3 แฟรนไชส์จีน Mixue – Wedrink – Bingchun ลงทุนตอนนี้ ทันมั้ย?
ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้ในตลาดเมืองไทยมีการแข่งขันกันดุเดือด นับตั้งแต่แบรนด์แฟรนไชส์จากจีน MIXUE บุกขยายตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลางปี 2565 ตามด้วย WEDRINK และ Bing Chun เน้นกลยุทธ์ขายสินค้าไอศกรีมราคาเริ่มต้น 15 บาท ตลอดจนขายแฟรนไชส์ราคาต่ำกว่าคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ในตลาดเมืองไทย
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของทั้ง 3 แบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน เน้นขยายสาขาในทำเลที่มีคนสัญจรผ่านไปมาหนาแน่น เช่น หน้าโรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า และอื่นๆ วางโมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ที่มีความพร้อมของระบบซัพพลายเชนในประเทศจีน นำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์มาจากจีน ทำให้ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ไม่ต้องหาแหล่งวัตถุดิบเอง
ความน่าสนใจและความท้าทายในการลงทุน 3 แฟรนไชส์จีน Mixue – Wedrink – Bingchun เป็นอย่างไร มาวิเคราะห์พร้อมๆ กัน
MIXUE
มี่เสวี่ย (Mixue) เป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากประเทศจีน ก่อตั้งปี 2540 ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน ก่อนขยายสาขาไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ปัจจุบันมีจำนวน 46,000 สาขาในจีนและอีก 11 ประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย
ปัจจุบัน MIXUE กลายเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีสาขามากที่สุดในโลก แซงหน้าแฟรนไชส์ฟาสตืฟู้ดยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์ที่มี 42,800 สาขา, สตาร์บัคส์ 40,200 สาขา และ KFC 31,100 สาขา ที่สำคัญยังสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถรดมทุนได้มากกว่า 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
MIXUE เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงกลางปี 2565 เปิดสาขาแรกย่านรามคำแหง หลังจากนั้นได้รับความนิยมและพขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 480 แห่งในประเทศไทย
จุดเด่นของ Mixue เป็นไอศกรีม Soft Serve วาฟเฟิลโคนใหญ่ๆ รสชาติเด็ดอร่อยเหมือนกับนมอัดเม็ด แถมมีเครื่องดื่มชานมไข่มุกและชาผลไม้อีกมากมาย เริ่มต้น 15-50 บาท
#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน MIXUE
- ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี (3 ปี = 150,000 บาท)
- ค่าจัดการ 25,000 บาท/ปี (3 ปี = 75,000 บาท)
- ค่าอบรม 10,000 บาท/ปี (3 ปี = 30,000 บาท)
- ค่าค้ำประกัน 100,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
- ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
- ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ 2,500 บาท/ครั้ง, ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง
- สมมติค่าก่อสร้าง+ออกแบบตกแต่งร้านประมาณ 500,000 บาท
#รวมเงินลงทุนเปิดร้านทั้งหมด 1,557,500 บาท
WEDRINK
แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ WEDRINK ก่อตั้งในปี 2555 ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 5,150 แห่งทั่วโลก ในประเทศจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, ลาว และไทย
สำหรับในประเทศไทย WEDRINK ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ MIXUE อยู่ภายใต้การบริหารบริษัท ซินเจิ้ง เมนเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งวันที่ 20 พ.ย. 2566 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยมีนายเจิ้ง หมินเจี๋ย มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท เปิดสาขาแรกที่รามคำแหง 53 วันที่ 16 ม.ค. 2567 ชูเมนูหลากหลาย โดยเฉพาะไอศกรีมโคนมัทฉะ ไอศกรีมดั้งเดิม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชานม สมูทตี้ และน้ำผลไม้ถังนานาชนิด ราคาเริ่มต้น 15-60 บาท
ปัจจุบันมีมากกว่า 150 สาขาทั่วประเทศ สาขาส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทำเลมหาวิทยาลัย ถนนคนเดิน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ มีจุดเด่นขายราคาที่เอื้อมถึงได้ ช่วยให้สามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ และกลุ่มนักศึกษาได้สำเร็จในเวลารวดเร็ว
#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน WEDRINK
- ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี (ฟรี 3 ปีแรก)
- ค่าการจัดการ 25,000 บาท/ปี
- ค่าฝึกอบรม 10,000 บาท/3 ปี
- ค่าประกันร้าน 100,000 บาท
- ค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า 450,000 บาท
- ค่าวัตถุดิบล็อตแรก/อุปกรณ์ 150,000 บาท (สามารถเพิ่มได้ตามความต้องการ)
- งบการตกแต่งร้าน (ตามการออกแบบ)….500,000 บาท
- ค่าเช่าและอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับสถานที่) 20,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมในการตวจสอบร้าน กรุงเทพฯ 2,500 บาท ต่างจังหวัด 5,000 บาท
#รวมเงินลงทุนเปิดร้านทั้งหมด 1,310,000 บาท
Bing Chun
แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ Bing Chun เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยอย่างเงียบๆ ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ที่มณฑลเหอหนาน ก่อนขยายสาขาไปยังมณฑลต่างๆ เช่น เหอเป่ย ซานตง ซานซี ส่านซี อานฮุย กุ้ยโจว ยูนนาน เหลียวหนิง ซินเจียง และเมืองอื่นๆ มีสาขามากกว่า 3,000 สาขาทั่วเอเชีย ทั้งในอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว ไทย ฯลฯ
สำหรับในประเทศไทยนั้น Bing Chun เข้ามาเปิดตลาดเมื่อช่วงเดือน ส.ค. 2567 ภายใต้การบริหารของบริษัท ปิงฉุน ฟู้ด แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่แฟชั่นไอส์แลนด์ ใกล้กับบันไดเลื่อนชั้น 3 และเปิดเพิ่มอีก 3 สาขาอย่างรวดเร็ว ได้แก่ อุดรธานี, เชียงใหม่ และ ห้างยูเนี่ยนมอลล์ ติดร้าน Mixue ปัจจุบันมีมากกว่า 14 สาขาทั่วประเทศ
Bing Chun ใช้ตัวมาสคอตเป็น “วัวกระทิง” การออกแบบร้านจะใช้โทนสีฟ้า โมเดลร้านก็จะเหมือนกับ MIXUE, Wedrink และ Ai-cha สไตล์เดียวกันเลย เมนูไอศกรีมและชาผลไม้ราคาเริ่มต้น 15-50 บาท แต่หลายๆ เมนูจะไม่เหมือนกันเลยทีเดียว อย่างเมนูน้ำมะนาวที่ร้าน Bing Chun จะใช้มะนาวสีเขียว ไม่เหมือน Mixue กับ Ai-Cha ใช้สีเหลือง ราคา 20 บาท
เมนูชานมร้าน Bing Chun มีชานม 4 รส คือ ชานมรสดั้งเดิม ชานมวุ้นมะพร้าว ชานมลิ้นจี่มะลิ และชานมไข่มุกค่ะ ราคาเริ่มต้น ที่ 35 – 50 บาท ส่วนเมนูไอศกรีมทางร้าน Bing Chun มี 2 รสชาติ คือ วานิลลา และ ชาเขียว เริ่มต้น 15 บาท
#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน Bing Chun
- ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
- ค่าธรรมเนียมการจัดการดูแล 25,000 บาท/ปี
- ค่าออกแบบ+ค่าอบรม+ค่าตรวจสอบประเมินพื้นที่ 20,000 บาท
- ค่ามัดจำ 10,000 บาท
- วัตถุดิบชุดแรก 200,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์เครื่องมือ 450,000 บาท
- ค่าตกแต่งตามขนาดพื้นที่ของร้านประมาณ 500,000 บาท
- เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (ตามความต้องการของผู้ลงทุน)
#รวมงบในการลงทุนประมาณ 1,345,000 บาท
ความน่าสนใจลงทุนแฟรนไชส์จีน
- ใช้เงินลงทุนต่ำ เริ่มต้นเพียงแค่หลักล้านบาทต้นๆ ถูกกว่าแฟรนไชส์สัญชาติอื่น เป็นทางเลือกสำหรับู้ที่มีทุนจำกัด
- สินค้าราคาถูก มีเมนูหลากหลาย ช่วยให้ผู้ซื้อแรฟรนไชส์บริหารจัดการธุรกิจได้ง่าย สินค้าขายง่าย เป็นที่รู้จักของลูกค้า ในราคาสบายกระเป๋า
- มีระบบซัพพลายเชนที่พร้อม วัตถุดิบและอุปกรณ์บางส่วนนำเข้าจากประเทศจีน ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องหาแหล่งวัตถุดิบ ประหยัดเวลาในการบริหารคลังสินค้า
- แบรนด์เป็นที่รู้จัก มีฐานแฟนคลับรองรับอยู่แล้ว มีดีมานด์พร้อม ช่วยให้เปิดร้านได้เร็ว ติดตลาดได้รวดเร็วโดยไม่ต้องทำการตลาด ที่สำคัญไม่ต้องเริ่มต้นสร้างแบรนด์ใหม่
- สินค้าถูกปากผู้บริโภคชาวไทย โดยเฉพาะไอศกรีมซอฟเสิร์ฟ และชาผลไม้ เป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน ราคาเริ่มต้น 15 บาท
ความท้าทายในการลงทุนแฟรนไชส์จากจีน
การซื้อแฟรนไชส์จากจีน เช่น Mixue, WeDrink, หรือ Bing Chun แม้จะดูน่าสนใจด้วยราคาลงทุนต่ำและแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก แต่ก็มีความเสี่ยงและความท้าทายหลายด้าน ที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ
โดยเฉพาะในตลาดไอศกรีมและชาผลไม้เมืองไทย มีการแข่งขันอย่างดุเดือด มีผู้เล่นหลากหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ที่ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเป็นเมนูเสริม รวมถึงแบรนด์ชาผลไม้อื่นๆ CHA i ENJOY Thailand, Naixue, Chagee, Yi Fang, Nose Tea และอื่นๆ อีกมากมาย
ที่สำคัญตลาดไอศกรีมและชาผลไม้ในเมืองเริ่มถึงจุดอิ่มตัว ร้านแนวเดียวกันโผล่ขึ้นทุกหัวมุมถนน ทำให้เกิดการทับซ้อนของทำเล ส่งผลให้ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาเริ่มลดลงในพื้นที่
เครื่องดื่มชาผลไม้ขายได้กำไรต่อแก้วต่ำมาก ต้องพึ่ง Volume จำนวนมากต่อวัน ประกอบกับค่าเช่า ค่าแรงเริ่มสูงขึ้นในบางทำเล เช่น กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ หากยอดขายตกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ขาดทุนทันที
ความท้าทายสุดท้ายที่แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีนอาจต้องเผชิญ ก็คือ แฟรนไชส์ซีบางสาขาเน้นขายให้ได้มากๆ แต่ไม่รักษาคุณภาพและการให้บริการลูกค้า อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แบรนด์ สุดท้ายทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าซื้อเจ้าไหนก็เหมือยกันหมด ขาดความแตกต่างในด้านรสชาติ
ถ้าถามว่า “ตลาดไอศกรีมและชาผลไม้” ในประเทศไทย จะเกิดฟองสบู่หรือไม่ อาจมีความเป็นไปได้สูง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยเบื่อง่าย ยิ่งมีตัวเลือกเป็นจำนวนมาก เมื่อทุกแบรนด์ขายเมนูหรือสินค้าเหมือนกัน รสชาติและราคาไม่แตกต่างกันมาก
ขณะที่ผู้บริโภคมี่จำนวนเท่าเดิม ซึ่งอย่าลืมว่าเครื่องดื่มเหล่านี้กินไม่ได้ทุกวันเหมือนข้าว อาจทำให้บางสาขามีลูกค้าไปใช้บริการเบาบาง ส่งผลให้ยอดขายต่อสาขาต่ำลง ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์อยู่ไม่ได้ เมื่อเกิดการ “เทขาย” หรือปิดกิจการไปพร้อมๆ กัน ก็จะเป็นปรากฏการณ์คล้ายๆ กับช่วงวิกฤตของร้านชานมไข่มุกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)