ถอดสูตรบริหารแฟรนไชส์ by The Pizza Company

ถ้าถามว่า “ร้านพิซซ่า” ในประเทศไทย มีการแข่งขันกันสูงไหม? คำตอบคือ มีการแข่งขันกันสูงมาก มีร้านพิซซ่าเกิดขึ้นมากมาย ทั้งแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ รวมถึงร้านอาหารฟิวชั่นที่มีพิซซ่ามาให้คนไทยลิ้มลองกันมากขึ้น

ตลาดพิซซ่า เป็นหนึ่งในตลาดร้านอาหารประเภท Quick Service Restaurant หรือ QSR ที่มีมูลค่าประมาณ 10,000 – 11,000 ล้านบาท มีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 10% มีผู้เล่นที่เป็นเชนใหญ่อยู่ 3-4 ราย

ถอดสูตรบริหารแฟรนไชส์

นอกนั้นจะมีเป็นร้านพิซซ่าโฮมเมด โดยมีเบอร์ 1 ที่มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างจะทิ้งห่างคู่แข่งอย่าง “The Pizza Company” ในเครือไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 70%

ทำไม The Pizza Company ถึงยังสามารถคงความเป็นเบอร์ 1 ในใจผู้บริโภคเมืองไทยได้ตลอด แม้จะมีคู่แข่งมากหน้าหลายตาในตลาดเมืองไทย

เรื่องราวและกลยุทธ์ของความเป็นเบอร์ 1 ของ The Pizza Company คืออะไร

จุดเริ่มต้น The Pizza Company

ถอดสูตรบริหารแฟรนไชส์
ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

เดอะ พิซซ่า คอมปะนี (The Pizza Company) เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด “พิซซ่า” ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ชายที่มีชื่อว่า William E. Heinecke นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้มีสัญชาติไทย และเขายังเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิยักษ์ใหญ่ Minor International ปัจจุบัน The Pizza Company อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด

The Pizza Company เปิดตัวครั้งแรกในไทยปี 2544 หลังจากเครือไมเนอร์ฯ ถูกบริษัท Tricon Global Restauran เจ้าของแฟรนไชส์ Pizza Hut ยกเลิกสัญญาบริหารแฟรนไชส์ Pizza Hut ในประเทศไทยเมื่อปี 2542

จากการที่เครือไมเนอร์ฯ มีประสบการณ์บริหาร Pizza Hut ในไทยมายาวนาน ทำให้มีความเข้าใจคนไทย สามารถคิดสูตรพิซซ่าให้ถูกปากคนไทย ประกอบกับจำนวนสาขาของ The Pizza Company ที่มีเยอะอยู่แล้ว จากการที่เปลี่ยนร้าน Pizza Hut เดิม ทำให้เครือไมเนอร์ฯ ถือแต้มต่อในตลาดพิซซ่าเมืองไทย ทำให้ The Pizza Company สามารถเริ่มต้นจากจำนวนสาขาที่เยอะกว่า จากการที่มีร้านค้าเยอะกว่า ทำให้ The Pizza Company ตัดสินใจเปิดบริการเดลิเวอรี่ตั้งแต่วันแรกที่เปิดร้าน

ปัจจุบัน The Pizza Company มีจำนวนสาขา 564 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ไทย เวียดนาม กัมพูชา ยูเออี เมียนมาร์ ซาอุฯ ลาว บาห์เรน มัลดีฟ โดยเฉพาะในไทยมีสาขา 430 แห่ง แบ่งเป็นแฟรนไชส์ 50% บริษัทบริการเอง 50%

งบลงทุนแฟรนไชส์ The Pizza Company อยู่ที่ราวๆ 15 ล้านบาทต่อสาขา ระยะเวลาสัญญา 10 ปี

ถอดสูตรบริหารแฟรนไชส์
ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

กลยุทธ์ The Pizza Company

  1. The Pizza Company มีการเพิ่มเมนูใหม่ๆ ที่นอกจากเมนูพิซซ่าที่เป็นเมนูหลัก ยังมีการเพิ่มเมนูที่เป็น Non Pizza เข้ามามากขึ้น อาทิ สลัด และสเต็ก ยอดขายของเดอะพิซซ่าจะมีสัดส่วนที่มาจากเมนูพิซซ่า 75% และ Non Pizza 25%
  2. The Pizza Company มีการปรับกลยุทธ์ราคา ตั้งราคาให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย อย่างการลดราคาพิซซ่าถาดเล็กที่กินคนเดียวหรือ 2 คน ลงจากกว่า 100 บาท มาอยู่ที่ 99 บาท หรือถ้าเป็นเซตจะเริ่มต้นที่ 139 บาท ส่วนสลัดเริ่มต้นที่ 79 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เข้าถึงได้ง่าย
  3. The Pizza Company ปรับกลยุทธ์ครั้งสำคัญด้วยการลดเวลา การันตีการส่งลงจาก 30 นาที เหลือ 20 นาที ถือเป็นช่วงเวลาการส่งที่ยังทำให้ลูกค้าได้พิซซ่าที่ร้อนๆ เหมือนนั่งทานในร้าน เป็นการแก้ Pain Point ที่ลูกค้ามักจะกังวัลว่า หากสั่งดิลิเวอรี่จะได้พิซซ่าที่ไม่ร้อนเหมือนกับนั่งทานในร้าน
  4. The Pizza Company เน้นเรื่องแคมเปญซื้อ 1 แถม 1 ที่เป็นซิกเนเจอร์ จัดมาตลอด 23 ปีที่ผ่านมาแล้ว และยังมีการใช้พรีเซ็นเตอร์ด้วยการดึง “บิวกิ้น – พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล” พร้อมด้วย “พีพี – กฤษฏ์ อำนวยเดชกร” 2 นักแสดงและนักร้องชื่อดัง มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ร่วมกันเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์และขยายฐานกลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น
ถอดสูตรบริหารแฟรนไชส์
ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

ปัจจัยความสำเร็จหลักๆ ของ The Pizza Company มาจากกลยุทธ์แคมเปญการตลาดที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาเมนูใหม่ การขยายฐานกลุ่มลูกค้ารับประทานเดี่ยว และการนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษ ช่วยกระตุ้นยอดขายให้เติบโตเฉลี่ย 5% และจำนวนลูกค้าต่อวันเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ขณะที่ความถี่ในการใช้บริการเพิ่มจาก 2.5 ครั้งต่อเดือน เป็น 3.5 ครั้งต่อเดือน

ช่วงที่ The Pizza Company จัดโปรโมชั่น 99 บาท พบว่าลูกค้าซื้อเฉลี่ย 20 ถาด/คน เป็นโปรโมชันที่สร้าง Brand Awareness ได้เป็นอย่างดี คนไม่เคยกินพิซซ่าก็กิน คนไม่อยากกินพิซซ่าก็กลับมาซื้อ

ที่สำคัญก็คือ คนไทยกินพิซซ่าเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง แต่พอเกิดวิกฤตโควิด-19 คนกินพิซซ่าจาก 2 ครั้ง เป็น 4 ครั้ง

ดังนั้น ทุกครั้งที่มีวิกฤต The Pizza Company จะมองว่าเป็นโอกาส และต้องหาโอกาสนั้นให้เจอ

กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายแฟรนไชส์ The Pizza Company

ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

จะยึดหลักการบริหารแบบ 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว

  • เหลี่ยมบน คือ แฟรนไชส์ซอร์
  • เหลี่ยมซ้าย คือ แฟรนไชส์ซี หรือคนซื้อแฟรนไชส์
  • เหลี่ยมขวา คือ ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานหน้าร้าน

กรณีที่ The Pizza Company จะออกแคมเปญหรือจัดโปรโมชั่นทุกครั้ง จะมีการแจ้งให้กับสาขาแฟรนไชส์ทราบทุกครั้ง ทางผู้บริหาร The Pizza Company จะต้องเข้าไปพูดคุยกับทางแฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ทราบว่า “ทำแคมเปญอะไร” และทำแล้วจะได้อะไร เพราะมีบางครั้งมีแฟรนไชส์บางรายไม่อยากเข้าร่วมทำแคมเปญด้วย จึงต้องมีการพูดคุยกัน

ส่วนผู้จัดการร้าน และพนักงานในร้าน ก็จะต้องไปคุยให้เขารู้ว่า ต้องทำอย่างไร สั่งของอย่างไร เตรียมคนอย่างไร ดังนั้น ผู้ที่เป็นแฟรนไชส์ซอร์ จะต้องเข้าไปบริหารทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งแฟรนไชส์ซี และผู้จัดการร้าน

  • แฟรนไชส์ซี ต้องทำอะไร What
  • พนักงานในร้าน ต้องทำอย่างไร How

ผู้บริหาร The Pizza Company จะมีการประชุมกับผู้จัดการร้านทุกเดือน ส่วนแฟรนไชส์ซีทุก 2 สัปดาห์

ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

สมมติกรณี แฟรนไชส์ซีบางราย ไม่อยากร่วมโปรโมชัน ทางผู้บริหาร The Pizza Company จะมีการเชิญไปคุย เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ถ้าสาขาไหนทำโปรโมชันแล้วไม่ Success ต่อไปต้องมาคุยว่าทาง The Pizza Company จะให้อะไร

เมื่อแฟรนไชส์ซีรู้ และลงมือทำ ทำตามระบบ ทำการตลาด สุดท้ายไม่ดีขึ้น

ทางผู้บริหาร The Pizza Company จะให้ย้ายสถานที่ ถ้าสาขาไหนเปิดได้ไม่ถึง 1 ปี ก็อาจจะมีการนับสัญญาเริ่มใหม่ให้

แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว ในเมื่อย้ายสถานที่แล้ว แต่ไม่ดีขึ้น สุดท้าย..ก็ปิดไปเลย

ปี 2568 The Pizza Company เตรียมงบลงทุนไว้ 200 ล้านบาท พร้อมงบรีโนเวตอีก 100 ล้านบาท และงบโฆษณา 300 ล้านบาท โดย The Pizza Company ใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ Purchasing Volume หรือการสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอาหารที่ส่งมอบให้ลูกค้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช