รวยถาวร! แค่เปลี่ยน Franchise เป็น Landlord รวยกว่าธุรกิจคือเจ้าของที่
เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจประเภทเดียวกันทั่วโลก แม้จะขายแฟรนไชส์หมือนกัน แต่ทำรายได้และกำไรไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง “แมคโดนัลด์”
สิ้นปี 2024 แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ของโลกอย่าง “แมคโดนัลด์” มีจำนวนสาขากว่า 42,406 แห่งทั่วโลก แบ่งเป็นสาขาบริษัท 2,168 แห่ง, สาขาแฟรนไชส์ในอเมริกา 12,790 แห่ง และสาขาแฟรนไชส์ต่างประเทศ 27,448 แห่ง ครอบคลุมมากกว่า 119 ประเทศทั่วโลก โดย 93% เป็นสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์
จากจำนวนสาขาที่มีมากกว่าสี่หมื่นสาขาทั่วโลก หลายคนคงจะคิดว่าแมคโดนัลด์ มีรายได้จากการขายอาหารอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วแมคโดนัลด์ คือ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่โลก

เรื่องนี้มีจุดเริ่มต้นจาก อดีต CFO ของแมคโดนัลด์ในอเมริากา คือ Harry J. Sonneborn ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือ Ray Croc โดยเปลี่ยน McDonald’s ให้เป็นเครื่องจักรผลิตเงินจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (เช่าที่ดิน/เช่าพื้นที่เปิดร้าน)
Harry J. Sonneborn เคยพูดไว้ว่า จริงๆ แล้วแมคโดนัลด์ไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหาร แต่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้แมคโดนัลด์ขายแฮมเบอร์เกอร์ในราคา 15 เซนต์ เพื่อให้ได้กำไรดีที่สุด เพราะต้องหารให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (ผู้เช่า) สามารถจ่ายค่าเช่าให้กับแมคโดนัลด์ได้
วิธีการเดิม คือ แมคโดนัลด์ ขายแฟรนไชส์ได้รับค่าแฟรนไชส์ ส่วนแบ่งยอดขายและกำไรเท่านั้น ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์จัดการเองทุกอย่าง ทั้ง หาทำเล ตกแต่งร้าน ขอกู้เงินธนาคารเพื่อมาขอเช่าที่ ส่วนโมเดลใหม่ทางแมคโดนัลด์จัดหาให้ทุกอย่าง ทั้งต่อรองธนาคาร จัดหาที่ดินหรือซื้อที่ กำหนดอัตราค่าเช่าเอง ผู้ซื้อแฟรนไชส์แค่มีเงินก็เปิดร้านได้ทันที
ตัวอย่างโมเดลใหม่ “แมคโดนัลด์”
- แมคโดนัลด์ ซื้อหรือเช่าพื้นที่ทำเลดี (เป็นเจ้าของที่)
- สร้างร้าน หรือปล่อยให้แฟรนไชส์ซีดำเนินงานเอง
- แมคโดนัลด์ เก็บค่าเช่าพื้นที่ร้าน (Base Rent), เปอร์เซ็นส่วนแบ่งจากยอดขาย และค่าแฟรนไชส์
ค่าเช่าที่นี้ไม่ได้ตายตัว แมคโดนัลด์เป็นผู้กำหนดเอง และมีการบวกเพิ่มจากราคาค่าเช่าทั่วไปอีก ซึ่งรายได้จากค่าเช่าที่ดินของแฟรนไชส์ คิดเป็นสัดส่วน 65% ของรายได้จากแฟรนไชส์ทั้งหมด ที่สำคัญแมคโดนัลด์ยังให้ห้างสรรพสินค้าคิดค่าเช่าเพิ่มจากสาขาแฟรนไชส์เพื่อขอส่วนแบ่งจากห้างสรรพสินค้าอีกด้วย ถือได้ว่ากินแบบจุกๆ
ทำไมอัตรากำไรของแมคโดนัลด์จึงสูงขึ้น
- ไม่ต้องบริหารพนักงาน สต๊อก วัตถุดิบ
- ไม่เสี่ยงต้นทุนวัตถุดิบผันผวน
- ได้รายได้ “สม่ำเสมอ” จากค่าเช่าแม้ยอดขายสาขาแฟรนไชส์จะตก
อัตรากำไรขั้นต้นจากค่าเช่า
- กำไรจากค่าเช่าร้าน (real estate margin) สูงถึง 80-85% สูงกว่ากำไรจากบริหารร้านเองที่อยู่ราว 15-20% เท่านั้น
ตัวอย่าง รายได้ของแมคโดนัลด์ในปี 2023 อยู่ที่ประมาณ 938,600 ล้านบาท แบ่งเป็น
- รายได้จากสาขาบริษัท 359,000 ล้านบาท หรือ 38.2% ของรายได้ทั้งหมด
- รายได้สาขาแฟรนไชส์และค่าธรรมเนียม 206,000 ล้านบาท หรือ 21.9% ของรายได้ทั้งหมด
- รายได้จากค่าเช่าที่ปล่อยสาขาแฟรนไชส์เช่า 362,000 ล้านบาท หรือ 38.6% ของรายได้ทั้งหมด
- รายได้อื่นๆ 11,600 ล้านบาท หรือ 1.3% ของรายได้ทั้งหมด
ในปี 2023 แมคโดนัลด์มีรายได้จากค่าเช่าและค่าสิทธิแฟรนไชส์คิดเป็น มากกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด
ปี 2023-2024 แมคโดนัลด์ในสหรัฐอเมริกามีรายได้จากค่าเช่ามากกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบกับปี 2020
โครงสร้างการลงทุนแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ในอเมริกา
- ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ค่าเช่าพื้นฐาน 3 เดือน = 313,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 31.75% ของยอดขาย
- งบลงทุน 1,470,500 – 2,642,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- Royalty Fee 5%
- Ad Royalty Fee 4%
- ระยะสัญญาแฟรนไชส์ 20 ปี
มีรายงานว่า ยอดขายแต่ละสาขาของแมคโดนัลด์ในสหรัฐอเมริกาโดยเฉลี่ย 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กำไร 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ แม้การลงทุนแฟรนไชส์แมคโดนัลด์มีผลตอบแทนต่ำกว่าแฟรนไชส์อื่นๆ เพราะค่าเช่าที่สูง แต่ความเสี่ยงน้อยกว่า
นั่นคือ โมเดลสร้างรายได้ รวยถาวร ของแมคโดนัลด์ ที่ไม่ใช่แค่ธุรกิจขายอาหาร แต่เป็นการทำ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” อย่างชาญฉลาด เปลี่ยนแฟรนไชส์เป็นเจ้าของที่ดินให้เช่า สร้างรายได้จากค่าเช่าถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลักและมั่นคงที่สุดของบริษัท
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)