โอกาสแฟรนไชส์ไทย ปี 2563

หลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์มีการเติบโตค่อนข้างสูง ทั้งจำนวนของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือแฟรนไชซอร์ (franchisor) และผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชซี (franchisee)

โดยในปี 2562 ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านบาท มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2563 คาดว่าอาจจะมีการเติบโตเกือบ 3 แสนล้านบาท แนวโน้มและโอกาสแฟรนไชส์ไทยในปี 2563 เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

ภาครัฐสนับสนุน สร้างโอกาสแฟรนไชส์ไทย

31

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ภาพจาก mgronline

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและในอนาคต กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม สร้าง และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชส์ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร

เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแบบบูรณาการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง ทั้งในประเทศ และพร้อมเดินหน้าสู่ตลาดสากล

โดยกรมฯ เตรียมผลักดันผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการอบรมโครงการ “แฟรนไชส์ไทยก้าวสู่สากล : Thai Franchise Towards Global” และมีความพร้อมในการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศจำนวน 27 ธุรกิจ ประกอบด้วย ประเภทอาหาร 12 ธุรกิจ เครื่องดื่ม 5 ธุรกิจ การศึกษา 4 ธุรกิจ ธุรกิจบริการ 4 ธุรกิจ ความงามและสปา 1 ธุรกิจ และค้าปลีก 1 ธุรกิจ

โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (CLMV) หลังพบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคมีความชื่นชอบให้ความสนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเป็นอย่างมาก

30

ภาพจาก bit.ly/2RSBKlU

กรมฯ มองว่าแฟรนไชส์ไทยมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีความเข้มแข็งของทุนทางวัฒนธรรมมีภาพลักษณ์ที่ดี และมีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกลุ่มแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มอีกทั้ง ลักษณะของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ค่านิยม รวมถึงวัฒนธรรมในการบริโภค

ดังนั้น การส่งออกธุรกิจแฟรนไชส์ไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ จึงนับเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่สำคัญของผู้ประกอบการ และเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายแรก ในการนำธุรกิจแฟรนไชส์ไทยขยายสาขาไปยังต่างประเทศ

ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่จะสามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้ ต้องมีระบบการบริหารจัดการรูปแบบแฟรนไชส์ที่เข้มแข็ง มีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ และสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ

รวมทั้งต้องมีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ กฎระเบียบของประเทศที่ต้องการไปลงทุน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ

แต่ทั้งนี้ การขยายแฟรนไชส์ไทยเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน อาจต้องหาพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นนักลงทุนท้องถิ่นในการซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ หรือนักลงทุนไทยที่มีความเชี่ยวชาญตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อาจเห็นโอกาสจึงลงทุนซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ เพื่อเข้าไปตั้งสาขาในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องพิจารณากฎหมายของแต่ละประเทศด้วย

29

ภาพจาก bit.ly/2S63Qun

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทุกระดับ เริ่มตั้งแต่

  1. แฟรนไชส์ขนาดเล็กที่พบได้ในลักษณะหน้าร้าน (Kiosk) หรือ Mobile Unit : Food Truck ตามแหล่งชุมชน
  2. แฟรนไชส์ขนาดกลางที่แพร่หลายตามศูนย์การค้าและสถานีบริการน้ำมัน
  3. แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่อยู่บนห้างสรรพสินค้า จนกระทั่งแฟรนไชส์กลุ่มที่แข็งแกร่ง จนสามารถขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจลงทุน ปี 2563

28

ภาพจาก bit.ly/2PJG5Fu

1. แฟรนไชส์ที่ตอบสนองเทรนด์ผู้สูงอายุ

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนมากมีรายได้จากเงินบำเหน็จบำนาญ เงินสะสมหรือเงินจากลูกหลานเพื่อใช้สอยพอสมควร จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้บริการผู้สูงอายุ เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บริการด้านการขนส่งและการเดินทาง บริการทัวร์ผู้สูงอายุ บริการดูแลสัตว์เลี้ยง ธุรกิจซักอบรีด แต่ผู้ประกอบการอาจต้องอำนวยความสะดวกด้วยการให้บริการถึงสถานที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ

27

2. แฟรนไชส์ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีจำนวนและกำลังซื้อเพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตค่อนข้างเร่งรีบ มีการใช้เทคโนโลยีซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงมีการใช้เวลากับกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากงานที่ทำ เช่น กีฬา การท่องเที่ยว ที่สำคัญ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังมีความต้องการเรียนรู้ทักษะต่างๆ เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพการทำงาน ซึ่งแฟรนไชส์ที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ ได้แก่ แฟรนไชส์เกี่ยวกับการดูแลและบำรุงรักษารถ สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลเอง แฟรนไชส์ซักอบรีด แฟรนไชส์ส่งอาหารหรือสินค้าดีลิเวอรี่ แฟรนไชส์ด้านการพัฒนาทักษะ เช่น ภาษา ศิลปะ กีฬา หรือเทคโนโลยี เป็นต้น

26

 

3.แฟรนไชส์ที่อิงกับกระแส E-Commerce

ในยุคที่การค้าออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการธุรกิจสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน เช่น ไปรษณีย์ รับและบรรจุ ขนส่งพัสดุ รวมถึงในบางธุรกิจที่อาจต้องการคนกลางจัดการสินค้า เพื่อให้ถึงมือผู้ซื้อได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนไม่สูงมาก

จะเห็นได้ว่า โอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2563 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เพราะมีกลุ่มคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่อยากเสียเวลาในการสร้างธุรกิจขึ้นมาเอง จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสนใจเข้าสู่แฟรนไชส์มากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเงินลงทุนในการขยายสาขา ขณะเดียวกันภาครัฐยังให้การส่งเสริมและสนับสนุน สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตแข็งแกร่งอีกด้วย


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/2RUq6Ho

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช