ล้างรถอัตโนมัติยังฮิต! ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด ธุรกิจสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน มีลูกค้าทั่วประเทศ
ธุรกิจคาร์แคร์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ขาขึ้น” ข้อมูลจากกรมการขนส่ง ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 ระบุว่า มีจำนวนรถยนต์ทั่วประเทศรวมทุกชนิดกว่า 42,414,027 คัน ดังนั้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงมีอัตราเติบโตได้มาก
อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมของคนไทยปรับเปลี่ยนไปด้วย ยุคนี้สิ่งที่ทุกคนต้องการคือความสะดวก รวดเร็ว บริการที่ดี ราคาไม่แพง คีย์เวิร์ดสำคัญเหล่านี้ควรนำมาตอบโจทย์ในการทำธุรกิจคาร์แคร์ ซึ่งดับเบิ้ล ยู บาย วิซาร์ด ถือเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับการลงทุนในยุคนี้มาก
ด้วยจุดเด่นคือเครื่องล้างรถอัตโนมัติที่ประหยัดเวลาได้มากขึ้น ประหยัดต้นทุนแรงงานได้มากขึ้น สามารถรับลูกค้าเพิ่มมากขึ้นได้ เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างรายได้แบบไร้ขีดจำกัด ที่สำคัญ ดับเบิ้ล ยู บาย วิซาร์ด มีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษาและพร้อมสนับสนุนผู้สนใจลงทุนเป็นอย่างดีด้วย
ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด ประสบการณ์ในธุรกิจยาวนานกว่า 26 ปี
สิ่งที่ทำให้คนลงทุนมั่นใจได้ในระดับหนึ่งคือประสบการณ์ของดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดที่ทีมายาวนานกว่า 26 ปี ก่อตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 2539 โดยเน้นการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลรักษารถยนต์ และบริหารศูนย์บริการมาตรฐานครบวงจร ที่ได้รับการรับรองระบบการบริหารคุณภาพมาตรฐานสากล 9001:2008 และ ISO 14001:2004 จากสถาบัน URS ประเทศ อังกฤษ ซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจว่าทำไมดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดจึงเป็นการลงทุนที่เหมาะกับยุคนี้ คือ
1.เครื่องล้างรถอัตโนมัติที่ล้างรถรวดเร็ว 1.30 นาที/คัน
เป็นรูปแบบของ Tunnel Car Wash หรืออุโมงค์ให้รถเคลื่อนที่เข้าไปแล้วมีโปรแกรมในการล้างรถ ข้อดีของระบบนี้คือประสิทธิภาพในการล้างประมาณ 1.30 นาที/คัน รับรถลูกค้าในชั่วโมงเร่งด่วน หรือสามารถรับลูกค้าต่อวันได้มากขึ้นดีกว่าการล้างรถแบบธรรมดาที่ใช้เวลาในการล้างสูงมาก แถมระบบล้างรถอัตโนมัติของดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดเป็นระบบที่คิดค้นมาอย่างดีมั่นใจในเรื่องความสะอาดและไม่ทำให้รถมีริ้วรอย
2.ลดต้นทุนค่าแรงงาน
การลงทุนติดตั้งเครื่องล้างรถอัตโนมัติประหยัดต้นทุนค่าบุคลากร ไม่ต้องจ้างพนักงานในการทำความสะอาดเยอะเหมือนคาร์แคร์ทั่วไปใช้พนักงานเพียง 1-2 คนก็บริหารจัดการได้ ซึ่งปัจจุบันปัญหาเรื่องแรงงานเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนเริ่มธุรกิจคาร์แคร์ไม่ได้ ดังนั้นการลงทุนกับดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด จึงหมดปัญหาในเรื่องนี้
3.มีกำไรจากการลงทุนได้มากขึ้น
เมื่อสามารถลดต้นทุนการบริหารจัดการได้ทั้งค่าแรง ค่าอุปกรณ์ต่างๆ และยังสามารถรับลูกค้าได้มากขึ้นทำให้มีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 100 คัน (ขึ้นอยู่กับทำเล) ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สูงมาก
4.ไม่มีเงินทุนก็มีบริการจัดหาสินเชื่อเพื่อการลงทุนให้
หลายคนที่เป็นกังวลว่าอยากลงทุนแต่ไม่มีเงินจะเริ่มต้น ทางดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด มีทีมงานคุณภาพในการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น
5.มีทำเลนำเสนอให้คนลงทุนที่สนใจ
เรื่องของทำเลเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดเน้นทำเลธุรกิจตามสถานีบริการน้ำมัน และย่านชุมชนต่างๆ คนที่สนใจสามารถนำเสนอทำเลที่ตัวเองต้องการได้ หรือสามารถเลือกทำเลที่ทางดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดมีอยู่แล้ว ทำให้เริ่มต้นธุรกิจได้สะดวกยิ่งกว่าเดิม
6.ทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา วางระบบบริหารจัดการให้พร้อม
ใครที่กังวลว่าไม่เคยมีประสบการณ์ไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อนดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดจัดทีมงานมืออาชีพคอยช่วยเหลือแนะนำขั้นตอนการลงทุนต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนเริ่มธุรกิจได้ รวมถึงมีการเทรนด์และฝึกอบรมวางระบบบริหารจัดการร้านให้อย่างมืออาชีพ แถมยังมีการส่งเสริมด้านการตลาดเป็นอย่างดีด้วย
7.ธุรกิจที่เพิ่มยอดขาย เพิ่มรายได้ให้กับคนที่มีธุรกิจอยู่แล้ว
คนสนใจลงทุนจำนวนไม่น้อยเลือกดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดเป็นออฟชั่นเพิ่มให้กับธุรกิจเช่นบางคนมีร้านกาแฟ ร้านอาหาร ก็เพิ่มคาร์แคร์ของดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดเข้าไปทำให้ธุรกิจมีความหลากหลายและดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้นเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้นด้วย
ลงทุนเริ่มต้น 2.99 ล้านบาท รายได้ขั้นต่ำเฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาท
แพคเกจลงทุนของดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด เริ่ม 2.9 ล้านบาท (ไม่รวมอาคาร) แต่ที่นิยมลงทุนมากที่สุดคือแบบ รวมอาคาร งบ 3.99 ล้านบาท แม้ใช้งบที่เยอะกว่าแต่คุ้มค่ากว่า รายได้เฉลี่ยข้อมูลจากคนที่ลงทุนระบุว่าประมาณ 400,000 – 500,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องทำเลเป็นสำคัญ) กำไรเฉลี่ยประมาณ 50% จากรายได้ เท่ากับกำไรต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 200,000 – 250,000 บาท ใช้เวลาในการคืนทุนประมาณ 3 ปี นั่นหมายความว่าการลงทุนกับดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดคือการสร้างธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตและสร้างรายได้ในระยะยาว เมื่อคืนทุนแล้วที่เหลือคือโอกาสในการสร้างกำไรที่มากขึ้นด้วย
ภาพจาก แฟรนไชส์ ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด
ปัจจุบันดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ดมีสาขาทั่วประเทศกว่า 52 แห่ง และมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ โดยในปี 2565 นี้ตั้งเป้าจะขยายสาขาเพิ่มอีก 20 แห่ง ซึ่งตลาดคาร์แคร์ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่ความต้องการของลูกค้าสูงมาก สิ่งสำคัญคือการพัฒนารูปแบบการบริการให้ลูกค้าประทับใจ ให้มีคุณภาพ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเติบโตและขยายสาขาและประสบความสำเร็จในการลงทุนได้อย่างที่ตั้งใจไว้
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด
โทร: 086-3402176 , 086-3402177 , 02-5388111
อีเมล์: danucha.s@wizardautocare.com
duangmanee@wizardautocare.com
เว็บไซต์: www.wizardgroup.com/th
Facebook: www.facebook.com/wizard.auto.care.club
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jNz3T9
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)