เทคนิคการออมเงินของคนต่างชาติ! เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน!

พูดถึงการออมเงิน เป็นบทเรียนพื้นฐานที่ผู้ใหญ่ของทุกประเทศจะสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักเก็บออม แต่ด้วยวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ ก็ทำให้การออมเงินของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างในประเทศไทย

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กๆเก็บออมจากเงินที่เหลือจากไปโรงเรียน โตขึ้นมาหน่อยก็อาจสอนให้ลูกหลานรู้จักซื้อในสิ่งที่ควรซื้อ สอนให้รู้จักแบ่งเงินเก็บเป็น 3 ส่วน คือเงินใช้ทั่วไป เงินใช้ยามเจ็บป่วย และก็เงินออม

ทีนี้ลองมาดูนิสัยการออมของคนต่างประเทศที่เขาก็สอนลูกหลานในเรื่องการออมเงินเช่นเดียวกัน อาจจะแตกต่างหรือบางอย่างอาจจะคล้ายๆกับของเมืองไทย ลองมาศึกษากันดูเพื่ออันไหนที่เอามาปรับใช้ได้จะได้เอามาพัฒนาเรื่องการเก็บออมของเราให้ดียิ่งขึ้น

การออมเงินของชาวเยอรมัน

เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน

ภาพจาก bit.ly/2QafG5F

นิสัยการออมของชาวเยอรมันเน้นการออมเงินตั้งแต่อายุน้อย ๆ โดยการทำงานพิเศษ ไม่นิยมการใช้บัตรเครดิตชอบการใช้จ่ายเงินสดมากกว่า ชื่นชอบการทำประกันเพราะกลัวความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในชีวิต และส่วนมากสามารถออมเงินได้ประมาณ 10% ของรายได้ทุกเดือน ซึ่งถ้าลองเอามาแจกแจงเหตุผลในการออมจะพบว่า

  1. คนเยอรมันนิยมการทำประกันชีวิตและสุขภาพกันตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ เพื่อให้เกิดวินัยในการออมเงินแบบบังคับตัวเองให้ได้
  2. การใช้จ่ายของคนเยอรมันก็จะเลือกเก็บเป็นเงินออมมากถึง 70% ของรายได้
  3. ประชากรของเยอรมันส่วนใหญ่จะหารายได้เสริมเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันแทน
  4. คนเยอรมันมองว่าการออมเงินสำหรับการใช้จ่ายแบบฉุกเฉินนั้นมีความสำคัญและการเก็บออมและการลงทุนเพื่อใช้จ่ายยามเกษียณนั้นสำคัญที่สุด
  5. ชาวเยอรมันต้องจ่ายภาษีเกือบ 50% ของรายได้และการออมโดยเฉลี่ยของรายรับทุกๆ เดือนของทั้งประเทศ คิดเป็น 10%

การออมเงินของชาวญี่ปุ่น

62

ภาพจาก bit.ly/2CCCpiw

นิสัยการออมของชาวญี่ปุ่นที่ค่อนข้างกลัวความเสี่ยง จึงนิยมการออมเงินมากกว่าจนทำให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นในประเทศ ทำให้ต้องมีการลงทุนนอกประเทศ มีค่านิยมการออมเงินที่ 25% ของรายได้และส่วนมากจะเน้นการออมเพื่อวัยเกษียณ

ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ต้องเจอกับภัยธรรมชาติรุนแรงหลายครั้ง ทำให้เขาไม่ประมาท และเตรียมพร้อมสำหรับการใช้จ่ายยามฉุกเฉินตลอดเวลา ชาวญี่ปุ่นจึงทำงานหนักและเน้นการประหยัดอดออมมาก

ญี่ปุ่นเองมีโครงสร้างสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่สุดในโลก ดังนั้น การวางแผนเรื่องของเงินบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆ จึงทำได้ค่อนข้างดี หากแจกแจงรายละเอียดในการออมเงินของคนญี่ปุ่นพบว่า

  1. คนญี่ปุ่นจะกังวลต่อความเสี่ยงมากการออมเงินโดยการฝากเงินไว้ในธนาคารจึงเป็นวิธีออมเงินหลักของประเทศนี้ ถึงขั้นธนาคารต้องลดดอกเบี้ยเงินฝากเหลือ 0% เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนให้มากขึ้นแทน
  2. สัดส่วนการออมเงินของแต่ละครอบครัวนั้นสูงถึง 25% ทีเดียว
  3. การออมเงินจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ทั้งเงินเพื่อการใช้ยามฉุกเฉิน และค่ารักษาพยาบาล
  4. คนญี่ปุ่นนิยมการออมในรูปแบบของการทำประกันและถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการทำประกันชีวิตสูงที่สุดในโลก ต่อหนึ่งคนมีกรรมธรรน์ชีวิตหลายฉบับ และถือเป็นประเทศที่ธุรกิจประกันชีวิต ประกันภัย มีการแข่งขันที่สูงมาก

การออมเงินของชาวจีน

61

ภาพจาก bit.ly/32CHDFL

ธนาคารพาณิชย์ของประเทศอังกฤษอย่าง Lloyds TSB เคยตั้งสมมุติฐานว่า “ทำไมคนจีนถึงเป็นประเทศรวยเงินออมมากที่สุดของโลก” รายงานของ Lloyds TSB ยังระบุอีกว่าเฉลี่ยแล้วการออมเงินของครอบครัวชาวอังกฤษจะเก็บเงินราว 7% ของรายได้ในแต่ละเดือน แต่เมื่อเทียบกับชาวจีนที่ส่วนใหญ่ออเงินสูงถึง 47% ต่อเดือนเลยทีเดียว

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอีกนิดในขณะที่ครอบครัวชาวอังกฤษส่วนใหญ่ออมเงินเฉลี่ย 5,000 ปอนด์ต่อเดือน ขณะที่ชาวจีนจะออมเงินสูงถึง 19,000 ปอนด์ต่อเดือน หมายความว่าชาวจีนมีการออมเงินสูงกว่าชาวอังกฤษกว่า 4 เท่า ซึ่งหากแจกแจงเหตุผลในการออมเงินของคนจีนจะพบว่า

  1. จุดประสงค์การออมเงินของชาวจีนเพื่อชีวิตช่วงวัยเกษียณหรือยามเจ็บป่วย สะท้อนให้เห็นว่าสวัสดิการที่แตกต่างจากประเทศในยุโรปโดยเฉพาะแถบสแกนดิเนเวีย ทำให้คนจีนออมเงินจนกลายเป็นนิสัย ไม่นิยมช้อปปิ้งพร่ำเพรื่อ และไม่นิยมแข่งขันกันที่การแต่งตัว
  2. ชาวจีนเป็นกลุ่มที่ไม่นิยมความหรูหราในชีวิตประจำวัน หมายถึงการใช้เงินจะต้องให้เหมาะสมกับโอกาสพิเศษหรือสำคัญจริงๆ และต้องคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปด้วย
  3. ชาวจีนออมเงินด้วยวิธีการต่อยอด เช่นการนำเงินก้อนแรกไปลงทุนในหุ้น หรือทองคำ หรือหากใครมีเงินก้อนใหญ่หน่อย ก็จะนำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนทั้ง 3 ประเภทนี้ชาวจีนนิยมกันมาตั้งแต่ในอดีต
  4. ชาวจีนยุคใหม่เพิ่มจุดประสงค์การออมเงินมากขึ้น เช่น ออมเพื่อท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวไม่ได้เพียงแค่ผ่อนคลาย แต่การเดินทางของชาวจีนในประเทศอื่นๆ เป็นในลักษณะการมองลู่ทางธุรกิจ หรือการเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศนั้นๆ
  5. พฤติกรรมของชาวจีนนิยมใช้บัตรกำนัลต่างๆ ในการช้อปปิ้งรวมถึงการรับประทานอาหารในมื้อสุดหรูต่าง ๆมากกว่าการใช้เงินสดจ่าย แตกต่างจากชาวยุโรปที่นิยมใช้บัตรเครดิตมากกว่า

60

ภาพจาก bit.ly/34WPvDD

นิสัยการออมของแต่ละประเทศบ่งบอกถึงวินัยทางการเงิน และสถานภาพของคนในสังคมนั้นๆได้ดีอย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่มีสวัสดิการของประชาชนที่ดีมาก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่นิยมเรื่องการออม เพราะยามเจ็บป่วยหรือเข้าเรียนก็มีสวัสดิการของรัฐดูแลอย่างดี

คนในประเทศจึงมุ่งเน้นไปกับการเสียภาษีที่สูง ก็ถือเป็นการออมให้กับตัวเองในทางหนึ่ง แตกต่างจากอีกหลายประเทศที่สวัสดิการแห่งรัฐยังไม่ดีหรือเทียบเท่า ก็ทำให้ประชาชนต้องขวนขวายหาเงินเก็บออมในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงให้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/36YMDI5

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด