7 วิธีพาธุรกิจรอดตาย! ในยุควิกฤติน้ำท่วม+โควิด

ต้นปี 2563 เราเจอกับวิกฤตแรกคือการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ลากยาวมาจนถึงตอนนี้ซึ่งเป็นระลอกที่ 3 รวมระยะเวลากว่า 2 ปี หากจะว่าไปสถานการณ์ตอนนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่น้อยลง

ท่ามกลางความหวังของคนทำธุรกิจที่คิดว่าต่อจากนี้จะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง แต่วิกฤติซ้ำซากยังไม่หมด โควิดยังไม่ทันจะจางหายไปปีนี้ดันมาเจอกับปัญาน้ำท่วมที่เกรงว่าซ้ำรอยกับปี 2554

แม้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุเช่นเดียวกับปี 2554 เนื่องจากเขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำไม่ถึงครึ่ง และอัตราการระบายน้ำยังอยู่ที่ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่างจาก 10 ปีก่อน ที่มีอัตราการระบายน้ำสูงสุดที่ 3,700-3,900 ลบ.ม/วินาที

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนกังวลว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัดแบบนี้จะพาธุรกิจอยู่รอดได้อย่างไร เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีการบริหารธุรกิจในยุควิกฤติซ้ำซากมาฝากกัน

7 วิธีบริหารธุรกิจในยุควิกฤติซ้ำซาก

การทำธุรกิจในยุคนี้ผู้บริหารหรือการเป็นเจ้าของธุรกิจ “วิสัยทัศน์” และ “การวางแผน” คือสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เจ้าของธุรกิจที่คิดเป็น ทำเป็น จะประคับประคองให้ธุรกิจอยู่รอดไปได้ เจ้าของธุรกิจที่รู้จักยืดหยุ่น มีวิธีการทำธุรกิจที่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา จะมีโอกาสฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติซ้ำซากได้ดีกว่า โดยมีสิ่งที่ควรมีได้แก่

1.เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า “ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น”

วิธีพาธุรกิจรอดตาย

ภาพจาก freepik.com

คนที่เจอวิกฤติไม่ใช่แค่เจ้าของธุรกิจเท่านั้น แต่กลุ่มลูกค้าก็คือผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน บางคนตกงาน ว่างงาน ขาดรายได้ แน่นอนว่าส่งผลถึงเรื่องการจับจ่าย ดังนั้นสินค้าที่ไม่จำเป็นเขาจะไม่ซื้อ อะไรที่ไม่สำคัญก็จะไม่ควักเงินจ่าย ยิ่งวิกฤติซ้ำซากคนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่าย จะเก็บเงินกันมากขึ้น การลงทุนใดๆ ในธุรกิจต้องเลือกให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค เข้าใจในความต้องการ จะนำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการผู้บริโภคได้

2.รู้จักใช้เทคโนโลยีทำตลาดออนไลน์มากขึ้น

6

ภาพจาก freepik.com

ยุคนี้ไม่พูดถึงตลาดออนไลน์ก็คงไม่ได้ เพราะเป็นวิธีสำคัญที่ชี้วัดว่าธุรกิจจะอยู่รอดได้หรือไม่เลยทีเดียว การปรับตัวของผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีจึงสำคัญมาก และไม่ใช่แค่การใช้เฟสบุ๊ค หรือไลน์ในการทำธุรกิจแต่มีขั้นตอนที่ลึกซึ้งและลงลึกในรายละเอียดอีกหลายอย่าง ซึ่งวิธีการทำตลาดออนไลน์แบบนี้ถ้าเราไม่มีความรู้สามารถเลือกเรียนจากคอร์สอบรมต่างๆ ได้ ซึ่งมีประโยชน์กับการทำธุรกิจอย่างมาก และในยุคที่เราต้องรับมือกับวิกฤติหลากหลายรูปแบบการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

3.มองหาตัวขับเคลื่อนยอดขายในระยะสั้น

5

ภาพจาก freepik.com

เมื่อเราต้องเจอกับวิกฤติในรูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญคือการสร้างยอดขายในระยะสั้นที่จะทำให้เราพอมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจได้ แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อนยอดขายในระยะสั้นได้วิธีการเบื้องต้นคือมุ่งเน้นสินค้าที่สำคัญและจำเป็น ผลิตขึ้นมาก่อนพวกสินค้าฟุ่มเฟือย หรือการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นในระยะสั้นให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคก็เป็นสิ่งสำคัญ และหากช่วงวิกฤติเราไม่สามารถหาลูกค้าใหม่ได้ การมีฐานลูกค้าเก่าจะช่วยได้มาก และธุรกิจจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเก่าเหล่านี้เอาไว้ให้ได้

4.มองหา โอกาสใหม่ เพื่อผ่าทางตัน และสร้างการเติบโต

4

ภาพจาก freepik.com

เมื่อคิดสร้างยอดขายในระยะสั้นเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้คือการมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อจะได้เติบโตมากขึ้น ดังเช่นหลายบริษัทที่มีการพัฒนารูปแบบบริการ สินค้าแตกไลน์ใหม่ที่เจาะกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ได้โฟกัสอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การจับเทรนด์ของลูกค้า การมองวิกฤตให้เป็นโอกาสคือสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจต้องมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้

5.วางแผนการเงินอย่างรัดกุม

3

ภาพจาก freepik.com

นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมด้านการเข้าถึง “แหล่งเงินทุน” เช่น สถาบันการเงินต่างๆ ที่ในช่วงวิกฤตจะออกสินเชื่อ และนโยบายด้านการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจในช่วงเวลายากลำบาก ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

6.ดูแลพนักงานในยามวิกฤต

2

ภาพจาก freepik.com

ธุรกิจจะเดินหน้าไม่ได้ถ้าขาดพนักงาน โดยเฉพาะองค์กรที่มีพนักงานเก่งๆ รู้หน้าที่ในการทำงาน ควรจะเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้เอาไว้ให้ได้ อย่าคิดว่าพนักงานไล่ออกไปก็หาใหม่ได้ เพราะงานบางอย่างต้องอาศัยเวลาทำความเข้าใจ คนที่ทำงานใหม่ๆ ไม่มีทางเข้าใจความต้องการเหล่านี้ เช่น การดิวลูกค้า การติดต่อหาลูกค้า หรือลักษณะงานบางอย่างที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำ ไม่สามารถถ่ายทอดสอนกันได้ทันที ถ้าองค์ไหนไม่ให้ความสำคัญกับพนักงาน เลือกแต่จะใช้งาน คิดว่าจ่ายเงินเดือนแล้วทุกอย่างจะจบ องค์กรเหล่านี้ถือว่าไม่ดูแลพนักงานในยามวิกฤติซึ่งมีผลทำให้พนักงานเองก็ไม่มีใจที่อยากจะทำงานด้วย ส่งผลเสียหายต่อธุรกิจในระยะยาวได้

7.เดินหน้าสร้าง “Engagement” กับลูกค้า

1

ภาพจาก https://bit.ly/3AkWrJL

Engagement คือการสร้างความประทับใจหรือสัมพันธ์อันดี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ลูกค้ารู้ถึงความเคลื่อนไหวของแบรนด์ เช่น กรณีของรถยนต์อย่างโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยทำแคมเปญเพื่อสังคม เปิดให้ผู้บริโภคสามารถนำรถทุกยี่ห้อมาให้ศูนย์โตโยต้าทั่วประเทศ มาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือแม้แต่กิจกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ก็ล้วนแต่เป็นการสร้างความเคลื่อนไหวและภาพลักษณ์ที่ดี มีผลต่อธุรกิจในระยะยาวได้

ปัจจัยเสี่ยงในการเจอวิกฤติต่างๆ เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การวางแผนที่ดีจะลดปัญหาจากหนักให้เป็นเบา ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบไม่มากจนเกินไป และเมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของเจ้าของธุรกิจเป็นสำคัญด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bbc.in/3a0ULL5 , https://bit.ly/3opHNPk , https://bit.ly/3iuClXu , https://bit.ly/3Fhh8Ko

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mzWxII

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด