Seasonal Marketing ตลาดตามฤดูกาล! ยอดขายพุ่ง 10%

Seasonal Marketing ตลาดตามฤดูกาล คือ กลยุทธ์การตลาดที่ปรับเปลี่ยนแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดให้สอดคล้องกับช่วงเวลาต่างๆ ของปี เช่น เทศกาลสำคัญ ฤดูกาล หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ตรงกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้นๆ

ข้อมูลน่าสนใจระบุว่า Seasonal Marketing มีส่วนสำคัญในการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้มากขึ้นกว่า 10- 20% แม้จะดูเป็นตัวเลขที่ไม่เยอะนัก แต่ถ้าดูให้ดีจะมีผลต่อยอดขายมากเช่นจากเวลาปกติขายได้ 100 ชิ้น แต่ในเทศกาลเราจะขายได้ 110 – 120 ชิ้น หรือบางธุรกิจอาจสร้างยอดขายได้มากกว่านี้ในช่วงเทศกาลด้วย

และในเมืองไทยเองก็มีเทศกาลต่อเนื่องเยอะมากไล่ตั้งแต่ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ วาเลนไทน์ ตรุษจีน สงกรานต์ วันพ่อวันแม่ ยังไม่นับรวมเหตุการณ์สำคัญหรือกระแสแรงๆ ในแต่ละปีที่ก็ถือว่าเป็น Seasonal Marketing ได้เช่นกัน อย่างในช่วงสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา เห็นภาพ Seasonal Marketing ชัดเจน

ยกตัวอย่างสงกรานต์สนามหลวง 2568 ได้รับกระแสตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างท่วมท้น มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.1 ล้านคน และสร้างกระแสเงินหมุนเวียน 4,097.17 ล้านบาท หรือถ้าดูภาพรวมสงกรานต์ทั่วประเทศปีนี้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ สร้างรายได้รวมทางการท่องเที่ยว 28,723 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17 %

Seasonal Marketing ตลาดตามฤดูกาล
ภาพจาก www.facebook.com/7ElevenThailand

และแน่นอนว่า Seasonal Marketing เราจะได้เห็นแต่ละแบรนด์ผุดแคมเปญขึ้นมาเพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดและรุกเข้าหาลูกค้า อย่างสงกรานต์ที่ผ่านมา 7-Eleven ก็เปิดแคมเปญ FEEL GOOD ได้บ่อยอร่อยทุกอย่าง ไม่ใช่แค่หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา แต่อยากให้ทุกครั้งที่มา 7-Eleven เป็นความรู้สึก FEEL GOOD ได้บ่อยๆ ซ้ำๆไม่มีคำว่าเบื่อ

หรือที่ชัดเจนก็อย่างนิตยาไก่ย่างได้ทำตลาดเชิงรุกช่วงสงกรานต์ตลอดเดือนเมษาที่ผ่านมา เช่นแคมเปญ นิตยามาหาแล้วนะเธอ เมื่อลูกค้าทานอาหารครบ 1,000 บ้านขึ้นไปรับฟรีผ้าขนหนู Chicky Touch หรือจะเป็นแคมเปญ “สงกรานต์ สงไก่” เมื่อทานอาหารที่ร้านนิตยาไก่ย่างทุกสาขาครบ 1,000 บาทขึ้นไป รับสิทธิพิเศษหมุนวงล้อ ลุ้นรับของรางวัล เช่น ไก่ย่าง ส้มตำไทย ฟรี

Seasonal Marketing ตลาดตามฤดูกาล
ภาพจาก www.facebook.com/nittayakaiyangofficial

ซึ่งการจัดโปรโมชันเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ รวมถึงยังมีกลยุทธ์การลงพื้นที่ของผู้บริหารที่ไปร่วมสาดน้ำรับวันสงกรานต์ที่ถนนสีลม ซึ่งเป็นจุดเล่นน้ำสงกรานต์ที่มีคนมาเล่นน้ำนับหมื่นคนในแต่ละวัน

หรือการจัดขบวนแห่ Chicky Tuk-Tuk Caravan ที่ย่านสยาม ในย่านที่มีแต่วัยรุ่นมาร่วมเล่นน้ำวันสงกรานต์กัน เป้าหมายของการตลาดเชิงรุกแบบ Seasonal Marketing เพื่อปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูเด็กลง ก็ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ และสร้าง Engagement กับคนรุ่นใหม่ ๆ ได้

และยังมีสินค้าอีกหลายชนิดที่ขายดีในสงกรานต์ ก็ถือเป็น Seasonal Marketing เช่น เสื้อลายดอกขายดีเป็นเทน้ำเทท่า บางแห่งยอดขายกว่า 3,000 ตัว ที่ยอดขายเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติมากกว่า 20% ถือเป็นนาทีทองที่ผู้ประกอบการอยากให้มียอดขายแบบนี้ต่อเนื่อง

ดังนั้นการทำตลาดแบบ Seasonal Marketing มีประโยชน์กับทุกแบรนด์มากเช่น

  • เพิ่มการจดจำแบรนด์ (Brand Awareness)
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Engagement)
  • เพิ่มโอกาสในการขายต่อยอด (Cross-Selling และ Upselling)
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับลูกค้า (Customer Relationship)
  • สร้างแบรนด์ให้แตกต่างจากคู่แข่งได้มากขึ้น

อย่างไรก็ดีเคล็ดลับสำคัญในการทำ Seasonal Marketing ธุรกิจต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค มีการวางแผนล่วงหน้า และสร้างแคมเปญหรือไอเดียที่สร้างสรรค์เพื่อให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย และต้องไม่ลืมเลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสม รวมถึงต้องมีการติดตามผลและปรับปรุงแคมเปญให้ดียิ่งๆ ขึ้นในโอกาสต่อไปด้วย

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด