ทำธุรกิจอิงกระแส ทำยังไงให้ได้ไปต่อในวันที่กระแสหมด!

คำว่า “อิงกระแส” มีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว หลายครั้งที่ในเมืองไทยเคยมีกระแสให้คนพูดถึงมาก ซึ่งการทำตลาดแบบ Real Time Marketing นี้ต้องอาศัยความไวเป็นหลัก ต้องพาแบรนด์เข้าไปอยู่ในกระแสให้ไวที่สุด

เหมือนครั้งหนึ่งที่มีเหตุการณ์ช้างป่าพังกำแพงบ้าน หลายแบรนด์ก็เล่นกับกระแสนี้ด้วยการทำโฆษณาล้อเลียนอย่าง Buggerking ที่ทำภาพเบอร์เกอร์ทะลุกำแพงบ้าน หรือน้ำจิ้มไก่แม่ประนอมที่ทำรูปขวดน้ำจิ้มพุ่งทะลุกำแพงบ้าน เช่นกัน

ทำธุรกิจอิงกระแส

หรือย้อนไปช่วงปี 2530 ที่ตอนนั้นกระแสจาตุคามรามเทพฮือฮามาก มีมูลค่าการตลาดกว่า 10,000 ล้านบาท สินค้าหลายๆแบรนด์ก็ต่างเกาะกระแสนี้และสร้างยอดขายกันได้มาก ส่วนที่เป็นกระแสบูมแบบระยะยาวหน่อยมักเป็นกรณีที่เห็นแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งทำแล้วขายดีก็เกิดฮิตทำตามกันจนเกิดเป็นกระแส

เช่น ปี 2559 ที่กระแสร้านชาราคาเดียว บูมมาก เกิดแบรนด์ใหม่ในตลาดราวๆ 20-30 แบรนด์ บางแห่งตั้งร้านแข่งกันห่างกันไม่ถึง 100 เมตร แต่สุดท้ายธุรกิจก็จะคัดสรรผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น หลายแบรนด์ไปไม่รอดและล้มหายตายจากไปในที่สุด

ทำธุรกิจอิงกระแส

ถัดมาคือกระแสของหม่าล่าที่มาแรงสุดๆ ในปี 2566 มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่าตอนนั้นนับเฉพาะแค่ในกรุงเทพ มีร้านหม่าล่าเปิดใหม่มากกว่า 10 แห่ง ไม่นับร้านรายย่อยตามตลาดนัดทั่วไป แต่สุดท้ายกระแสนี้ก็อยู่ได้ไม่นานหลายร้านก็ไปไม่รอดต้องปิดตัว หรือเปลี่ยนไปขายสินค้าอื่น

การทำธุรกิจ “อิงกระแส” ไม่ว่าจะเป็นกระแสสั้นหรือยาว ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เราอาจสร้างยอดขายหวือหวาในช่วงแรก ซึ่ง Jack Ma เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ถ้าเห็นอะไรที่กำลังฮิตและคนกำลังแห่ไปทำตาม ให้ลืมมันซะ อย่าไปทำตาม”ธุรกิจอิงกระแสมันไม่ยั่งยืน มาไวไปไว พอกระแสเริ่มซา จะกลายเป็นเราที่จะขาดทุน

อย่างไรก็ดี “ธุรกิจอิงกระแส” แม้จะมีความเสี่ยงมาก แต่ก็ยังหอมหวานถ้ารู้จักใช้ให้ถูกวิธี คือต้องเข้าใจก่อนว่าสินค้าบางอย่าง ธุรกิจบางอย่างมีวงจรชีวิตที่สั้น บางธุรกิจก็อยู่ได้หลายสิบปี ถ้าคิดจะอิงกระแสและใช้จุดนี้เป็นการเริ่มต้นมันก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องรู้จักบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.อัพเดทเทรนด์ให้ตามกระแสอยู่เสมอ

คำว่าอิงกระแสก็ไม่ได้หมายความว่าต้องโฟกัสอยู่แต่จุดเดิม ถ้าเรารู้จักก้าวตามกระแสไปเรื่อยๆ ธุรกิจของเราก็จะก้าวไปพร้อมสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้เหมือนอย่างแบรนด์ดังระดับโลกมากมายเช่น Coca-cola , KFC , แมคโดนัลด์ มีการทำตลาดตามกระแสเพื่อไม่ให้ตัวเองตกเทรนด์และก็ดูจะได้ผลดีมากด้วย

2.มี Service mind ที่ดี เน้นการบริการด้วยใจและรวดเร็ว

ต่อให้เราเริ่มจากธุรกิจอิงกระแส แต่เมื่อกระแสหมดการทำให้ลูกค้ายังอยู่กับเราได้ก็ต้องมี Service mind ที่ดี เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ เป็น First impressionsได้ยิ่งดีซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Brand Loyalty ที่ดีในอนาคตได้ด้วย

3.สร้างจุดเด่นให้ธุรกิจแตกต่างจากคู่แข่ง

ธุรกิจในปัจจุบันต้องแข่งขันสูงแม้เป็นธุรกิจอิงกระแส ตอนที่อยู่ในกระแสคู่แข่งคือสินค้ากลุ่มเดียวกัน แต่เมื่อกระแสหมด คู่แข่งเราคือธุรกิจอื่นที่มีอีกมากรวมถึงแข่งกับพฤติกรรมและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วด้วย ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องมีจุดเด่นที่แตกต่างให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าทำไมควรต้องใช้สินค้าของเรา ดีกว่าคู่แข่งอย่างไร เป็นต้น

4.รู้จักการใช้ Customer Insights ให้เป็นประโยชน์

ถ้าเรารู้จักกลุ่มเป้าหมายและรู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึง นั่นคือการรู้จักใช้ Customer Insights ให้เกิดประโยชน์ธุรกิจส่วนใหญ่ที่สามารถทำกำไรได้มักมาจากการศึกษาทำความเข้าใจลูกค้าของพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ และปรับปรุงกลยุทธ์ สร้างกระบวนการที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ ซึ่ง Customer Insights เป็นข้อมูลเชิงลึกที่หากวิเคราะห์ได้ถูกต้องจะนำมาใช้เป็นไอเดียในการทำตลาดเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

5.รักษาฐานลูกค้าเก่าให้คงอยู่ และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ให้ได้

ถ้าเราเริ่มจากธุรกิจอิงกระแสไม่ว่าจะขายสินค้าใดก็ตาม จะต้องมีลูกค้าเก่าที่เคยใช้บริการนั่นคือโจทย์ว่าเราจะรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ไว้อย่างไรซึ่งก็มีหลายวิธีเช่นโปรโมชัน หรือการให้สิทธิพิเศษ การใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงลูกค้า และต้องไม่ลืมการหาลูกค้าใหม่เพิ่มด้วย

ตลาดชาไทย

เหนือสิ่งอื่นใดคำว่าคุณภาพคือสิ่งที่ลูกค้ายุคใหม่นี้มีความต้องการ ธุรกิจจึงไม่ได้แข่งที่กระแสอย่างเดียวแต่แข่งที่บริการด้วย โดยผู้หญิง Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มกิน-ดื่ม ตามกระแสมากที่สุด โดยได้รับอิทธิพลจากการรีวิวผ่าน TikTok รองลงมาคือ Instagram และ Facebook Page ดังนั้นหากธุรกิจต้องการอยู่รอดแม้ในวันที่กระแสสินค้านั้นซบเซาจำเป็นต้องพัฒนาความน่าสนใจในด้านอื่นขึ้นมาทดแทนจะเป็นธุรกิจที่อยู่รอดกันไปแบบยาวๆ ได้ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด