NaiSnow ชาผลไม้จีน 1,700 สาขา ขายแฟรนไชส์ เต็มสูบ!
หากเอ่ยชื่อแฟรนไชส์เครื่องดื่มชาผลไม้พรีเมียม NaiSnow เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้จัก แต่ถ้าเป็น Naixue เชื่อว่าหลายคนจะร้องอ๋อขึ้นมาทันที เพราะเป็นร้านชาผลไม้พรีเมียมที่เปิดสาขาแรกในไทยได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม มีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียดจนล้นออกมานอกจากร้าน แม้แต่สาขา 2 ที่เซ็นทรัลเวิลด์เปิดขายได้เพียง 3 วัน สามารถทำยอดขายได้เกือบ 1 ล้านบาท เรื่องราวของ NaiSnow หรือชื่อเดิม Naixue น่าสนใจอย่างไร
จุดเริ่มต้น NaiSnow

ร้านเครื่องดื่มชาผลไม้ Nayuki’s Tea (นายูกิ ที) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Naixue ปัจจุบันได้รีแบรนด์ชื่อครั้งที่ 3 เป็น NaiSnow ก่อตั้งขึ้นโดยสองสามีภรรยา คุณจ้าวหลิน (Zhao Lin) และคุณเป็งซิน (Peng Xin) โดยทางร้านวางเป้าหมายจับกลุ่มลูกค้าผู้หญิงวัยทำงานอายุ 20-30 ปี และวางคอนเซ็ปต์ร้านให้เป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของกลุ่มผู้หญิงสมัยใหม่
จากเดิมที่ร้านชานมในจีนมักถูกมองว่าเป็นร้านระดับล่าง แบรนด์ Nayuki’s จึงต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ของร้านให้มีความทันสมัยเป็นแบรนด์ชาระดับพรีเมียม
- เดือน พ.ย. 2015 เปิดสาขาแรก Nayuki’s ที่ศูนย์การค้า Shenzhen Excellence Century Store ถัดมาอีกไม่นานเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา ซึ่งผู้ก่อตั้งใช้เงินสินเชื่อบ้านเป็นหลักประกันในการลงทุน
- เดือน ต.ค. 2016 บริษัทฯ ได้รับเงินทุน 100 ล้านหยวนจาก Tiantu Capital สำหรับการระดมทุนรอบแรก
- เดือน ธ.ค. 2017 ขยายกิจการในต่างประเทศ และเปิดโครงการ “แผนการขยายเมืองแห่งชาติ” อย่างเป็นทางการ
- เดือน ธ.ค. 2018 เปิดสาขาแรกในต่างประเทศที่สิงคโปร์ นับเป็นก้าวแรกบุกตลาดโลก
- เดือน ก.พ. 2019 บริษัทฯ สร้างโรงไวน์ “BlaBlaBla” แห่งแรกในจีน
- เดือน พ.ย. 2019 สร้างโรงงาน Nayuki’s Dream Factory แห่งแรกในจีน และเปิดสาขาในย่าน Coast City ซึ่งเป็นย่านธุรกิจยอดนิยมในเซินเจิ้น นับเป็นการเปิดมิติใหม่ของเครื่องดื่มชา 4.0
- เดือน 30 มิ.ย. 2021 บริษัท Shenzhen Pindao Catering Management Co., Ltd. ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงอย่างเป็นทางการ กลายเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชาพรีเมียมรายแรกของจีน ที่เข้าตลาดหุ้นฮ่องกงได้สำเร็จ สามารถระดมทุนได้ 656 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการ IPO ครั้งแรก
- เดือน ส.ค. 2022 เปิดสาขาอย่างเป็นทางการในเมืองชายฝั่งหนานซาง เมืองเซินเจิ้น
- เดือน ต.ค. 2022 ได้พัฒนาอุปกรณ์ชงชาอัตโมัติขึ้นมาเอง เพื่อนำไปใช้ในสาขาทั่วประเทศ พร้อมนำระบบดิจิทัลมาพัฒนาร้านอย่างเป็นทางการ
- เดือน ธ.ค. 2022 Nayuki’s Tea ได้รีแบรนด์ในจีนเปลี่ยนคำ の ที่สื่อว่าญี่ปุ่นเป็นเจ้าของมาเป็นภาษาจีน 的 ที่มีความหมายเหมือนกัน และยังเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น Naixue (ไนซื่อ) ตัดคำว่า Tea ออกไป โดยมีเป้าหมาย “ลดความเป็นญี่ปุ่น หรือ ลดกลิ่นอายญี่ปุ่น” พร้อมทั้งวางตำแหน่งแบรนด์ให้เป็น “สไตล์จีนร่วมสมัย”

หลังจากนั้นในเดือนเดียวกัน Naixue ยังใช้เงินลงทุน 525 ล้านหยวน (ราวๆ 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าซื้อหุ้น 43.64% ในเลเลชา (LeLecha) อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องดื่มชาผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในเซี่ยงไฮ้ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ Lelecha ทันที และมีจำนวนร้าน Naixue มากกว่า 1,200 สาขาทั้งในจีนและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจากหลายๆ สื่อต่างประเทศได้รายงานว่าผลประกอบการทางการเงินของ Naixue สร้างความผิดหวังให้กับบรรดานักลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง พบว่าราคาหุ้น Naixue ลดลงกว่า 90% นับตั้งแต่ IPO ครั้งแรก ประกอบกับในช่วงการระบาดโควิด-19 จำนวนร้าน Naixue หลายสาขาต้องปิดตัวลงทำให้ยอดขายลดลงไปด้วย
จากการเติบโตของ Naixue ที่ชะลอตัวลง ในปี 2023 บริษัทฯ จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาสู่ “โมเดลแฟรนไชส์” เหมือน Mixue, Chagee, Chapanda ฯลฯ เพื่อให้แต่ละสาขาที่จะเปิดในอนาคตสามารถแข่งขันกับร้านในท้องถิ่นได้ เพราะแฟรนไชส์ซีในแต่ละพื้นที่มีความเชี่ยวชาญการตลาดและรู้จักผู้บริโภคดีกว่าทีมงานบริษัท
รางวัลเกียรติยศของแบรนด์
- ปี 2021 แบรนด์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด 50 อันดับในประเทศจีน
- ปี 2021 บริษัทจัดเลี้ยงชั้น 100 บริษัทในจีน
- ปี 2021 แบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม Gen Z
- ปี 2022 แบรนด์ชั้นนำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ในระดับประเทศ
- ปี 2022 รางวัล China Food Health Seven-Star Award ครั้งที่ 11 สำหรับผู้เล่นใหม่ในอุตตสาหกรรมชารูปแบบใหม่จีน
- ปี 2022 แบรนด์ชาจีนที่ชาวเน็ตให้ความไว้วางใจมากที่สุด
- ปี 2022 แบรนด์ชั้นนำด้านคุณภาพสินค้าและบริการของประเทศจีน
Naixue บุกตลาดชาพรีเมียมในไทย
แบรนด์ชาพรีเมียม Naixue เข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือน ธ.ค. 2023 เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ ชั่น 1 ภายใต้การบริหารของบริษัท นายูกิ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลตอบรับจากบรรดาแฟนชานมในไทยอย่างล้นหลาม ต่อคิวกันยาวเหยียดตั้งแต่เปิดร้านวันแรก
เมนูเด่นๆ ของ Naixue ในประเทศไทยที่ไม่เหมือนใคร คือ ชานม Dahongpao (ต้าหงเผา) และ ชานมกุหลาบลิ้นจี่ ซึ่ง 2 เมนูนี้มีความพิเศษตรงชนิดของชาที่คัดสรรมาเพื่อตลาดในไทยเท่านั้น คือ ชาต้าหงเผา และ ชา Wuyishan Jinjunmei (ชาดำ อู๋อี้ซาน จินจุนเหมย) ถือเป็นชาคุณภาพสูงในประเทศจีน มีเอกลักษณ์กลิ่นหอมของดอกไม้และผลไม้ ทำให้ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่นจากธรรมชาติแท้ๆ
นอกจากนี้ Naixue ยังมีเมนูซิกเนเจอร์อื่นๆ มากกว่า 48 เมนู ไม่ว่าจะเป็นชาผลไม้สด ชานม ชา กาแฟ และเบเกอรี่ รวมไปถึงเมนูยอดนิยมไม่แพ้กัน เช่น Baqi Orange, Cheese Cream Strawberry Jasmine Tea และ Golden Mountain Pearl Milk Tea ฯลฯ
ความแรงของชาผลไม้ Naixue ตั้งแต่เปิดสาขาแรก มีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียดจนล้นออกมาหน้าร้าน ได้ส่งแรงกระเพื่อมต่อเนื่องในการเปิดสาขาที่ 2 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อช่วงเดือน ส.ค. 2024 ปรากฏว่า Naixue ได้สร้างสถิติใหม่เปิดขายได้เพียง 3 วัน สามารถสร้างยอดขายได้เกือบ 1 ล้านบาทเพียงแค่สาขาเดียว
จุดเด่นของ Naixue อยู่ที่ชาผลไม้พรีเมียมมีหลากหลายรสชาติ และยังมีเบเกอรี่อบสดใหม่ ทำให้แตกต่างจากร้านชาผลไม้อื่นๆ ทั่วไป
สำหรับในประเทศไทย Naixue มีจำนวนร้านทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์, เซ็นทรับเวิลด์, One Bangkok, เดอะมอลล์งามวงศ์วาน, เดอะมอลล์บางกะปิ และเซ็นทรัลเชียงใหม่ ส่วนสาขาทั่วโลกมีทั้งหมด 1,798 แห่ง ในประเทศจีน ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และกำลังขยายสาขาไปยังสหรัฐอเมริกา
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน ก้าวสู่อนาคตใหม่ ล่าสุด Naixue ได้รีแบรนด์ใหม่อีกครั้งใช้ชื่อ NaiSnow ทุกสาขาทั่วโลก ถือเป็นครั้งที่ 3 ของการเปลี่ยนชื่อ เริ่มจาก Nayuki’s มาเป็น Naixue จนกระทั่งมาเป็น NaiSnow โดยคำว่า Nai ย่อมาจาก Nature, Art, and Imagination เป็นค่านิยมหลัก ขณะที่ Snow คือหิมะ สะท้อนถึงธีมความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
รายได้ NaiSnow ในไทย
ผลประกอบการของ บริษัท นายูกิ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของ NaiSnow ในไทย
- ปี 2023 รายได้ 4.87 ล้านบาท กำไร 1.13 ล้านบาท
- ปี 2024 รายได้ 52.9 ล้านบาท ขาดทุน 5.5 ล้านบาท
กลยุทธ์ NaiSnow
- จับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ในเมือง อายุ 20–35 ปี ด้วยการออกแบบร้านที่หรูทันสมัย และใส่ใจคุณภาพวัตถุดิบ สดใหม่ทุกวัน
- เปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่มชีวจิต เช่น “Daily 500 Veg & Fruit Bottle” และ “No-sugar Black Grape Polyphenol Cup” เพื่อจับกระแสคนรักสุขภาพ โดยยอดขายสูงขึ้นเกิน 300% ในจีน
- ขายร้านแบบแฟรนไชส์ ปี 2024 เปิดขายแฟรนไชส์อย่างจริงจัง สามารถขยายสาขาเพิ่มจาก 1,655 สาขา เป็น 1,798 สาขา เพิ่มประมาณ 9% โดยเฉพาะร้านสาขาแฟรนไชส์เติบโตจาก 81 สาขา เป็น 345 สาขา
- ขยายตลาดต่างประเทศ เริ่มเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ชูจุดขายในห้างหรู อย่างเช่นในไทยสาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ทำยอดขาย 3 แรก แตะเกือบ 1 ล้านบาท
- สร้างระบบสมาชิกทะลุ 100 ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคนในปี 2024 และทำการตลาดต่อเนื่องเพื่อสร้างความภักดีในการพลับมาซื้อซ้ำ
นั่นคือ เรื่องราวและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ NaiSnow ชาผลไม้จีน ที่ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 17,000 สาขาทั่วโลก และกำลังเตรียมขยายตลาดไปยังสหรัฐอเมริกาที่หลายๆ แบรนด์จากจีนแจ้งเกิดมาแล้ว
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)