แบรนด์เล็ก! เน้นตลาดใหญ่ โตไวหรือขัดขา

ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่สูง ถ้าเพิ่งเริ่มเข้าสู่สังเวียนธุรกิจ จะทำยังไงให้อยู่รอด? มีหลายปัจจัยที่พาให้ธุรกิจเล็ก สายป่านไม่ยาว อยู่ได้ไม่นานก็ต้องจากไป เช่น

  • 42 % สินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
  • 29-38% เงินทุนหมด
  • 23% มีปัญหาด้านบุคลากร / การบริหารไร้ประสิทธิภาพ
  • 20% สู้ในตลาดที่การแข่งขันดุเดือดไม่ได้

ถ้าดูให้ลึกไปอีกแบรนด์เล็กถ้าไม่แน่จริงโอกาสเจ๊งภายในปีแรกสูงกว่า 80% ถ้าอยู่รอดได้ถึง 5 ปีก็ยังมีโอกาสเจ๊งประมาณ 50% โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ไม่ใช่เพราะมีคู่แข่งเยอะ ไหนจะเรื่องต้นทุนการผลิต พฤติกรรมผู้บริโภคที่ทุกอย่างล้วนแต่มีผลต่อความอยู่รอด ถ้าบริหารจัดการไม่ดี ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง

แบรนด์เล็ก

ดังนั้นถ้าจะหาทางรอดของธุรกิจตัวเล็กมีงบการตลาดหรือทรัพยากรจำกัด การจับมือกับ “พันธมิตรธุรกิจ” เป็นวิธีสุดคุ้มที่ช่วยได้มากเพราะ

  • เพิ่มการเข้าถึงลูกค้าใหม่ โดยไม่ต้องสร้างฐานลูกค้าเอง
  • แบ่งต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าโฆษณา ค่าจัดอีเวนต์ หรือค่าพัฒนาสินค้า
  • เสริมภาพลักษณ์ ผ่านความน่าเชื่อถือของคู่ค้า
  • ขยายตลาดอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเครือข่ายของอีกฝ่าย

แบรนด์เล็ก

ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธีในการเลือกเป็นคู่ค้าที่นำไปใช้ได้จริง ได้แก่

  1. Co-Branding ออกสินค้า/แคมเปญร่วมกัน เช่น ร้านกาแฟเล็กๆ จับมือกับแบรนด์ขนมท้องถิ่น ช่วยเพิ่มยอดขาย
  2. Cross-Promotion โปรโมทกันและกัน เช่น แชร์ในโซเชียล มีส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าทั้งคู่ ยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้าเล็กจับมือกับร้านซักรีดท้องถิ่น แจกคูปองลดราคากัน เป็นต้น
  3. Event Partnership จัดงานร่วมกัน เช่น เวิร์กช็อป เปิดตัวสินค้า หรือคลาสทดลอง ตัวอย่าง เข่นร้านเซรามิกร่วมกับแบรนด์ชา จัดเวิร์กช็อป “ชาร้อนถ้วยสวย”
  4. Distribution Partner ฝากขายสินค้ากัน เช่น ขายสินค้าร่วมในพื้นที่ของอีกแบรนด์ ยกตัวอย่างแบรนด์สบู่แฮนด์เมดไปวางขายในโฮมสเตย์หรือคาเฟ่ที่มีลูกค้าเป้าหมายตรงกัน

หรือถ้าเอาให้ชัดเจนปัจจุบันเรามีร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven ซึ่งมีสาขามากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ พลังการขายย่อมไม่ธรรมดา ถ้าคิดตามหลักการนี้การร่วมเป็นคู่ค้ากับยักษ์ใหญ่แบบนี้ย่อมส่งผลดีมากกว่า

แต่ก็มีหลายกระแสที่ข้อมูลอาจไม่ชัดเจนนักว่าแบรนด์ใหญ่ๆเอง ก็หวังได้ประโยชน์จากแบรนด์เล็กที่เขามาพึ่งพา แรกๆ อาจให้ขายสินค้าได้ตามเงื่อนไข แต่อยู่ๆไปก็เริ่มพัฒนาสินค้ามาแข่งเมื่อเห็นว่าสินค้านั้นๆเริ่มติดตลาดและขายดี

แบรนด์เล็ก

เหมือนกรณีที่เคยพูดถึงกันในวงกว้างคือ ออมุกปลาผสมกุ้งตราซีพี ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสินค้าของ Happy Munchy ของผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งยังวางจำหน่ายอยู่ภายในร้านเดียวกัน ซึ่งถ้ามองในมุมของบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ไม่มีบทบัญญัติข้อใดที่ห้ามมิให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าที่มีรูปแบบคล้ายกับสินค้าอื่นออกมาวางจำหน่าย เว้นแต่ประเด็นด้านลิขสิทธิ์ที่อาจต้องว่ากันตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

บางทีในมุมของธุรกิจขนาดเล็กที่อาจจะมีการกระทบกระทั่งหรือเข้าใจไม่ตรงกันบ้าง แต่หากคิดในอีกมุมหนึ่ง การพึ่งพาแบรนด์ใหญ่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์เล็กโตไวได้เช่นกัน และก็มีตัวอย่างที่ชัดเจนกับหลายแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์การเป็นคู่ค้ากับ 7-Eleven แล้วเติบโตอย่างก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น

  • ShinSen น้ำส้มคั้นแท้ 100% เป็น SME รายแรกที่ได้วางขายน้ำส้มคั้นพาสเจอไรซ์ 100% ใน 7‑Eleven ยอดขายมากกว่า 10,000 ขวด/วัน
  • คุณเก๋ขนมหวาน ขนมไทยสไตล์ functional food มีสินค้ากว่า 14 SKU ใน 7-Eleven รายได้เฉลี่ย 40 ล้านบาท/เดือน
  • กล้วยหอมทองไร่ภักดี (เกษตรกรชุมชน) เริ่มส่งขายเพียง 900 ลูก/วัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 40,000 ลูก/วัน เป็นต้น

อย่างไรก็ดีการเลือกจะเป็นคู่ค้ากับแบรนด์ใหญ่ ต้องตรวจสอบว่าเป็นแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายคล้ายกัน สื่อสารเป้าหมายร่วมกันได้ชัดเจน เหนือสิ่งอื่นใดสินค้าก็ต้องมีคุณภาพ และต้องมีการบริหารจัดการที่ดีในมุมของตัวเอง รวมถึงการวางแผนในการขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด