ต้นทุนค่าเสียโอกาส ในการลงทุนแฟรนไชส์ คุ้มค่าแค่ไหน?
ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ ต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินจริง แต่เป็นค่าเสียโอกาสที่ จะใช้ปัจจัยนั้นไปทำประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งการคำนวณหาต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นส่วนใหญ่จะทำได้ยาก เพราะเป็นการคำนวณจากการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ถ้าเรามีเงินอยู่ 100,000 บาท และมีทางเลือกอยู่ 3 ทางคือ
- นำเงินไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี = 1,500 บาท/ปี (ไม่มีความเสี่ยง แต่ผลตอบแทนน้อย)
- นำเงินไปปล่อยกู้ ดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน = 24,000 บาท/ปี (ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนมาก)
- นำเงินไปซื้อทองคำ ได้ประมาณ 2 บาท เพื่อไว้เก็งกำไร (ความเสี่ยงสูงถ้าราคาทองปรับลง)
จะเห็นว่าเรามีเงิน100,000 แต่มีทางเลือกหลายทางว่าจะเอาเงินไปทำอะไร และไม่ว่าเราตัดสินใจนำเงินไปใช้ในทางไหน เท่ากับว่าเราจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในทางที่เราไม่ได้เลือก ซึ่งการตัดสินใจก็มีอีกหลายองค์ประกอบเป็นปัจจัยให้ร่วมพิจารณา
ในการลงทุนแฟรนไชส์ก็เช่นกันเท่ากับว่าเราจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสเช่นกัน แต่ทำไมถึงกล้าพูดได้ว่าการลงทุนในแฟรนไชส์คือการจ่ายต้นทุนค่าเสียโอกาสที่คุ้มค่ามากที่สุด ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าการลงทุนในแฟรนไชส์มีข้อดีอะไรบ้าง
- สามารถเริ่มต้นได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาเริ่มจากศูนย์
- ได้การสนับสนุนจากทางแบรนด์
- ไม่ต้องสร้างแบรนด์เอง ไม่ต้องสร้างฐานลูกค้า ต่อยอดได้ทันที
- มีอุปกรณ์+วัตถุดิบ +การสอนสูตร
- การวางระบบบริหารจัดการให้เปิดร้านได้อย่างมืออาชีพ
- การสนับสนุนด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าใหม่
ถ้าพิจารณาในแง่ของ “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” สมมุติว่าเรามีเงิน 1 ล้านบาท พิจารณาว่าระหว่างสร้างแบรนด์เองกับซื้อแฟรนไชส์อะไรมีค่าต้นทุนเสียโอกาสที่จะมากกว่ากัน
แผนที่ 1 เปิดร้านเอง ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ทุกอย่างต้องทำเอง คิดสูตร จัดร้านแต่งร้าน สร้างฐานลูกค้า ทำการตลาด แต่มีข้อดีที่รายได้จะเป็นของเราแบบ 100% เต็ม ไม่ต้องจ่ายค่าการตลาดใดๆให้แฟรนไชส์
แผนที่ 2 เปิดร้านแฟรนไชส์ เลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมกับเงินทุนที่มี ได้ระบบบริหารจัดการ อุปกรณ์+วัตถุดิบพร้อมเปิดร้าน มีแบรนด์ มีฐานลูกค้าให้พร้อม แต่ที่เราต้องจ่ายคือค่าธรรมเนียมเช่นค่าส่วนแบ่งยอดขาย ค่ารอยัลตี้ฟรีส์ เป็นต้น
ถ้าเราเลือกแฟรนไชส์ค่าเสียโอกาสคือเราไม่มีโอกาสในการสร้างแบรนด์ได้เอง ต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด รายได้ก็ต้องหักจ่ายให้กับแฟรนไชส์ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ทีนี้ก็ต้องมาพิจารณาในเรื่องความเสี่ยงว่าหากเรามีเงินจำนวน 1 ล้านนี้เราจะเสี่ยงลงทุนแบบไหนให้คุ้มค่าที่สุด ซึ่งการตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนอาจเสี่ยงที่จะเปิดร้านเอง เขาก็จะมีค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ แต่ได้แบรนด์ของตัวเอง เป็นต้น
เหนือสิ่งอื่นใดก็ตาม รายละเอียดที่คนนำมาเป็นเกณฑ์ตัดสินใจมากที่สุด คือ “รายได้” หากเปิดร้านเอง ในทำเลที่ขายดี สินค้ามีคุณภาพลูกค้าให้การยอมรับ การเติบโตอาจจะช้า แต่อาจจะดีในระยะยาว รายได้ต่อเดือนเฉลี่ยแล้วน่าพอใจ ก็อาจจะขยายเป็นสาขาที่ 2 ที่ 3 หรืออาจจะขายเป็นแฟรนไชส์ตัวเองในอนาคต
หรือถ้าพิจารณาแล้วว่าไม่อยากเสี่ยง การลงแฟรนไชส์มีความมั่นคงมากกว่าไม่ต้องสร้างฐานลูกค้า ไม่ต้องสร้างแบรนด์เอง แต่การจะเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ใดก็ต้องดูว่าสร้างยอดขายได้ดีแค่ไหน โอกาสคืนทุนมากน้อยอย่างไร
ดังนั้นคำว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสมันขึ้นอยู่กับว่าเราจะตัดสินใจแบบไหน ซึ่งทุกแฟรนไชส์ก่อนเราเลือกลงทุนเขาก็จะมีข้อมูลให้พิจารณาทั้งเคสแย่สุด , มาตรฐาน และกรณีที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่มีการอ้างอิงตัวเลขให้เราเห็นภาพชัดเจนเพื่อให้เราใช้ประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)