สงครามชาพรีเมียม! ใครจะอยู่ ใครจะไป ในสมรภูมิเครื่องดื่มแก้วละร้อยในไทย
ในวันนี้ถ้าหากใครยังคิดว่า “ชานม” คือเครื่องดื่มราคาถูก ที่จะอยากดื่มเมื่อไหร่ก็ได้ ลองคิดใหม่ เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องดื่มชาของไทยไม่ได้อยู่ในยุคของชาราคา 19 บาท หรือแฟรนไชส์ชานม 50 บาทอีกต่อไป แต่เป็นยุคของตลาด “ชาพรีเมียม” หรือเรียกว่าชานมรูปแบบใหม่ (ชาผลไม้) ที่มีราคาต่อแก้วเริ่มต้นตั้งแต่ 75 ไปจนถึง 150 บาท
และที่สำคัญมันไม่ใช่แค่ตลาดเครื่องดื่มชาปกติทั่วไป แต่มันคือศึกใหญ่ที่เต็มไปด้วยแบรนด์คุณภาพสูง ทั้งจากไทย และแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่จากจีน ไต้หวัน ที่กำลังสู้กันอย่างดุเดือด เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลหลายหมื่นล้านบาทในไทย แบรนด์ชาไทย ไต้หวัน และจีน ราคาเริ่มต้น 75 บาทขึ้นไป
ชาจีน
- Cha i Enjoy
- Naixue (NaiSnow)
- Chagee
- Molly Tea
- CHAPANDA
- Taning
ชาไต้หวัน
- KOI Thé
- The Alley
- CHICHA San Chen
- XING FU TANG
ชาไทย
- GAGA
- Karun
- Jian Cha Tea
- Chongdee Teahouse
- Nose Tea
- Khiri Thai Tea
- Peace Oriental Teahouse
รูปแบบสงครามชาพรีเมียมในไทย
1.แฟรนไชส์ชาจีนบุกหนักด้วยคุณภาพระดับ Tea Master
ยกตัวอย่าง Chagee ยกระดับแบรนด์เป็นชาพรีเมียมจากจีนแท้ มีเบลนด์เฉพาะ ใช้นมสดแท้ ไม่มีครีมเทียม พร้อมภาชนะแก้วบรรจุดีไซน์หรูเหมาะกับลูกค้าสายถ่ายยรูป หรือแม้แต่แบรนด์ชาจีนอย่าง Hey Tea, Molly Tea ก็ไม่ได้มาเล่นๆ แต่มาด้วยสูตรดั้งเดิม บวกกับดีไซน์ร้านที่เป็นเอกลักษณ์ระดับพรีเมียมที่ลูกค้าคนไทยต้องแห่ไปเช็กอิน
2.แบรนด์ชาไทย สู้ด้วยชาต้นรับ รสชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยกตัวอย่างแบรนด์ชาไทย Karan ได้ยกระดับเครื่องดื่มชาพื้นบ้านแข่งขันกับชาระดับแบรนด์พรีเมียมได้อย่างไม่เป็นรอง มีการคัดสรรใบชาคุณภาพเกรดดีจากภาคเหนือจรดใต้ เพื่อนำไปทำเครื่องดื่มมากถึง 46 เมนู
ทุกเมนูร้อนหรือเย็น ล้วนมีสารตั้งต้นมาจากเมนูชาไทยสูตรซิกเนเจอร์ทั้งสิ้น ชูจุดแข็งเรื่อง “กลิ่น รส” แบบไทยๆ และความหอมหวานละมุนที่คนไทยคุ้นเคย
3.สงครามชาพรีเมียมไม่ใช่แค่สู้ด้วย “รสชาติ” แต่สู้ที่ประสบการณ์
สงครามชาพรีเมียมในตลาดเมืองไทย ไม่ได้อยู่แค่ในแก้วชา แต่มันอยู่ที่แบรนด์ไหนให้คุณภาพและความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากกว่า
แบรนด์ไหนสร้างประสบการณ์การดื่มที่ “แตกต่าง” จากคู่แข่งในตลาดจนลูกค้าได้สัมผัสจะต้องแชร์ออกไป ที่สำคัญแบรนด์ชาพรีเมียมที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างลึกซึ้งจะอยู่รอดในระยะยาว
ปัจจัยเกิดสงครามชาพรีเมียมในตลาดเมืองไทย
1.พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป
ผู้บริโภคชาวไทยใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานและ Gen Y-Z เลือกบริโภคของดีมีคุณค่า มากกว่าราคาถูกอย่างเดียว ที่สำคัญผู้บริโภคชาวไทยชอบสินค้าที่เป็นกระแสดังๆ ไม่เกี่ยงเรื่องราคา ขอให้ได้เป็นหนึ่งในผู้ใช่้บริการ สังเกตได้จากแบรนด์ชาจีนหลายๆ แบรนด์เข้ามาเปิดสาขาในไทยจะมีลูกค้ายืนต่อแถวยาวเหยียดจนล้นออกมานอกร้าน
2.การวางตำแหน่งแบรนด์
ชาพรีเมียมในตลาดเครื่องดื่มประเทศไทยส่วนใหญ่จะชูจุดเด่นเรื่อง Premium Ingredients เช่น ใบชา Single Origin, ชาสายพันธุ์หายากจากจีน, การคั่ว การหมักแบบโบราณ รวมถึงภาพลักษณ์หรูหรา คาเฟ่ดีไซน์พรีเมียม ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ “ประสบการณ์” มากกว่าการดื่มชาเฉยๆ ที่สำคัญมีการทำตลาดเชิงอารมณ์ หรือ Emotional Branding เช่น CHAGEE หรือ Hey Tea ขายความ “สงบ ใส่ใจในรายละเอียด” สอดคล้องกับวัฒนธรรมจีน
3.การเติบโตของตลาดเครื่องดื่มชารูปแบบใหม่
ตลาดชาพรีเมียมในประเทศไทยมีมูลค่าหลายพันล้านบาท โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต จากปัจจัยมาจากคนไทยนิยมดื่มชานมและชาเย็นมากกว่ากาแฟในผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน จึงทำให้ชาพรีเมียมเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเครื่องในไทยที่ยังมีพื้นที่สำหรับแบรนด์ใหม่ๆ รสชาติใหม่ๆ
4.กำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายในไทย
แบรนด์ชาพรีเมียมวางเป้าหมายจับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในไทยที่พร้อมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีกว่า และมีความคุ้มค่า เช่น กลุ่มทำงานรุ่นใหม่ คนเมือง นักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้พร้อมที่จะจ่าย 80–150+ บาทต่อแก้ว หากได้เครื่องดื่มชาที่มี คุณภาพ ประสบการณ์ และภาพลักษณ์ที่ดี
จะเห็นได้ว่าสงครามชาพรีเมียมในตลาดเครื่องดื่มของไทย ไม่ใช่แค่การแข่งขันของ “รสชาติเครื่องดื่มชา” แต่มันคือการต่อสู้ของ แนวคิดทางธุรกิจ รสนิยมผู้บริโภค และกลยุทธ์การตลาดแบบใหม่ ที่กำลังเปลี่ยนเกมไปโดยสิ้นเชิง
ขณะที่แฟรนไชส์ชานมราคากลาง ก็เริ่มรู้ตัวว่า ถ้ายังขายเหมือนเดิม อาจถูกคลื่นพรีเมียมซัดจมหายไปในเวลาไม่นาน
แต่สุดท้ายแล้ว แบรนด์ไหนจะอยู่ แบรนด์ไหนจะไป ไม่ได้วัดกันแค่ยอดขายในแต่ละเดือน แต่วัดกันที่แบรนด์ไหนเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ลึกที่สุด
แบรนด์ไหนมอบประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ชาแก้วนี้คุ้มค่าทั้งรสชาติ และประสบการณ์ที่ดีที่สุด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)