ก้าวต่อไปของ Amazon กว้านซื้อห้างฯ เก่า เนรมิตเป็นคลังสินค้า

ถ้าให้เอ่ยถึง Amazon แล้ว เชื่อได้เลยว่าภาพของ ร้านค้าออนไลน์ และ Kindle ต้องปรากฏขึ้นมาบนหัวของใครหลายคนแน่นอน เพราะเป็นสองบริการยอดนิยมที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้มากที่สุด

แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา Amazon ได้เริ่มต้นก้าวย่างสำคัญ ที่อาจพลิกโฉมหน้าภาพลักษณ์ของบริษัท และอาจรวมถึงวงการไอทีไปตลอดกาล Amazon ได้รับการกล่าวขานมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถูกบรรจุลงไปในกลุ่ม FANG

ซึ่งเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยี ที่ราคาหุ้นมีการพุ่งทะยานมากในปีนี้ ประกอบด้วย Facebook (F), Amazon (A), Netflix (N), Google (G) แล้วคุณผู้อ่านรู้ไหมว่า ก้าวต่อไปของ Amazon จะเป็นอย่างไร และ Amazon กำลังคิดและทำอะไรในวันข้างหน้า

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอเล่าให้คุณผู้อ่านได้รู้จัก เพราะกลยุทธ์ของ Amazon ในครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่โลกธุรกิจจะต้องมองข้าม โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก และโลจิสติกส์

เกิดอะไรขึ้นกับ Amazon

kk7

ภาพจาก goo.gl/YBcajm

ทุกคนทราบกันดีว่า Amazon เติบโตมาจากการขายของออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ Amazon เติบโตจนกระทั่งราคาหุ้นใกล้จะแตะ $1,000 อยู่แล้ว ยังทำให้ธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมๆ

ไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือ หรือ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมจำนวนมากต้องปิดตัวเองไป แต่ล่าสุดดูเหมือนกลยุทธ์ของ Amazon กลับจะสวนทางความเชื่อหรือสมมติฐานเดิมๆ นั่นคือ Amazon มีการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่เป็นร้านค้ามากขึ้น (จาก online มาสู่ offline)

เห็นได้จาก Amazon ได้ขยายศูนย์ปฏิบัติการและคลังสินค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากประกาศว่า บริษัทเตรียมสร้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่งในสหรัฐในช่วง 18 เดือนข้างหน้า

ล่าสุดข่าวที่เกิดขึ้นกับ Amazon ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ โดย Amazon เตรียมที่จะซื้อหรือเช่าห้างสรรพสินค้าเก่าๆ ที่ได้ปิดกิจการไปแล้วก่อนหน้านี้ อย่าง Randall Park Mall ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน North Randall, Ohio และได้ ปิดกิจการไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2552 การรื้อถอนเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มูลค่าการลงทุนสร้างคลังสินค้าบนห้าวสรรพสินค้าของ Amazon คาดว่าประมาณ 177 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ขนาด855,000 ตารางฟุต พร้อมที่จอดรถขนาดใหญ่ประมาณ 67 เอเคอร์ คาดว่าจะมีการจ้างงานมากกว่า 2,000 ตำแหน่ง

แล้วทำไม Amazon ต้องซื้อห้างค้าปลีกเก่าๆ

kk1

ภาพจาก goo.gl/gr7rxt

คำตอบแรกคือ Amazon มีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ที่สำคัญมีการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ดูได้จากรายได้ในช่วงไตรมาสล่าสุดของ Amazon เติบโตอย่างน้อย 25% จากการเติบโตของธุรกิจ ทำให้ศูนย์บริการจัดส่งสินค้าไม่เพียงพอ

การซื้อ Randall Park Mall ทำเป็นศูนย์ปฏิบัติการและคลังสินค้าของ Amazon โดยเฉพาะโครงการนี้ จะสามารถสร้างรายได้ให้กับ Amazon เพิ่มขึ้น 38% โดยมีรายได้ในช่วงไตรมาสก่อนหน้าเกือบ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยในปี 2560 Amazon ได้วางแผนสร้างศูนย์ปฏิบัติการและคลังสินค้าทั้งหมด 23 แห่ง ปัจจุบันมีรายงานว่าศูนย์ปฏิบัติการของ Amazon มีทั้งหมด 105 แห่ง และมีแผนที่จะสร้างอีก 35 แห่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ Amazon จะเลือกห้างสรรพสินค้าเก่าๆ ที่แดกิจการไปแล้ว เนรมิตเป็นศูนย์ปฏิบัติการและคลังสินค้าขนาดใหญ่ของตัวเอง

kk4

ภาพจาก goo.gl/Ex7sqy

ห้างสรรพสินค้า Randall Park Mall จะถือเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อไปยังห้างสรรพสินค้าต่างๆ หว่า 400 แห่ง ที่ได้ปิดตัวลงไปก่อนหน้านี้ โดยห้างสรรพสินค้าเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ Amazon

ปัจจัยที่ทำให้ Amazon เลือกซื้อห้างสรรพสินค้า Randall Park Mall อันดับแรก เพราะอยู่ให้ผู้คนมากกว่า 3 ล้านคน การที่เลือกที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้า จะช่วยลดต้นทุนการจัดส่งสินค้าของ Amazon ทำให้บริษัทสามารถส่งมอบคำสั่งซื้อที่ดีที่สุด ได้ภายใน 1-2 และตอนนี้สามารถส่งได้ใน 1 วัน หรือภายใน 1 ชั่วโมง

มาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านรู้หรือยังว่า ก้าวต่อไปของ Amazon จะไปทางไหนกันแน่ พูดให้เข้าใจง่ายขึ้น เราสามารถคิดได้ว่า Amazon กำลังจะกินรวบของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ รวมถึงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของโลก

kk3

ภาพจาก goo.gl/7Tov5q

Amazon ถือเป็นผู้ทำลาย และเป็นผู้สร้างในเวลาเดียวกัน เห็นได้จากห้างค้าปลีกอเมริกากว่า 400 แห่ง ต้องปิดกิจการ ปลดพนักงานจากการเกิดขึ้นของ Amazon ขณะเดียวกัน Amazon ได้สร้างงานมากกว่า 100,000 ตำแหน่งในสหรัฐอเมริกาในอีก 18 เดือนข้างหน้า ที่สำคัญห้างสรรพสินค้าเก่าๆ ที่ Amazon ทำลาย ก็จะได้รับการฟืนฟูขึ้นมาอีกครั้ง

เรื่องนี้สะท้อนถึงความจริงที่ว่า ร้านค้าปลีกอเมริกากว่า 400 แห่ง ต่างทยอยกันปิดสาขาลง แต่ทำไม Amazon สวนทางเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม ไม่ยอมที่จะพัฒนาปรับปรุงร้านของตนให้เข้ากับยุคสมัยดิจิตอล

ซึ่งแท้จริงแล้วพฤติกรรมของผู้บริโภคก็ยังคงอยาก shopping เดินตามห้างเช่นเดิม แต่ต้องเป็นร้านค้าที่ทันสมัยที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ผสมกับระบบร้านค้าออนไลน์เข้ามาแต่งเติมสีสัน มากกว่าเดินตามห้างแบบโบราณแบบดั้งเดิมนั่นเอง

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/ooKg8c

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช