เจาะลึก! อยู่ได้มั้ย เปิดร้านอาหาร ขายผ่าน app อย่างเดียว

ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด กระแสของเดลิเวอรี่ก็คาดหมายว่าจะเติบโต แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา การขายอาหารผ่านแอพ การขายอาหารแบบเดลิเวอรี่กลายเป็นช่องทางหลักในทันที

ก็มีคำถามที่น่าสนใจว่าหากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น การขายอาหารแบบเดลิเวอรี่จะยังคงดีอยู่ไหม และที่พ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ที่ไม่มีหน้าร้านแต่เน้นขายแบบเดลิเวอรี่อย่างเดียว พวกเค้าเหล่านี้จะมีกำไรได้เหมือนเปิดหน้าร้านแค่ไหน

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนอยากรู้คำตอบเพื่อจะได้มีข้อมูลไว้เป็นแนวทางเผื่อว่าอยากขายอาหารผ่านแอพเดลิเวอรี่บ้าง

กระแส “เดลิเวอรี่” ยังแรง และคาดว่าจะเติบโตมากขึ้น

เปิดร้านอาหาร

ขายอาหารผ่านเดลิเวอรี่จะรอดไม่รอด ขั้นแรกต้องไปจับกระแสของเรื่องนี้ก่อน ถ้าดูข้อมูลด้านการตลาดจากสำนักวิจัยต่างๆ จะเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือเดลิเวอรี่ยังโตได้อีกมาก

ยกตัวอย่างข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “สเตติสตา” ประเมินว่า ปัจจุบัน ตลาดเดลิเวอรี่อาหารผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไปจนถึงปี 2566 โดยเฉพาะในเอเชียที่ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านออนไลน์เติบโตอย่างเด่นชัด

ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่าราว 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่าทั้งปี 2564 ปริมาณการสั่งอาหารจัดส่งที่บ้านน่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 ล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัวมีมูลค่ารวมสูงถึง 5.31 – 5.58 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18.4 – 24.4

เปิดร้านอาหาร ขายผ่าน app อย่างเดียว อยู่ได้มั้ย??

9

ภาพจาก www.freepik.com/

ตัดกลับมาที่คำถามหลักถ้ามองว่ากระแสเดลิเวอรี่ยังดีและมาแรงขนาดนี้ การเปิดร้านอาหารและขายแบบเดลิเวอรี่อย่างเดียวไม่ต้องมีหน้าร้าน จะอยู่ได้มั้ย?? คำตอบชัดเจนเลยว่า “อยู่ได้”

ลองมาวิเคราะห์ตัวเลขสักเล็กน้อย ในกรณีถ้าขายหน้าร้านปกติ ยกตัวอย่างสินค้าง่ายๆอย่าง “เฟรนฟรายส์” ต้นทุนโดยรวม (ค่าวัตถุดิบ + อุปกรณ์ประกอบอาหาร + ต้นทุนจิปาถะ) ประมาณ 20 บาท หากขายราคา 45 บาท กำไรจากการขายหน้าร้านคือ 25 บาท กำไรคิดเป็นสัดส่วน 55.56% จากราคาขาย

ในกรณีที่จะหันมาขายเฉพาะเดลิเวอรี่อย่างเดียวก็เท่ากับว่าเราต้องมีต้นทุนเพิ่มคือค่า GP ประมาณ 15-35% (ตามเงื่อนไขของแต่ละค่าย) มาคำนวณดูว่า กำไรของร้านจะเหลือเท่าไหร่

ต้นทุนเดิมของเฟรนฟรายส์คือ 20 บาท + ค่า GP เดลิเวอรี่ที่ 30% (ประมาณ 13.5 บาท) จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มมาเป็น 33.5 บาท ถ้าขายในราคาเดิมคือ 45 บาท กำไรจะลดลง หรือ 11.5 บาท หรือคิดเป็น 25.56% จากราคาขาย

8

ภาพจาก www.freepik.com/

หลายคนบอกเห็นตัวเลขแบบนี้เกิดคำถามว่าจะกำไรที่น้อยลงร้านค้าจะอยู่ได้อย่างไร แต่เราต้องไม่ลืมเรื่อง “ยอดขาย” เพราะการขาย “เดลิเวอรี่” มีจุดเด่นคือ การเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น กำไรที่อาจจะลดลง แต่ถ้ามีปริมาณการขายที่เพิ่มมากขึ้น

เช่นขายหน้าร้านปกติกำไร 25 บาท/ชิ้น แต่ 1 วันขายได้ 100 ชิ้น กำไร 2500 บาท แต่ถ้าขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวเน้นๆ ไปเลยทำการตลาดอย่างดี โปรโมทอย่างดีอัดแคมเปญเต็มที่ อาจจะขายได้วันละ 300 ชิ้นเพิ่มขึ้นมาเท่าตัว กำไรต่อชิ้นที่มองว่าน้อยก็อาจไม่น้อย คิดตัวเลขกำไรต่อวันจะได้ประมาณ 11.5 x 300 = 3,450 บาท

7

ภาพจาก www.freepik.com/

เกิดคำถามอีกว่าถ้ายอดขายไม่ได้เยอะเหมือนที่เราคำนวณแบบนี้การขายแต่เดลิเวอรี่อย่างเดียวจะอยู่รอดได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องไปดูกลยุทธ์ในการขาย เพราะส่วนใหญ่ราคาขายหน้าร้านกับราคาเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกัน ดังนั้นร้านอาหารส่วนใหญ่จะบอกค่าคอมมิชชั่นลงไปในเมนูแล้ว สังเกตได้ว่าราคาจึงค่อนข้างแตกต่าง

เช่น สเต๊ก 1 จาน ราคาหน้าร้าน 50 บาท แต่พอเราเข้าไปสั่งในแอพเดลิเวอรี่ราคาขายอาจเป็น 60-65 บาท เป็นต้น ราคาขายที่เพิ่มขึ้นนี้จึงเอามาถัวเฉลี่ยทำให้ร้านค้าได้กำไรต่อชิ้นเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องรอให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมากๆ ร้านอาหารก็สามารถมีกำไรจากการขายและสามารถอยู่รอดได้เช่นกัน

เทรนด์ “เปิดร้านเดลิเวอรี่” ขยายตัวไปทั่วโลก

6

ภาพจาก https://box8.in/

ตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวอยู่รอดได้แน่ ถ้ารู้จักบริหารจัดการ เพราะธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกก็กำลังขยายกิจการในรูปแบบเดลิเวอรี่ โดยเว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น เพราะเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ มีทุนน้อยก็ทำได้ แถมไม่เสี่ยงเจ๊งเหมือนการมีหน้าร้านให้นั่งกิน และไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาขาดแคลนคนงานอีกด้วย

ยกตัวอย่างบริษัท อูเบอร์ อีตส์ (Uber Eats) จับมือกับเชนคาเฟ่อินเดีย “คาเฟ่ คอฟฟี่ เดย์” เพื่อให้บริการเครือข่ายร้านอาหารเฉพาะดีลิเวอรี่ หรือ BOX8 ร้านอาหารไร้หน้าร้านชื่อดังในอินเดียได้เปิดให้บริการในเมืองใหญ่ๆ ทั้งมุมไบ ปูเน่ และบังกาลอร์ นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ Curry Me Up และ Kadhai House สนใจตลาดนี้เช่นกัน

หรือในญี่ปุ่นบริษัทสตาร์ตอัพ “เซนโตเอน” ก็เริ่มให้บริการครัวร่วมใช้ “Kitchen Base” โดยครัวที่มี 4 ห้อง จะรองรับร้านอาหารเสิร์ฟเฉพาะ เดลิเวอรี่ได้ 8 ราย แบ่งเป็นตอนกลางวัน 4 ราย และตอนกลางคืนอีก 4 ราย โดยคิดค่าธรรมเนียมราว 100,000-150,000 เยน ต่อเดือน เป็นต้น

5 เทคนิคสำคัญเปิดขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวก็อยู่รอดได้

1.เลือกทำเฉพาะเมนูที่เหมาะกับเดลิเวอรี่

5

หากจะขายเดลิเวอรี่ไม่มีหน้าร้านก็ต้องเลือกเมนูที่เหมาะสมเพราะไม่ใช่ทุกเมนูที่จะขายเดลิเวอรี่ได้ควรจะเลือกเมนูที่สามารถขนส่งได้ โดยที่รสชาติและคุณภาพของอาหารไม่เสียไป พร้อมเลือกแพคเกจจิ้งที่เหมาะสมกับเมนูนั้น ๆ เพื่อให้เมื่อไปถึงมือลูกค้าในสภาพที่ดีทั้งรสชาติและภาพลักษณ์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ

2.รู้จักการคำนวณต้นทุนก่อนขาย

1

ต้นทุนค่าคอมมิชชั่นคือตัวแปรสำคัญมาก บางรายอาจสูงถึง 35% ถ้าเราเลือกเมนูที่มีกำไรน้อยอยู่แล้วมาทำเดลิเวอรี พอโดยหัก GP ก็จะทำให้กำไรหดหายไปได้ หรือกลายเป็นขาดทุนทันที ดังนั้นจึงต้องคำนวนต้นทุนของแต่ละเมนูให้ดี แล้วค่อยมาเลือก ว่าเมนูไหนคุ้มค่าที่จะทำเดลิเวอรี ขายแล้วยังมีกำไรอยู่

3.จัดเซตเมนูเดลิเวอรี่

3

บางทีการขายแบบชิ้นเดียว จานเดียว อาจทำให้มีปัญหาเรื่องกำไร วิธีการหนึ่งคือการจัดเซตสินค้าที่ร้านค้าได้กำไรเพิ่ม ลูกค้าก็ประทับใจเพิ่มขึ้น หรือการเพิ่มไซด์เมนูให้ใหญ่ขึ้น ราคาเพิ่มขึ้น การใช้ไอเดียเล่นกับเมนูนอกจากทำให้ร้านค้าได้กำไรเพิ่มขึ้น ลูกค้ายังรู้สึกว่าร้านของเรามีอะไรใหม่ๆ ให้น่าลองเสมอๆด้วย

4.รุกตลาดออนไลน์

2

ภาพจาก www.freepik.com

ขายเดลิเวอรี่อย่างเดียวไม่มีหน้าร้านสิ่งสำคัญคือการรุกตลาดออนไลน์เพื่อให้คนได้เห็นร้านของเรามากขึ้น ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter หรือ LINE OA เราต้องหมั่นสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และทำโปรโมชันบ้าง เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ลองสั่งอาหารของร้านเราให้มากขึ้น

5.รักษามาตรฐานของร้านสำคัญมาก

4

จะขายดีแค่ไหน คุณภาพของบริหาร อาหารเราต้องเหมือนเดิม ดังนั้นเรื่องระบบรับออร์เดอร์จึงต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องหัวเสียคอยสินค้าเรานานเกินไป โดยปัจจุบันแต่ละค่ายเดลิเวอรี่ก็พยายามเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการรับออร์เดอร์ของร้านค้าเพื่อให้รักษามาตรฐานได้ดีที่สุด

การขายแบบเดลิเวอรี่ไม่มีหน้าร้านเราเชื่ออย่างยิ่งว่าอยู่ได้แน่ เพราะปัจจุบันมีร้านค้าในลักษณะนี้จำนวนมาก และสร้างยยอดขายได้ดีกว่าการมีหน้าร้านที่บางคนบอกว่าประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ ไม่ต้องจ้างคนงานมาก บางคนมีรายได้จากการขายอาหารเดลิเวอรี่อย่างเดียวเดือนละหลายหมื่นบาท แต่คนที่อยากทำธุรกิจแนวนี้ต้องศึกษาแนวทางให้ชัดเจน วางระบบบริหารจัดการให้ดี ที่สำคัญต้องตั้งใจทำจริงค่อยๆ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นไปตามที่เราต้องการ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2ZAdpY6 , https://bit.ly/3GDK0NA , https://bit.ly/3GAybrL , https://bit.ly/3EzdXN3

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BL7P2j

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด