เป็นเรื่อง! เปลี่ยนมือแฟรนไชส์ สลายปัญหาจริงมั้ย?

การเปลี่ยนมือเจ้าของร้านแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกรณีเจ้าของร้านเดิมไม่มีเวลาทำ เบื่อ หรือไปทำธุรกิจอื่น จึงเซ้งร้านต่อให้คนอื่น หรือกรณีเปิดร้านขยายกิจการแล้วขาดทุน เลยไม่ทำต่อ จึงขายร้านแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนรายอื่นๆ ถ้าถามว่า กรณีการเปลี่ยนมือคนบริหารร้านแฟรนไชส์เป็นคนใหม่ จะสลายปัญหาต่างๆ ได้จริงหรือไม่ ลองมาวิเคราะห์จากข้อมูลพร้อมๆ กันครับ

ยกตัวอย่าง…RD ขาย KFC ให้กลุ่มทุนอินเดีย

เปลี่ยนมือแฟรนไชส์

KFC ภายใต้การบริหารของ RD หนึ่งในแฟรนไชส์ KFC ประเทศไทย ช่วงปลายปี 2566 มีกระแสข่าว RD ติดต่อขายแฟรนไชส์ KFC ให้กับบริษัทกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากอินเดีย คือ Devyani International DMCC บริษัทในเครือ Devyani International Limited (DIL) มูลค่ากว่า 4,580 บาท เพื่อเข้ามาบริการกิจการ KFC ในประเทศไทยแทน RD

เนื่องจากมีประสบการณ์บริหารหน้าร้าน KFC ในประเทศอินเดีย, เนปาล และไนจีเรีย รวมกว่า 500 สาขา นอกจากนี้ยังทำธุรกิจร้านอาหาร QSR อื่น ๆ ในประเทศอินเดีย เช่น Pizza Hut และ Costa Coffee โดยหากรวมกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ในเครือจะมีสาขามากกว่า 1,350 แห่งทั่วโลก

ย้อนกลับไปช่วงที่ RD เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี KFC ในไทย ตอนนั้นมีสาขาจำนวน 127 แห่ง ปัจจุบันบริหารสาขาทั้งหมด 274 สาขา (ณ เดือนกันยายน 2566) มีพนักงานกว่า 4,500 คน โดยสาขา KFC ของ RD ส่วนใหญ่อยู่โซนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะเป็นดินแดนแห่ง “ไก่ทอด” แต่ ผลประกอบการ RD ขาดทุนมาตลอด

  • ปี 2561 ขาดทุน 93 ล้านบาท
  • ปี 2562 ขาดทุน 127 ล้านบาท
  • ปี 2563 ขาดทุน 281 ล้านบาท
  • ปี 2564 ขาดทุน 232 ล้านบาท
  • ปี 2565 ขาดทุน 37.4 ล้านบาท

การเปลี่ยนมือผู้บริหาร KFC จาก RD เป็น Devyani International DMCC กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากอินเดียว คาดว่า RD ต้องการพลิกฟื้นสถานการณ์ธุรกิจให้กลับมาแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ โดยอาศัยประสบการณ์ของกลุ่มทุนใหม่ในการบริหารร้าน KFC ในอินเดีย

อีกหนึ่งตัวอย่าง…PT ซื้อ Subway

เปลี่ยนมือแฟรนไชส์

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เจ้าของปั๊มน้ำมัน PT เข้าซื้อแฟรนไชส์ Subway แบรนด์รแซนด์วิชและสลัดชื่อดังจากอเมริกา มูลค่ากว่า 35 ล้านบาท หลังจาก Subway เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2546 มีการเปลี่ยนมือผู้บริหารแฟรนไชส์ไปแล้วหลายครั้ง พอมาถึงปี 2565 บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ก็ได้รับสิทธิ Master Franchise บริหารร้าน Subway ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว

หลังจาก PTG ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ในประเทศไทย ได้ตั้งเป้าหมายผลักดัน Subway ขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของตลาดฟาสต์ฟู้ด ที่มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาทในไทย ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งเป้าขยายสาขามากกว่า 500 แห่งภายใน 10 ปี จากปัจจุบันจำนวน 148 สาขา

จุดแข็งของ PTG คือมีจำนวนปั้มน้ำมัน PT กว่า 2,206 สาขาทั่วประเทศ ตั้งเป้าขยายปั้มน้ำมันเพิ่มเป็น 2,406 สาขาในปี 2570 อีกทั้งยังมีความได้เปรียบจากลูกค้าสมาชิก PT Max Card กว่า 21 ล้านคน เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูงสำหรับ Subway น่าจะเป็นโอกาสใหม่และท้าทายของ Subway ในการเปลี่ยนมือครั้งนี้อย่างแน่นอน

ตัวอย่างสุดท้าย…เซ้งร้านแฟรนไชส์ต่อกันเอง

เปลี่ยนมือแฟรนไชส์

บางรายขายดิบขายดี บางรายเซ้งมาแล้ว เจ้งไม่เป็นท่า เพราะจ่ายค่าเซ้งแพง ทำเลไม่ดีตามที่เจ้าของร้านเดิมประกาศเอาไว้ ไม่ได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานของแบรนด์แฟรนไชส์ เปิดไปแล้วทำรสชาติไม่ดี อาจเจ๊งได้ สุดท้ายลูกค้าเดิมอาจจะหายไป เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของร้านเดิม

สรุปก็คือ การเปลี่ยนมือแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารใหม่ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดกับร้านแฟรนไชส์เดิมได้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีเงินทุนหนาๆ มีประสบการณ์ในการทำแฟรนไชส์อยู่แล้ว น่าจะใช้จุดแข็งและศักยภาพของตัวเองยกระดับแบรนด์หรือสาขาแฟรนไชส์เดิมให้ดีและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้ ส่วนกรณีแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดกับแฟรนไชส์เล็กๆ ระบบไม่ได้มาตรฐานเท่าไหร่ โดยเฉพาะแฟรนไชส์สตรีทฟู้ด ที่ต้องใช้ฝีมือในการปรุงอาหาร แต่ละคนทำรสชาติไม่เหมือนกันแน่นอน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช