5 เทคนิคทำแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย ให้สำเร็จในต่างประเทศ

เราต้องยอมรับว่า ชื่อเสียงของอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ประกอบกับร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ได้มีบทบาทสำคัญ ในการเผยแพร่วัฒนธรรมและอาหารไทยสู่ชาวต่างชาติ

คนต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในเมืองไทย ส่วนหนึ่งมาเพราะต้องการลิ้มลองรสชาติอาหารไทยสักครั้งหนึ่ง อาหารไทยจะได้รับความนิยมของชาวต่างชาติ

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจร้านอาหารไทย รวมถึงแฟรนไชส์อาหารไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จในต่างประเทศ แม้ว่าในประเทศไทยจะมีร้านอาหารไทยจำนวนมากมาย แต่มีน้อยมากขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ตลาดต่างประเทศ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอเทคนิคและแนวทางในการสร้างแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย ให้สามารถก้าวออกไปเติบโตและประสบความสำเร็จในต่างประเทศ มาดูว่าผู้ประกอบการร้านอาหารต้องทำอย่างไรบ้าง

1. สร้างและตกแต่งร้านอาหารให้มีเอกลักษณ์

10

ภาพจาก bit.ly/2ZajWUb

อาหารไทยหลายๆ ร้าน โดยเฉพาะร้านดังๆ มีคุณภาพและรสชาติดี อร่อย เป็นที่ยอมรับของลูกค้าอยู่แล้ว แต่สิ่งที่มักจะขาดหายไป คือ เรื่องของการแต่งตัว การปรับแต่งร้านให้ดูดีขึ้นนั้น เปรียบเหมือนการแต่งกายของผู้หญิง ที่มีความสวยในตัวพื้นฐานดีอยู่แล้ว ได้นำมาแต่งตัวนิดหน่อย เพื่อให้โอกาสใหม่กับตัวเอง

ดังนั้น ก่อนที่ร้านอาหารไทยจะขายแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ควรปรับปรุงร้านอาหารของตัวเองให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างคอนเซ็ปต์ร้านให้โดดเด่น ชัดเจน อาจจะหานักออกแบบตกแต่งร้านอาหาร หรือหาเชฟที่จัดหน้าตาอาหารสวยๆ แล้วถ่ายภาพให้น่ากิน ทำโลโก้ให้เด่น แล้วนำโลโก้ที่เป็นตัวแทนของร้านคุณ ไปวางในจุดต่างๆ เพื่อดึงดูดและสร้างการจดจำ

เช่น การแต่งกายพนักงาน จาน ชาม ถ้วย ถุง ป้ายหน้าร้าน เมนูต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ทุกอย่างเป็นทิศทางเดียวกัน จดจำได้ง่าย การแต่งตัว สร้างภาพลักษณ์ ไม่ใช่แค่ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านเท่านั้น แต่จะช่วยเพิ่มยอดขายธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณได้อีกด้วย

2. สร้างเมนูเด่นของร้านเพื่อเป็นจุดขาย

9

ภาพจาก bit.ly/2Gt2frL

ร้านอาหารไทย ประเภทสวนอาหาร จะมีเมนูอาหารเล่มใหญ่มาก มีอาหารเป็นร้อยเป็นพันรายการ ร้านอาหารแบบนี้จะขยายกิจการได้ยาก เพราะจะควบคุมมาตรฐานไม่ได้

ดังนั้น เจ้าของร้านควรคัดเมนูฮอตฮิต เด่นสุดของร้านออกมาก่อน ว่ามีอะไรบ้าง เรียงตามลำดับเมนูที่ลูกค้าสั่งมากที่สุด ไล่ลงเรียงลงไป เหลือหลักสิบรายการก้อได้ ถ้ายังมากอยู่ ก็ตัดเมนูที่ลูกค้า สั่งทดแทนกันได้ เหลือที่เด็ดๆ จริงเท่านั้น จากนั้นก็เอาเมนูเหล่านั้น มาทำสูตรมาตรฐานตายตัวทุกเมนู เพื่อทำให้ทุกๆ ร้านทำออกมาได้เหมือนกัน

3. อย่าใช้แม่ครัว พ่อครัวคนเดียว

8

ภาพจาก bit.ly/30U5Erb

หลายคนงงว่าร้านอาหารไม่มีแม่ครัวได้ด้วย ยกตัวอย่างแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ เคเอฟซี เห็นจะมีแม่ครัว เพราะพนักงานจะทำงานตามขั้นตอนที่วางไว้อย่างชัดเจน และส่วนใหญ่พนักงานในร้านจะทำงานแทนกันได้ทุกหน้าที่ ไม่ใช่พ่อครัวป่วย แม่ครัวลา ต้องปิดร้านทันที หรือ หากลูกค้าบอกว่ารสชาติอาหารไม่อร่อย หรือบางร้านกุ๊กลาออก ถึงขนาดต้องปิดร้านไปเลย

ถ้าอยากได้รับความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ ต้องคิดใหม่ เปลี่ยนใหม่ ไม่ให้ร้านของคุณ ขึ้นกับตัวบุคคล แต่จะขึ้นกับระบบงานที่มีรูปแบบตายตัว ซึ่งไม่ว่าใครจะมา ใครจะไป ก็ทำงานได้ออกมามีคุณภาพเหมือนกัน นั่นเราเรียกว่า สร้างระบบมาตรฐาน

4. สร้างระบบมาตรฐานร้านอาหาร

7

ภาพจาก bit.ly/2Y2emXG

ร้านอาหารที่เจ๊งส่วนใหญ่มาจากความไม่สม่ำเสมอ หลายคนอาจเคยกินร้านอาหารที่ประทับใจครั้งแรก แต่ไปอีกครั้งไม่เหมือนครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณอาหาร รสชาติ การให้บริการ เป็นต้น นั่นอาจทำให้ลูกค้าไม่กลับมาอีก และอาจบอกต่อคนอื่นด้วย

ดังนั้น ความสม่ำเสมอในคุณภาพมาตรฐานร้านอาหาร คือ ปัจจัยสำคัญอันดับ 1 ที่ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ ดังนั้นวิธีการสร้างระบบมาตรฐานคุณภาพ ก็คือ การสร้างระบบงานทุกอย่างให้มีมาตรฐานตายตัว เพื่อให้ทุกๆ ร้านปฏิบัติแบบเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าของคุณ เพื่อให้เขากลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วพาลูกค้าใหม่ๆ มาให้ด้วย

แทนที่ส้มตำต้องโขลกกันเองทุกร้าน นั่นเสี่ยงต่อรสชาติผิดเพี้ยน แต่ถ้าคุณจะทำแฟรนไชส์ที่ครัวกลางของคุณ โดยกุ๊กมือหนึ่ง ที่ไม่ได้ประจำที่ร้าน อาจต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่ กลายเป็นผู้คิดค้น ผสมน้ำส้มตำสูตรต่างๆ ไว้เรียบร้อย

มีการชั่ง ตวงวัดที่ตายตัว บันทึกวิธีการเก็บรักษา ติดฉลากอายุใช้งาน สาธิตขั้นตอนการนำไปใช้ มีรูปถ่ายขั้นตอนต่างๆ หรือมีคลิปวิธีการสอนให้ร้านสาขาทำตาม และเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้าน ก็มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องในทุกๆ วัน

ถ้าคุณจะทำร้านอาหารแฟรนไชส์ ระบบการจัดการอื่นๆ ก็ต้องสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันขึ้นมาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานในการจัดโต๊ะ มาตรฐานการทำความสะอาด มาตรฐานการแต่งกายของพนักงาน มาตรฐานการให้บริการ

แต่การกำหนดมาตรฐานนี้ คุณจะต้องบันทึกงานทุกชนิดให้ชัดเจน ด้วยการจัดทำคู่มือ การดำเนินงานไว้อย่างครบถ้วน เพื่อนำไปสอน ให้ทุกคนทำตามคัมภีร์เดียวกัน เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าคาหวังเหมือนๆ กัน

5. วางเป้าหมายร้านอาหารเป็นผู้นำตลาด

5

ภาพจาก bit.ly/2SCZiK4

คนส่วนมากที่ล้มเหลวในการทำแฟรนไชส์ เพราะถอยเสียก่อน เพราะการทำแฟรนไชส์ให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าใครสอบผ่านก็ยืนยาว ผู้ที่สร้างแฟรนไชส์ได้สำเร็จ ต้องมาจากความมุ่งมั่นที่จะเดินเส้นทางนี้ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายของการครองตลาดในกลุ่มธุรกิจของคุณ เช่น คุณต้องการเป็นผู้ขายผัดไทยอันดับ 1 ของประเทศ หรือ ถ้านึกถึงข้าวกะเพรา ต้องนึกถึงร้านคุณ เจ้าของร้านอาหารต้องวางเป้าหมายในการครองตลาด และมีความมุ่งมั่นในการทำแฟรนไชส์ร้านอาหารให้สำเร็จ เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งจะส่งผลให้สาขาแฟรนไชส์ของคุณได้ประโยชน์ และอยู่รอดยั่งยืน

จะเห็นได้ว่า ถ้าคุณทำแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในประเทศสำเร็จได้ การออกสู่ต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือการเลือกพาร์ทเนอร์ หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพ เพราะเป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จะช่วยให้ร้านอาหารไทยไปไกลต่างแดนได้แน่ เพราะความต้องการมีอยู่สูง นักธุรกิจเพื่อนบ้านมีความชื่นชอบอาหารไทย

ที่ผ่านมามีร้านในไทยหลายแห่ง ที่ถูกแนะนำจากหนังสือไกด์บุค ที่พาคนต่างชาติแห่มากิน จนเจ้าเจ้าของร้านก็งงๆ ร้านอาหารไทยกลุ่มนี้คือร้านที่มีศักยภาพ มีความเป็นไปได้ในการขยายกิจการด้วยแฟรนไชส์ หรือ ร้านอาหารแบบไทยๆ ก็สามารถพัฒนาเป็นแฟรนไชส์เกือบทุกประเภท เช่น สวนอาหาร ร้านตามสั่ง ร้านผัดไทย ร้านราดหน้า ร้านข้าวมันไก่ ร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. สร้างและตกแต่งร้านอาหารให้มีเอกลักษณ์
  2. สร้างเมนูเด่นของร้านเพื่อเป็นจุดขาย
  3. อย่าใช้แม่ครัว พ่อครัวคนเดียว
  4. สร้างระบบมาตรฐานร้านอาหาร
  5. วางเป้าหมายร้านอาหารเป็นผู้นำตลาด 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qn6Lxx

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช