เศรษฐกิจจีนชะลอตัว จนต้องเอาแฟรนไชส์ขายต่างประเทศ?
ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา จีนเคยเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เริ่มเผชิญกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น หนี้สินสะสมของภาคอสังหาริมทรัพย์ อัตราการบริโภคที่ไม่ฟื้นตัวตามคาด รวมถึงแรงกดดันจากภายนอก เช่น ความตึงเครียดทางการค้า และการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากในจีนต้องเร่งปรับตัว
หนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยม คือ การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และค้าปลีก เพราะมองเห็นโอกาสใหม่ในตลาดต่างประเทศที่ยังมีศักยภาพการเติบโตสูง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดในจีน
ปัจจัยหลักที่ทำให้ เศรษฐกิจจีนชะลอตัว
- ตลาดในประเทศอิ่มตัว
- เมืองใหญ่ๆ เต็มไปด้วยร้านค้าซ้ำๆ รูปแบบเดิม เช่น ชานม ร้านอาหารฟิวชัน
- การแข่งขันดุเดือด ทำให้ต้นทุนสูง กำไรลด
- ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง
- หลังโควิด คนจีนระวังเรื่องการเงินมากขึ้น
- ความเชื่อมั่นในอนาคตลดลง โดยเฉพาะปัญหาที่จะตามมาจากสงครามการค้าระหว่างประเทศ
- ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ลุกลาม
- บริษัทใหญ่ เช่น Evergrande และ Country Garden ล้มละลายหรือผิดนัดชำระหนี้ ทำให้หลายเมืองเล็กๆ ในจีนไม่มีการลงทุนใหม่ กระทบอัตราการจ้างงานและการใช้จ่ายของประชาชน
- ว่างงานสูง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
- คนรุ่นใหม่มีรายได้ไม่แน่นอน ในปี 2023 มีรายงานว่า อัตราว่างงานคนอายุ 16–24 ปีเกิน 20% ส่งผลให้กลุ่มนี้ ซึ่งเคยเป็นกำลังซื้อหลักในเมืองใหญ่ เริ่มใช้จ่ายน้อยลง
ทำไมธุรกิจจีนยังขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ?
- กระจายความเสี่ยงจากเศรษฐกิจภายใน เมื่อตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัวหรือไม่แน่นอน การออกไปหาตลาดใหม่จึงเป็นทางออก เช่น แบรนด์ชานมจีนขยายไปสหรัฐฯ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ตะวันออกกลาง
- แรงขับจากเงินทุนและเทคโนโลยี บริษัทจีนมีความพร้อมทั้งในด้านเงินลงทุน เทคโนโลยี และโครงสร้างการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ในต้นทุนต่ำ
- สร้างแบรนด์ระดับโลก (Global Branding) การขยายแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์จีนให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล โดยอาศัยต้นทุนวัตถุดิบต่ำ ขายสินค้าราคาถูก จับกลุ่มลูกค้าทั้งพรีเมียมและแมส
- ได้เปรียบเรื่อง Supply Chain และนวัตกรรม แบรนด์จีนสามารถออกแบบ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถขยายแฟรนไชส์ได้ไวและมีประสิทธิภาพ
มาดูกันว่าที่ผ่านมามีธุรกิจแฟรนไชส์จีน แบรนด์ไหนบ้าง บุกตลาดในประเทศไทยแล้ว
- Mixue (มี่เสวี่ย) มีมากกว่า 200 สาขาในไทย ถือเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก McDonald’s
- Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มีกว่า 150 สาขา
- Bing Chun (ปิงฉุน) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มี 14 สาขา
- CHA i ENJOY แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 1 สาขา
- JIAN CHA Tea เจี้ยนชา แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 11 สาขา
- Naixue ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
- Chagee ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
- ChaPanda ร้านชานม มี 2 สาขา
- ไหตี่เลา (Haidilao) เชนร้านหม้อไฟจีน มี 10 สาขา บริการลูกค้าที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างรอคิว ตั้งแต่ของว่าง ไอศกรีม ทำเล็บ
- ไก่ทอดเจิ้งซิน ร้านไก่ทอด สเต็ก บาร์บีคิว ไอศกรีม ราคาเริ่มต้น 15 บาท มี 4 สาขา
- ไก่ทอด Wallace ร้านไก่ทอดเสิร์ฟทั้งตัวพร้อมแฮมเบอร์เกอร์ มี 4 สาขา
สรุป เศรษฐกิจจีนอาจไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต อีกทั้งยังเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งภายในและภายนอก แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ยังมีบางอุตสาหกรรมเติบโต เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), เซมิคอนดักเตอร์, รถยนต์ไฟฟ้า (EV), เทคโนโลยีอวกาศ
ส่วนการที่แบรนด์จีนขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดีหรือแย่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการ “ปรับกลยุทธ์” เพื่อเติบโตในตลาดโลก กระจายความเสี่ยง และสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)