ทำไม! แฟรนไชส์ Ice Monster หายเรียบ ทั้งไทยและฟิลิปปินส์ ต้นกำเนิด
ถ้าถามถึงถึงแบรนด์น้ำแข็งไสบิงซูเจ้าแรกๆ ในประเทศไทย ที่ได้รับความนิยมในหมู่บรรดาวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษาเป็นอย่างมาก จนมีการพูดถึงปากต่อปาก เชื่อว่าหลายๆ คน โดยเฉพาะคนยุค 90s น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นคือ แฟรนไชส์ Ice Monster เป็นแฟรนไชส์ร้านน้ำแข็งไสเกล็ดหิมะเนื้อนุ่มละเอียดจากประเทศฟิลิปินส์
ในปี 2549 คุณหนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์นำเข้ามาเปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ ในไทย Ice Monster ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและขยายสาขาไปทั่วประเทศ ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดมีสาขามากถึง 45 แห่ง ทำไม! แฟรนไชส์ Ice Monster หายเรียบ ทั้งไทยและฟิลิปปินส์ ต้นกำเนิด มาดูกัน
จุดเริ่มต้น Ice Monster

Ice Monster ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 ที่กรุงมะลิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดย “คุณเจอราร์ด ลิม” นักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์เป็นคนคิดค้นธุรกิจนี้ขึ้นมา มีแนวคิดในการนำเสนอน้ำแข็งไสที่บดละเอียดจนมีเนื้อสัมผัสนุ่มคล้ายครีม พร้อมท็อปปิ้งหลากหลาย เช่น ผลไม้สดและขนมต่างๆ ถือเป็นธุรกิจร้านขนมหวานน้ำแข็งใสเนื้อนุ่มที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปีหลังจากเปิดตัวในฟิลิปปินส์ กลายเป็นแบรนด์ที่ถูกพูดถึงกันแบบปากต่อปาก จากเดิมมีร้านสาขาหลักแค่ 3 แห่งในเมืองเซบู บาโคโลด และโบราไกย์ ขยายสาขาอย่างรวดเร็วเป็น 50 แห่งทั่วฟิลิปปินส์
ในฟิลิปปินส์ Ice Monster ถือเป็นธุรกิจที่เข้ารถึงคนได้ง่าย เติบโตเร็วเกินความคาดหมาย เพราะในตอนนั้นยังไม่มีคู่แข่งที่ทำขนมหวานเย็นที่มีน้ำแข้งไสเนื้อละเอียดเหมือน Ice Monster ทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง สามารถจับกลุ่มลูกค้าได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ จนถึงคนสูงวัย
กลยุทธ์ธุรกิจของ Ice Monster ในฟิลิปินส์ คือ การออกเมนูรสชาติใหม่ในทุกไตรมาส เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ขนมหวานน้ำแข็งไสที่มีมากกว่า 20 รสชาติ
นอกจากนี้ Ice Monster ยังให้ลูกค้าเป็นผู้เสนอไอเดียในการออกรสชาติใหม่ สามารถแนะนำเมนูใหม่ๆ ให้ทาง Ice Monster ลองทำให้ดูก่อนได้ ทำให้มีหลายรสชาติที่เกิดขึ้นจากไอเดียของลูกค้าเอง ช่วยเพิ่มยอดขายและประสบความสำเร็จมาแล้ว
จุดเริ่มต้น Ice Monster ในเมืองไทย

จากข้อมูลจะพบว่าร้านแฟรนไชส์น้ำแข็งไส Ice Monster เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2549 บริเวณสยามสแควร์ ซอย 11 มีจุดเด่นเป็นขนมหวานแบบของว่าง รสชาติเย็นๆ คล้ายน้ำแข็งไส แต่มีเนื้อที่ละเอียดและนุ่มกว่า อีกทั้งยังมีน้ำเชื่อมเป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน เหมาะกับประเทศไทยที่มีอากาศร้อน จนทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ร้าน Ice Monster นำเข้ามาโดยบริษัท ไอ ดู ไอซ์ จํากัด ผู้ถือสิทธิ์ Ice Monster ในประเทศไทย มีผู้บริหารที่คนไทยรู้จัก คือ คุณหนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย โดยสาเหตุที่ Ice Monster ได้รับความนิยมรวดเร็วในไทย เพราะน้ำแข็งไสที่ไม่เหมือนใคร แบบป่นละเอียดมากๆ เหมือนเกล็ดหิมะ ผลไม้ตามฤดูกาล และน้ำเชื่อมก็เป็นสูตรเฉพาะที่ได้ลิขสิทธิ์จากฟิลิปปินส์ ด้วยการนำเสนอรูปแบบที่โดดเด่น คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ รวมทั้งรสชาติที่แตกต่าง เรียกว่า ทานได้ทุกเพศทุกวัย และ ถูกปากลูกค้าชาวไทย
สำหรับ Ice Monster ร้านขนมหวานน้ำแข็งใส และของว่างรสชาติหวานๆ เย็นๆ ในช่วงที่ยังไม่หายไปจากตลาดเมืองไทย ได้มีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 45 สาขา ในทำเลห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ
โดยรูปแบบการลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ Ice Monster มี 2 รูปแบบ คือ Shop และ Kiosk
- ขนาดพื้นที่ (ต่อ 1 สาขา) 15-30 ตารางเมตร
- งบประมาณการลงทุน เริ่มต้น 1.7 – 2.5 ล้านบาท
ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเปิดสาขา ได้แก่ Mega Store/ Department Store (ห้างสรรพสินค้า) ที่มีกำลังซื้อสูง, Entertainment Complex (แหล่งรวมความบันเทิง) และ Trendy Meeting Mall (แหล่งพบปะสังสรรค์ที่ทันสมัย)
กลยุทธ์ Ice Monster ในไทย ว่ากันว่าทางแบรนด์จะไม่เปิดเผยความลับเกี่ยวกับกระบวนการทำน้ำแข็งบดให้ใครเห็นได้ง่ายๆ โดยทุกสาขาจะมีการซ่อนเครื่องบดน้ำแข็งเอาไว้ รวมถึงซ่อนวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์แต่ละเมนูไว้เป็นอย่างดี
หลังจากนั้นไม่นานคุณหนุ่ม กรรชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนในการนำเข้าแบรนด์ แฟรนไชส์ Ice Monster มาเปิดในประเทศไทย ได้ถูกคนที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนถอดชื่อออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้บอกกล่าวใดๆ จนกลายเป็นคดีฟ้องร้องกันครั้งใหญ่ จนทำให้คนดูรายการโหนกระแส ถึงกับโพสต์ข้อความความ “คิดถึง” และอยากให้คุณหนุ่ม กรรชัย เปิดอีกครั้ง
ปัญหาที่นำไปสู่การปิดกิจการ

แม้จะได้รับความนิยม แต่ Ice Monster ก็ประสบปัญหาหลายประการที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการในที่สุด ปัญหาหลัก ๆ ได้แก่
1.การละเมิดลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์จากฟิลิปปินส์ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2552 นายอธิป โชติญาณวงษ์ ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ในประเทศไทย ไม่ได้ชำระค่าลิขสิทธิ์ตามที่ตกลงกันไว้ และยังคงใช้เครื่องหมายการค้า Ice Monster ต่อไปหลังจากสัญญาสิ้นสุดลงในปี 2554 ซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน
2.การบริหารจัดการแฟรนไชส์ที่ไม่เหมาะสม
มีการเปลี่ยนแปลงโลโก้และรูปแบบร้านโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่งผลต่อความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์และความเชื่อมั่นของลูกค้า
3.ความขัดแย้งภายในองค์กร
เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ซึ่งนำไปสู่การฟ้องร้องและการถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนของคุณหนุ่ม กรรชัย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวจากสื่อหลายสำนักงาน ว่าในปี 2563 ไอซ์ มอนสเตอร์ได้กลับมาให้บริการอีกครั้งที่ห้างเทอร์มินัล 21 (พัทยา) แต่ใช้ชื่อ Monster Freeze ไม่ใช่เจ้าเดิมในไทยที่หายไป แม้แต่ในฟิลิปปินส์เองก็แทบจะหาสาขา Ice Monster ได้ยาก หลายสาขาที่เคยเปิดก็พบว่าเปลี่ยนเป็นร้านอื่นมาเปิดแทน
มีข้อมูลจากสื่อไทยบางสื่อรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2557 มีสื่อต่างประเทศหลายสำนัก รายงานข้อมูลว่าแบรนด์ Ice Monster ไม่มีความเคลื่อนไหวบนเว็บไซต์ ไม่มีการอัพเดจข้อมูลใดๆ เลย
อย่างไรก็ตาม สื่อในเมืองไทยยังรายงานด้วยว่า Ice Monster ในประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในขั้นตอนการรีแบรนด์ใหม่ มีการปรับปรุงแนวคิดและผลิตภัณฑ์เมนูทั้งหมด รวมถึงการเซ็ทระบบแฟรนไชส์ใหม่ ถ้าเป็นไปตามข่าวที่รายงาน อาจมีความเป็นไปได้ที่ Ice Monster จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในฟิลิปปินส์
นั่นก็เท่ากับว่าโอกาสที่ Ice Monster จะกลับมาเปิดให้บริการในไทย ก็มีเป็นไปได้ไม่มากก็น้อย
อ้างอิงข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)