Customer Journey สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อขยายสาขา

เจ้าของแฟรนไชส์ ที่อยากขยายสาขาเพิ่มจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงเส้นทางการเดินทางของลูกค้า หรือ Customer journey กว่าจะรับรู้ถึงแบรนด์และซื้อแฟรนไชส์ของเรา 

ต้องผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง ต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าการตัดสินใจของผู้บริโภคก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ของเรามาจากอะไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ Customer Journey เพื่อเตรียมความพร้อมและนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้ลูกค้าอยากซื้อแฟรนไชส์ ไปลงทุนครับ

1. การรับรู้ Awareness

Customer Journey

ภาพจาก www.freepik.com

สมมติว่าเราทำธุรกิจร้านอาหาร อยากขายแฟรนไชส์ เริ่มแรกต้องทำให้ลูกค้าได้รู้จักกับร้านอาหารของเรา หนทางแรกที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักร้านอาหารของเรา คือ การสร้างการรับรู้ ผ่านสื่อโฆษณา ช่องทางและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ลูกค้าของคุณใช้บริการ

โดยในปัจจุบันช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถรับสื่อโฆษณาจากร้านอาหาร มีทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยช่องทางออฟไลน์ยอดนิยมเช่น โทรทัศน์ วิทยุ การประชาสัมพันธ์ผ่านแผ่นพับ บิลบอร์ดโฆษณา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ ไลน์ Facebook Ads, IG Ads, Youtube และ Ads Google เป็นต้น

2. ค้นหาข้อมูล Consideration

4

ภาพจาก www.freepik.com

หลังจากลูกค้ารู้จักร้านอาหารของเราแล้ว เพราะได้เห็นผ่านสื่อต่างๆ และมีคนพูดถึงกันมาก ขั้นตอนต่อไปลูกค้าจะเริ่มหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการอ่านรีวิวตามเว็บบอร์ดต่างๆ เมื่อลุกค้ารู้จักแบรนด์และผลิตภัณฑ์แล้ว ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะตัดสินใจเดินทางไปยังร้านอาหารทันที แต่ลูกค้าจะเข้าไปหาข้อมูลร้านอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเปรียบเทียบว่าร้านอาหารของเราตอบโจทย์กับสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่

โดยส่วนมากลูกค้าจะเชื่อถือข้อมูลที่ถูกบอกเล่ามาจากลูกค้าที่เคยใช้บริการ หรือที่เรียกว่าการรีวิวนั่นเอง ในกรณีนี้ร้านอาหารของเราอาจจะสร้าง Content รีวิวจากแบรนด์ด้วยการใช้ Influencer ที่มีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญในสายที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น

3. การซื้อสินค้า Purchase

3

ภาพจาก www.freepik.com

เมื่อลูกค้าหาข้อมูลร้านอาหารเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะมาใช้บริการในเวลาต่อมา โดยเดินทางมารับประทานอาหารถึงในร้าน บางส่วนอาจจะสั่งอาหารเดลิเวอรี่ หรือสั่งซื้อออนไลน์ เว็บไซต์ หรือผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ของร้าน ดังนั้น ร้านอาหารควรวางระบบการขายอาหาราตั้งแต่การเลือกเมนู ยืนยันออเดอร์ และชำระค่าสินค้า เพื่อให้สะดวกต่อผู้บริโภคมากที่สุด

4. การกลับมาซื้อซ้ำ Retention

2

ภาพจาก www.freepik.com

เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์จากการซื้อสินค้า หรือการเข้าไปรับประทานอาหารภายในร้านของเราแล้ว แน่นอนเมื่อร้านอาหารของเราสามารถสร้างประสบการณ์ที่พึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าจะประทับใจและกลายเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ อยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดในพื้นที่หรือจังหวัดของตัวเอง

เพื่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ในแบบที่ได้รับจากร้านอาหารของเราให้กับคนอื่นๆ ไม่เพียงเท่านี้ลูกค้าเหล่านี้อาจมีการบอกต่อแบบปากต่อปาก เพื่อเชิญชวนผู้บริโภคคนอื่นๆ ให้เข้ามาเป็นลูกค้าร่วมกันทำให้แบรนด์สามารถขยายฐานลูกค้าได้มาขึ้นอีกด้วย

5. การสนับสนุน Advocacy

1

ภาพจาก www.freepik.com

หากร้านอาหารของเราสามารถมัดใจลูกค้าได้ จากการมอบประสบการณ์ที่ดีภายในร้านให้ ตั้งแต่ที่ลูกค้าเริ่มรู้จักแบรนด์ เริ่มสนใจแบรนด์ จนถึงการซื้อ แล้วกลับมาใช้บริการซ้ำ จนกลายเป็นลูกค้าประจำนั้น จะทำให้ลูกค้าของเราเกิดความจงรักภักดี และสนับสนุนแบรนด์ของเราในการบอกต่อผู้อื่นแบบปากต่อปาก และลูกค้าประจำเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ทดลองซื้อสินค้า และบริการใหม่ๆ ของเรา รวมถึงตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์อย่างไม่ลังเลใจ

จะเห็นได้ว่า การเดินทางของลูกค้า หรือ Customer Journey จำเป็นต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน ต้องศึกษารู้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการอะไร และทำความเข้าใจให้ได้ว่า การตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ของลูกค้าในปัจจุบันนี้ มักจะถูกกำหนดได้ง่ายๆ โดยการสัมผัสโดยตรง ทดลองใช้ ทดลองกิน รวมถึง Social Media และสื่อออนไลน์ต่างๆ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3387487

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช