รวม 5 วิธีสร้างรายได้เพิ่ม! ไม่ต้องเป็นพ่อค้าแม่ค้า
การหารายได้เพิ่มคือโจทย์ใหญ่ที่หลายคิดอยากจะทำ และส่วนใหญ่ถ้าพูดถึง วิธีสร้างรายได้เพิ่ม ก็มักจะนึกถึงการเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าอาชีพดังกล่าวสร้างรายได้จริง แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่ามีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ถนัดเรื่องงานขาย แต่ยังมีฝันที่อยากสร้างรายได้เพิ่ม ก็แน่นอนว่ายังมีอีกหลายวิธีที่น่าสนใจให้เราสร้างรายได้เพิ่มโดยไม่ต้องเป็นพ่อค้าแม่ค้า ลองไปดูไอเดียเหล่านี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
ทำไมคนส่วนใหญ่ต้องการสร้างรายได้เพิ่ม?
เหตุผลสำคัญที่คนยุคนี้ต้องมองหารายได้เพิ่มอันเนื่องมาจากรายได้ไม่พอรายจ่าย แถมบางคนมีภาระหนี้สิน โดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า คนไทยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน 178,994 บาท แต่รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยกลับอยู่เพียง 26,946 บาท เท่านั้น และที่หลายคนมองว่าอยากมีอาชีพเสริมแต่ไม่อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าเพราะว่าคนส่วนใหญ่เช่นกันทำงานประจำส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน
ซึ่งกินเวลาถึง 1 ใน 3 ของแต่ละวัน ไหนจะบวกเรื่องการเดินทางขั้นต่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง ยิ่งตอกย้ำว่าการหารายได้จากอาชีพพ่อค้าแม่ค้าอาจไม่ใช่การลงทุนที่เหมาะสม หรือถ้าจะเลือกขายแค่เสาร์อาทิตย์ ก็มองว่าไม่คุ้มค่า เพราะบางทีการเช่าพื้นที่ขายถูกคิดราคาเป็นรายเดือนและหากขายได้ไม่เต็มที่ 1 เดือนมาขายได้แค่ เสาร์อาทิตย์รวมกันไม่เกิน 10 วัน ไหนจะโอกาสที่ลูกค้าจะรู้จักก็น้อย แถมยังต้องเสียค่าเช่าแบบรายเดือน ซึ่งอาจได้ไม่คุ้มเสีย ด้วยเหตุนี้การหารายได้เพิ่มที่เหมาะสมกับเวลาที่มี จึงเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการมาก
รวม 5 วิธีสร้างรายได้เพิ่ม! ไม่ต้องเป็นพ่อค้าแม่ค้า
การเลือกที่จะสร้างรายได้โดยไม่เป็นพ่อค้าแม่ค้า เราก็ต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่า เรามีเวลาแค่ไหน อะไรคือจุดเด่น จุดแข็งที่เราทำได้ แต่ขอบอกก่อนว่าไม่มีอาชีพหรือการลงทุนใดๆ ที่จะได้เงินมาง่าย ๆทุกอย่างต้องขยันและตั้งใจทำจริงเท่านั้น โดยเราจะแบ่งวิธีการหารายได้ตามศักยภาพที่มีดังนี้
1.การสร้างรายได้จากงานอดิเรก
ถ้าเราพบว่าตัวเองมีความชอบและใจรักในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้นำสิ่งนั้นมาต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ข้อดีของคนยุคนี้คือมีแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นตัวช่วยทำตลาดที่ดีมาก มีหลายอย่างที่เรียกว่าเป็นการสร้างรายได้จากงานอดิเรกเช่น
- การขายภาพบนอินเทอร์เนต ซึ่งมีค่าตอบแทนประมาณ 0.25 – 3 เหรียญ หรือประมาณ 10-100 บาท ก็ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของแต่ละเว็บไซต์ โดย 1 รูปภาพอาจลงขายได้หลายเว็บไซต์ด้วย
- ทำอาหารเดลิเวอรี่ คนมีใจรักในการทำอาหาร อาจใช้เวลาว่างในช่วงหยุดเสาร์อาทิตย์จัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ แต่มีข้อเสียเปรียบที่จะขายได้เฉพาะเสาร์อาทิตย์เท่านั้น จึงต้องโปรโมทให้ลูกค้าเข้าใจและยอมรับในส่วนนี้ได้ รายได้ของการขายอาหารก็ขึ้นอยู่กับประเภทอาหารของเราเป็นสำคัญด้วย
- รับจ้างถ่ายภาพตามงานต่างๆ สำหรับคนที่มีใจรักในการถ่ายภาพสามารถนำมาหารายได้ไม่ยาก แต่อาจติดปัญหาตรงที่ต้องรับงานให้ตรงกับหยุดเสาร์อาทิตย์ในกรณีที่ทำงานประจำ ซึ่งการรับจ้างภ่ายภาพก็มีหลายงานทั้งงานอีเว้นท์ งานทำบุญบ้าน รับปริญญา เป็นต้น
2.หารายได้จากโลกออนไลน์
ทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในโลกออนไลน์ดังนั้นคนที่มีเวลาน้อย มีงานประจำ วันว่างไม่เยอะ สิ่งที่เหมาะสมคือต้องไปหารายได้จากโลกออนไลน์ซึ่งก็มีด้วยกันหลายวิธีเช่น
- รับจ้างเขียนบทความ โดยมีหลายเว็บไซต์ที่รับคนเขียนคอนเทนต์ต่างๆ รายได้ก็ขึ้นอยู่กับกฏเกณฑ์ของแต่ละเว็บไซต์
- งานดูแลเพจ เพราะทุกวันนี้ธุรกิจแทบทุกแห่งต้องมีเพจของตัวเอง บางครั้งไม่อาจดูแลทั่วถึงจึงต้องจ้างคนที่จะมาดูแลเพจ มีหน้าที่ในการอัพเดทความเคลื่อนไหว ตอบคำถามลูกค้า เป็นต้น
- สร้างคอนเทนต์ใน Youtube ,TikTok
แม้จะเป็นวิธีการหารายได้ที่อาจไม่ได้เงินในทันทีและต้องใช้เวลาในการสร้างฐานคนติดตาม แต่ถ้าประสบความสำเร็จจะเป็นวิธีการสร้างรายได้ที่ดีมากๆ
3.สร้างรายได้จากงานฟรีแลนด์/พาร์ทไทม์
ถ้าบอกว่าเรามีงานประจำวันหยุดมีแค่เสาร์อาทิตย์ เป็นพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้แน่ แต่ถ้าอยากมีรายได้วิธีที่เหมาะสมก็คืองานฟรีแลนด์หรือทำงานพาร์ทไทม์ เช่น การเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ตามร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือการเป็นแคชเชียร์ชั่วคราวตามห้างสรรพสินค้าที่คิดอัตราค่าจ้างเป็นชั่วโมงตั้งแต่ 30 บาทขึ้นไป เป็นต้น
4.สร้างรายได้จากความสามารถที่มี
เป็นการสร้างรายได้เพิ่มที่น่าสนใจที่สุดโดยเอาความสามารถตัวเองมาเป็นจุดขาย และไม่กระทบกับงานประจำที่ทำอยู่ด้วย มีหลายงานที่น่าสนใจเช่น การเป็นติวเตอร์สอนภาษา สอนวิชาการความรู้ต่างๆ คิดค่าสอนเป็นรายชั่วโมง 300-500 บาท ถ้าวันหยุดเสาร์อาทิตย์มีนักเรียน 2 คน เรียนคนละ 2 ชั่วโมงอาจมีรายได้ประมาณ 3,000 – 4,000 บาทได้เลยนอกจากนี้ยังอาจใช้ความสามารถที่มีในการทำอย่างอื่น เช่นรับเขียนโปรแกรม รับซ่อมคอมพิวเตอร์ งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า , ซ่อมรถยนต์ เป็นต้น
5.ใช้ความขยันในการสร้างรายได้
ถ้าเราไม่มีความสามารถพิเศษอะไรเลย ไม่มีเวลาจะไปทำงานอื่นๆ หรือไม่มีทักษะในการหาเงินจากโลกออนไลน์ วิธีหารายได้ที่เหมาะสมที่สุดคือใช้ความขยันของตัวเองหาเงิน โดยใช้เวลาว่างที่มีทำทุกอย่างที่ได้เงิน เช่น รับจ้างขายของ , เฝ้าร้าน ,การเก็บของเก่าขาย , รับจ้างทำความสะอาด , รับจ้างเลี้ยงเด็ก เป็นต้น หรือถ้าเราพอมีพื้นที่บริเวณบ้านอาจปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ขาย วิธีการเหล่านี้ก็พอจะทำให้เรามีรายได้เพิ่มมากขึ้นได้
ทุกวันนี้การมีอาชีพเดียว มีรายได้ทางเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในขณะที่รายจ่ายทุกอย่างเพิ่มขึ้น การหารายได้ก็ควรจะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าถนัดและอยากทำอะไร เมื่อคิดได้ให้เริ่มลงมือทำในทันที อาจไม่ต้องเริ่มใหญ่โตแต่เริ่มจากเล็กๆ สะสมประสบการณ์ไม่แน่ว่าอาชีพที่เราเคยคิดว่าจะเป็นแค่รายได้เสริมอาจกลายเป็นรายได้หลักของเราในอนาคตด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Myiqnd , https://bit.ly/36SVEan , https://bit.ly/3xVkK3t
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3IPJAHj
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)