่จะยืนระยะได้จริง? และผู้บริโภคอย่างเราจะเลือกแบรนด์ที่ถูกที่สุด หรือแบรนด์ที่ “คุ้ม” ที่สุด?

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช