มหันตภัย “ศูนย์เหรียญ” พาธุรกิจไทยเจ๊งยับ
การรุกคืบของทุนจีนในไทย แม้ในแง่ดี จีนช่วยเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของไทย เกิดการจ้างงาน และรายได้ ถ้าดูจากรายงานและสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)
พบในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเรามี เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากจีนที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มูลค่าสูงถึง เกือบ 5 แสนล้านบาท ทำให้จีนกลายเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทุนเหล่านี้ถูกนำไปพัฒนาในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน โรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์
แต่อีกด้าน ต้องยอมรับว่า ธุรกิจจีนบางส่วน มีการใช้ระบบ “ทุนจีน-แรงงานจีน-ขายให้คนจีน” ทำให้เงินไม่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย อย่างที่ควรจะเป็น และสร้างผลกระทบทางสังคม และ ความเสี่ยงหลายด้าน นำมาสู่คำว่า “ศูนย์เหรียญ” ที่เชื่อว่าคุ้นหูคนไทยกันดี ถ้าให้ขยายความคำว่า มหันตภัย “ศูนย์เหรียญ” คือ การที่มาตั้งบริษัทในประเทศไทย
โดยมีชาวจีนถือหุ้น 49% อีก 51% ก็เอานอมินีคนไทยมาถือหุ้นส่วนหนึ่ง แล้วก็เอาบริษัทเครือข่ายที่จัดตั้ง มาถือหุ้นไขวัไปไขว้มา เพื่อให้บริษัทเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่ถ้าหากคำนวณการถือหุ้นทางอ้อมอย่างละเอียดแล้ว ก็จะพบว่าบริษัทดังกล่าว โดยพฤตินัยได้มีเจ้าของเป็นชาวจีนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จากนั้น ก็เอาบริษัทศูนย์เหรียญ มาทำธุรกรรมต่างๆ ในประเทศไทย โดยพยายามทำให้การรับรู้รายได้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริษัทแม่ที่ประเทศจีน แล้วก็บริหารให้บริษัทลูกที่เป็นบริษัทศูนย์เหรียญมีกำไรที่ต่ำมากๆ หรือขาดทุน
เพื่อให้กำไรส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทแม่ที่ประเทศจีน บริษัทลูกที่เป็นบริษัทศูนย์เหรียญ พอกำไรน้อยมากๆ หรือขาดทุนทางบัญชี ก็จะไม่ต้องเสียภาษีรายได้นิติบุคคลในประเทศไทย
โมเดล “ธุรกิจศูนย์เหรียญ” มีอะไรบ้าง
ทัวร์ศูนย์เหรียญ
คือการที่นักท่องเที่ยวจีนที่มาประเทศไทย จะซื้อโปรแกรมเที่ยวจากบริษัทในประเทศของตนเองในราคาถูกมากๆ ถึงขั้นต่ำกว่าต้นทุนจากนั้นบริษัทนำเที่ยวจีนจะส่งกลุ่มนักท่องเที่ยวมาให้กับบริษัทนำเที่ยวไทย โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเที่ยวใดๆ หรือที่เรียกว่า ‘ค่าทัวร์แฟร์’ (Tour Fare) แม้แต่เหรียญเดียว
ซึ่งบริษัทเครือข่ายลักษณะนี้จะหากำไรจากการพานักท่องเที่ยวไปซื้อสินค้าจากร้านค้าในเครือข่ายกันเองที่สูงเกินจริง ทำให้รายได้แทบไม่เข้าประเทศไทย เพราะแม้ว่านักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายในประเทศไทย แต่เงินส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้จ่ายกับร้านค้าพันธมิตร
การครอบครองอสังหาริมทรัพย์
ใช้คนไทยเป็นนอมินีซื้อคอนโดฯ แทน – ชาวต่างชาติอาจใช้ชื่อคนไทยที่เชื่อถือได้ หรือใช้เอเจนซี่ในการหาคนไทยเพื่อซื้อคอนโดฯ แทนตนเอง จากนั้นจะโอนเงินเข้าบัญชีของนอมินีเพื่อใช้ในการซื้อคอนโดฯ ซึ่งคนไทยที่เป็นนอมินีมักไม่ได้มีสิทธิ์ควบคุม เพียงแค่ถือกรรมสิทธิ์ในนามเท่านั้น
จัดตั้งบริษัทนิติบุคคล
โดยชาวต่างชาติบางรายอาจตั้งบริษัทไทย โดยให้คนไทยถือหุ้น 51% (ตามกฎหมาย) แต่ให้เป็นผู้ถือหุ้นนอมินีที่ไม่ได้มีอำนาจบริหารจริง ซึ่งบริษัทนั้นจะเป็นผู้ซื้อคอนโดฯ หรือที่ดินแทนชาวต่างชาติ
นิคมศูนย์เหรียญ
เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ควรจะเป็นของคนไทยแต่พื้นที่เหล่านี้กลับกลายเป็นของคนจีน และที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่าคือการจ้างงานส่วนใหญ่ใช้คนจีนที่ความจริงต้องใช้วีซ่าพิเศษถึงจะมีสิทธิ์ทำงานในเมืองไทย ซึ่งงานบางอย่างเป็นการใช้ทักษะที่สงวนไว้เพื่อคนไทย แต่กลับพบว่ามีกลุ่มคนจีนเข้ามาทำงานเหล่านี้ได้
ยึดพื้นที่ค้าขายส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าคนไทยเจ๊งยับ
โดยเฉพาะย่านที่มีชื่อเสียงอย่างบรรทัดทอง , สำเพ็ง , ประตูน้ำ ถือว่าได้รับผลกระทบหนักมาก การเข้ามาของพ่อค้าแม่ค้าคนจีนที่ปั่นราคาค่าเช่าในพื้นที่ให้สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้พ่อค้าแม่ค้าคนไทยสู้ราคาไม่ได้ ไหนจะเรื่องการขายตัดราคาเพราะคนจีนเหล่านี้มีต้นทุนสินค้าจากจีนที่ต่ำกว่า ประมาณการว่ายอดขายของพ่อค้าแม่ค้าคนไทยหายไปไม่ต่ำกว่า 40-70% ใครสายป่านไม่ยาวก็อยู่ไม่ไหวสุดท้ายก็ต้องปิดกิจการกันไปจำนวนมาก
ผู้รับเหมาศูนย์เหรียญ
คือการใช้วัสดุก่อสร้างเกือบแทบทั้งหมดนำเข้าจากประเทศจีน วิศวกรก็ใช้วิศวกรจีน ทั้งที่ความจริงอาชีพเหล่านี้แรงงานไทยก็มีศักยภาพแต่การเข้ามาของทุนจีนก็ส่งผลกระทบมาก
โรงงานศูนย์เหรียญ
เบื้องหน้าเอาเครื่องจักรมาผลิตพอเป็นพิธี แต่เบื้องหลังลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์จากบริษัทแม่ที่ประเทศจีน อาจไม่ได้มีการผลิตที่ชัดเจน หรือไม่เคยมีหน่วยงานไหนมาตรวจสอบจริงจัง เป็นแค่การตั้งโรงงานขึ้นมาเพื่อบังหน้าเท่านั้น
ความเสียหายของ มหันตภัย “ศูนย์เหรียญ” มีผลกระทบต่อ SMEs ไทยชัดเจน หลายธุรกิจที่สู้ไม่ไหวก็ต้องปิดตัวไป ไหนจะเรื่องแรงงานที่เข้ามาทดแทนคนไทย และอาจจะนับรวมไปถึงเรื่องของการฟอกเงิน หรือทุนจีนสีเทา ซึ่งทุกอย่างเป็นปัญหาที่หน่วยงานราชการจำเป็นต้องมาตรวจสอบและมีมาตรการแก้ไขรับมืออย่างชัดเจนก่อนที่มหันตภัยศูนย์เหรียญนี้จะหยั่งรากฝังลึกลงไปมากยิ่งกว่าเดิม
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)