ลักษณะและประเภทของ เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า มี หน้าที่คุ้มครอง ผลประโยชน์ทางการค้า ให้กับผู้เป็นเจ้าของที่ใช้เครื่องหมายการค้าในกิจการของตน ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับชื่อเสียงในทางการค้า แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และจำแนกความแตกต่างระหว่างสินค้าของตัวเองกับของคู่แข่งได้

ขณะเดียวกัน เครื่องหมายการค้ายังทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำและแยกแยะสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น จากสินค้าชนิดเดียวกันที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้ตรงตามความต้องการ และทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า หากสินค้านั้นมีความบกพร่องก็สามารถหาผู้รับผิดชอบได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปรู้จักลักษณะและประเภทของเครื่องหมายการค้า ก่อนไปยื่นขอรับความคุ้มครองและจดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543

1.ลักษณะทั่วไปของเครื่องหมายการค้า

หน้าที่คุ้มครอง

ภาพจาก goo.gl/7YGE65

เครื่องหมายการค้าที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันของ “เครื่องหมาย” ซึ่งได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ

2.ประเภทของเครื่องหมาย

กฎหมายให้ความคุ้มครองเครื่องหมายที่จดทะเบียน มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

เครื่องหมายการค้า

ki3

 

ภาพจาก goo.gl/Bfvsru

คือ เครื่องหมาย หรือยี่ห้อ หรือตรา ที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง แปบซี่ สตาร์บัคส์ โตโยต้า BMW เป็นต้น

เครื่องหมายบริการ

ki4

 

ภาพจาก goo.gl/RT8Ixy

คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้น แตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของคนอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

เครื่องหมายรับรอง

ki5

 

ภาพจาก goo.gl/NY6lvw

คือ เครื่องหมาย ที่เจ้าของเครื่องหมายหมายรับรอง ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า และบริการ ของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้นๆ เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล ฉลากเขียว อย. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มอก. ประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น 

เครื่องหมายร่วม

ki6

 

ภาพจาก goo.gl/Ll3xVI

คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ ที่ใช้ในบริษัทเดียวกัน หรือใช้ในองค์กรเดียวกัน เช่น กลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย (SCG) กลุ่มบริษัทในเครือปตท. (PTT Group)

ปัจจุบันเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้ามีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจเป็นอย่างมาก ใครจะทำธุรกิจต้องรีบไปจดทะเบียน เพราะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และสามารถขอชำระค่าธรรมเนียม เพื่อต่ออายุความคุ้มครองออกไปได้ทุกๆ 10 ปี (เท่ากับว่ามีความคุ้มครองไม่สิ้นสุด หากเจ้าของชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุไปโดยตลอด)


ท่านใดสนใจอยากจดเครื่องหมายการค้าโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่ 
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช