ทำไม “ร้านชา 25 บาท” ถึงไม่น่าลงทุนในช่วงนี้

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้นของ ร้านชา 25 บาท ทุกแก้ว หลายคนพอเห็นคนอื่นซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจแล้วขายดี ก็อยากทำตามบ้าง

จึงทำให้เห็นภาพผู้คนแห่แหนกันเปิดร้านชาราคาเดียวกันเต็มบ้านเต็มเมือง ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็เห็นแต่ร้านชาราคาเดียวเต็มไปหมด ซึ่งในตอนนั้นลองไล่นับดูแล้วมีมากกว่า 30 แบรนด์ด้วยกัน

แล้วในช่วงนี้ร้านชา 25 บาททุกแก้ว ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจร้านชาราคาเดียวในช่วงเวลานี้ให้ทราบ เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจสำหรับคนที่อยากเปิดร้านชาราคาเดียวครับ

ร้านชา 25 บาท

ภาพจาก bit.ly/3sLdb9O

ย้อนกลับไปในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าร้านชา 25 บาททุกแก้ว มีการเติบโตขึ้นเป็นดอกเห็ด มีแบรนด์แฟรนไชส์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าแบ่งก้อนเค้กธุรกิจกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ให้แบ่งได้อีก จึงส่งผลให้ธุรกิจร้าน “ชาราคาเดียว” ทำการเปิดศึกรบกันอย่างหนักหน่วง ทั้งฝั่งผู้ขายแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์

โดยส่วนมากแล้วเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ชา 25 บาท จะใช้กลยุทธ์การขายแฟรนไชส์แบบขายขาด เก็บค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว และให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ซื้อเฉพาะผงชาที่เป็นสูตรเฉพาะของแบรนด์ตัวเอง ซึ่งราคาแฟรนไชส์มีตั้งแต่หลัก 10,000-100,000 บาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องหักส่วนแบ่งรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์เหมือนร้านกาแฟอเมซอน และอื่นๆ

แต่สิ่งที่ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับ ก็คือ ร้านแบบคีออสและแบบตกแต่งร้านเต็มรูปแบบ สอนสูตรให้อย่างที่สามารถสอบถามหรือกลับมาเรียนซ้ำได้ตลอด มีหม้อต้มให้ 3 ใบ รวมทั้งวัตถุดิบต่างๆ ที่ให้รวมในครั้งแรกที่จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์

21

ภาพจาก bit.ly/3qdX2YP

ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นฝั่งที่ต้องหาทำเลเปิดร้านเอง และลงพื้นที่เผชิญศึกแบบสู้ยิบตาเต็มๆ ทั้งการเผชิญหน้ากับลูกค้าหลากหลายประเภท รวมถึงสู้กับร้านขายชาราคาเดียวที่ตั้งร้านอยู่ไม่ไกลกันมาก แถมบางรายเจอศึกหนัก คือ ร้านที่เปิดอยู่ใกล้กันดันเป็นแฟรนไชส์ยี่ห้อเดียวกันอีก ยังไม่รวมแบรนด์อื่นๆ และร้านชาแบบรถเข็น ตกแต่งร้านเอง มีเมนูทุกอย่างเหมือนกับแบรนด์แฟรนไชส์ดังๆ ร้านไหนขายไม่ออกต้องเลิกกิจการไป ทั้งที่บางรายซื้อแฟรนไชส์ยี่ห้อเดียวกันด้วยซ้ำ

เมื่อร้านชา 25 บาททุกแก้วเต็มบ้านเต็มเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น เพราะรสชาติของเครื่องดื่มชาราคาเดียวจะไม่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าร้านไหนจะเพิ่มความหวาน ไม่หวาน ในเมื่อรสชาติของชาราคาเดียวไม่ต่างกัน จึงทำให้ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องไปซื้อร้านประจำ สามารถซื้อร้านอื่นที่อยู่ใกล้บ้านก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ทำให้ร้านชา 25 บาททุกแก้วหลายๆ แบรนด์ไปไม่รอด ต้องปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก เพราะคู่แข่งร้านชาราคาเดียว รวมถึงการกลับมาอีกครั้งของร้านชานมไข่มุก ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายแบรนด์ และหลายๆ แบรนด์ราคาก็ถูกกว่าร้านชา 25 บาทด้วยซ้ำ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไป ไม่นิยมเครื่องดื่มชา 25 บาทเหมือนแต่ก่อน

20

ภาพจาก bit.ly/3bYZYUf

อีกทั้ง เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์บางรายหวังเพียงแค่ขายแฟรนไชส์อย่างเดียว ไม่มีคำแนะนำ ไม่มีการช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ ซึ่งหลายๆ แฟรนไชส์ต้องแข่งกันเอง เพราะเปิดในระยะห่างไม่ถึง 500 เมตรด้วยซ้ำ

เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ถามว่า “ ร้านชา 25 บาท ” ยังน่าลงทุนในช่วงนี้หรือไม่ คนที่อยากเปิดร้านชา 25 บาททุกแก้ว ต้องลองพิจารณาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน แม้การซื้อแฟรนไชส์จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าเปิดร้านเองก็ตาม

เพราะแม้ว่าสินค้าจะขายดีและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะขายดีไปตลอดกาล ยิ่งสินค้าที่คนทำกันเยอะ คู่แข่งเยอะ มีสินค้าเกิดทดแทน ก็จะยืนหยัดอยู่ได้ไม่ยาวนาน ถ้าผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัว ศึกษาตลาดและคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญหากใครคิดจะลงทุนต้องดูโอกาสและเวลา ดูเทรนด์ ดูพฤติกรรมผู้บริโภค


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3v4MPBt

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช