SMEs บริหารเงินทุนสำรองอย่างไร ให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต

การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ไปกัดกร่อนแกนกลางของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศทั่วโลก ที่ต้องอาศัยกิจกรรม ทั้งการค้าขาย การลงทุน การจับจ่ายใช้สอย การบริโภค

จนทำให้ภาพเศรษฐกิจในประเทศไทยโต 5% เป็นเพียงความฝัน เหลือแต่ความจริงที่เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวได้ไม่ถึง 1% ต่ำกว่านั้น หรือติดลบ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SMEs ต้องอยู่ได้อย่างยากลำบาก

แต่ที่น่าเป็นห่วง ก็คือ ปัญหาหนี้สิน แม้ว่าล่าสุดกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย จะออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าแบบปูพรม ทั้งสินเชื่อธุรกิจ SMEs สินเชื่อบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด

รวมถึงการให้ธนาคารออมสิน เปิดรับรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต และการปรับลดการอัตราขั้นต่ำในการชำระหนี้บัตรเครดิตซึ่งปกติอยู่ที่ 10% แต่ถ้ารายได้มันสะดุด ถึงจะมีมาตรการช่วยเหลือ แต่ปัญหาหนี้ก็ยังคงรุมเร้าอยู่ดี แล้วธุรกิจ SMEs บริหารเงินทุนสำรองอย่างไร ให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

เงินทุนสำรอง-กระแสเงินสด เลือดสูบฉีด SMEs พ้นวิกฤต

บริหารเงินทุนสำรองอย่างไร

ภาพจาก freepik.com

กลยุทธ์ธุรกิจที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดในการนำพาธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัย กำไรหรือยอดขายที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่ใช่สิ่งชี้วัดว่าธุรกิจจะเติบโต เพราะหากธุรกิจบริหารจัดการเงินไม่เป็น ไม่สามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ระบบการเงินก็เหมือนถังน้ำที่มีรูรั่ว ทำให้ขาดสภาพคล่อง ธุรกิจสะดุด ซ้ำร้ายอาจถึงขั้นล้มละลายปิดกิจการไปในที่สุด

เงิน” คือปัจจัยสำคัญของคนทำธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs มือใหม่ ที่ยังบริหารจัดการเรื่องเงินอย่างหละหลวมย่อมมีความเสี่ยงอย่างยิ่ง มีคนเข้าใจผิดเยอะมากว่า มีเงินหนึ่งก้อนก็สามารถทำธุรกิจได้ แท้จริงแล้วการมีเงินก้อนหนึ่งทำให้เราเริ่มต้นทำธุรกิจได้ก็จริง แต่ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่รอด และมีกำไร ต้องเข้าใจการบริหารเงิน หากบริหารไม่เป็นก็มีโอกาสเจ๊งสูง

9

คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์
ภาพจาก bit.ly/2Jd4EIa

ด้านโค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ เจ้าของเพจ THE MONEY COACH และโค้ชการเงินส่วนบุคคล รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวพร้อมระบุอีกว่า การบริหารเงินแบบฉบับ SMEs อย่างแรกควรรู้จักบริหารเงินทุนหมุนเวียน ต้องเตรียมเท่าไหร่ เงินทุนหมุนเวียน หรือเงินทุนสำรอง คือความมั่นคงพื้นฐานของธุรกิจ

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณา คือ ต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องการกระแสเงินสดที่ไหลเวียนอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องประเมินสภาพคล่องธุรกิจว่า ในหนึ่งเดือนใช้เงินเท่าไหร่ ทั้งค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ แรงงาน ค่าขั้นตอนปฏิบัติงานต่างๆ ควรเผื่อเงินสำรองไว้ 3 เดือน เพื่อความคล่องตัวของธุรกิจ

กรณีธุรกิจมีการให้เครดิตเทอม หรือเครดิตการค้าที่ใช้เวลาในการวางบิลเก็บเงินนาน ในขณะที่ต้องมีการชำระค่าใช้จ่ายเป็นเงินสด ธุรกิจลักษณะนี้อาจต้องเตรียมเงินทุนสำรองถึง 6 เดือนเพื่อความอุ่นใจ

สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรทราบอีกอย่างหนึ่ง คือ เงินสำรองมีน้อยก็เสี่ยง มีมากเกินไปก็ไม่ดี เพราะอาจเสียโอกาสที่จะนำเงินไปสร้างผลตอบแทนในด้านอื่นๆ ดังนั้น จึงต้องประเมินอย่างเหมาะสม

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs ควรรู้จักการวางแผนบริหารกระแสเงินสดด้วย ซึ่งในการจัดการเรื่องเงินให้ธุรกิจ SMEs ให้อยู่รอดลำดับต่อมา คือ การวางแผนบริหารจัดการกระแสเงินสด ปัญหาสำคัญคือ เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ารายได้ที่เข้ามานั้นเป็นเงินที่มีภาระอะไรบ้าง เช่น รายจ่ายที่จำเป็น หนี้สินธุรกิจที่ต้องชำระ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบริษัท ทำให้ไม่ทราบตัวเลขกระแสเงินสดที่ “ปลอดภาระอย่างแท้จริง” มีผลทำให้การตัดสินใจใช้เงินค่อนข้างยาก และอาจผิดพลาดได้

ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรทำ ก็คือ บริหารจัดการกระแสเงินสด จะเข้ามาจากไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ประมาณการรายจ่ายเท่าไหร่ และเมื่อไหร่บ้าง มีเงินสดเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าไม่พอเตรียมแผนสำรองไว้อย่างไร เพราะหากผิดพลาดหรือล่าช้าเพียงไม่กี่วัน อาจกระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ หรือความเชื่อมั่นของคู่ค้าได้ ดังนั้นประมาณการกระแสเงินสดไหลเข้า–ออก ต้องแม่นยำเพื่อสามารถวางแผนบริหารจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ

เงินทุนสำรองดีอย่างไรต่อธุรกิจ SMEs

8

ภาพจาก bit.ly/3dlXnDL

ข้อดีของเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินทุนสำรองต่อ SMEs คือ ถ้าผู้ประกอบการสามารถบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้อย่างดี จะช่วยให้ธุรกิจมีเงินเพียงพอในการซื้อสินค้า เพื่อนำมาขายและมีเงินในการชำระคืนเจ้าหนี้ทางการค้า หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ได้ตรงตามเวลา รวมถึงรักษาสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs ควรรู้จักบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินทุนสำรอง เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาธุรกิจติดขัด ผู้ประกอบการ SMEs ควรบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้ดี ทั้งด้านการขายสินค้า และการบริหารลูกหนี้การค้าให้รายรับที่เข้ามามีความสมดุลกับต้นทุนในการบริหารธุรกิจนั่นเอง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

bno3

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2xeeHKi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล https://bit.ly/2xis6Rq , https://bit.ly/33I77DM 

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/39iXWe4

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช