ย้อนอดีต เว้ยเฮ้ย ในไทย ใครเริ่มต้น วันนี้ไปไหน?

“เว้ยเฮ้ย” แม้เป็นคำอุทานแม้ดูไม่สภาพ แต่เป็นคำที่มี Brand Personality ชัดเจน แฝงด้วยความสนุก ขี้เล่น เข้าถึงง่าย ไม่ถือตัว แสดงความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ หรือชื่นชมบางสิ่งบางอย่างที่ “ปังมาก” เช่น ผลลัพธ์ดีงามเกินคาด ดูดีมาก หรือเว่อร์วังอลังการ

ถือเป็นคำที่มีเอกลักษณ์จดจำได้ง่าย จึงเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นชื่อแบรนด์ “ขนมปัง…เว้ยเฮ้ย” ที่กลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงปี 2552 – 2559 เป็นร้านชนมปังที่มีคนต่อคิวยาว จนบล็อกรีวิวและเว็บไซต์ท่องเที่ยวรวมถึงผู้ที่ใช้ในเว็บต่างๆ ยืนยันเป็นเสียงเดียวว่าร้านแต่ละสาขามีคนต่อคิวยาวจริง และขยายสาขาในกทม. ปริมณฑล รังสิต ปทุมธานี รวมกันเกือบ 50 สาขา

จุดเริ่มต้นของร้านขนมปัง…เว้ยเฮ้ย เป็นอย่างไร และมีกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจอย่างไร มาดูกัน

ปังเว้ยเฮ้ย

เว้ยเฮ้ย
ภาพจาก www.facebook.com/pungweiiheiiplus

แบรนด์ขนมปังไส้ทะลักกว่า 15 ไส้ มีจุดเริ่มต้นจากร้านขนมปังสูตรคุณพ่อของคุณแบงก์-ทนงศักดิ์ รุ้งวราห์รัตน์ เปิดขายตั้งแต่ปี 2535 ที่ห้างจัสโก้ ซอยเสนานิคม ในตอนนั้นยังไม่มีชื่อร้าน วางขายแบบธรรมดา ไม่ได้ทำตลาดแบบจริงจัง

แต่ผลตอบรับจากลูค้าสูงมาก ทำขายแทบไม่ทัน จนกระทั่งมาเจอวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ต้องปิดกิจการ หลังจากนั้นครอบครัวของคุณแบงก์หันไปเปิดร้านขายอาหารและผลไม้แทน

คุณแบงก์ เรียนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาทำอาชีพทนายความได้เพียง 1 ปี รู้สึกว่าไม่ใช่แนวทางของตัวเอง อยากสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยได้ปรึกษาหารือรกับคุณพ่อของเขา ก็ได้รับการสนับสนุนที่ดี

ในปี 2549 กิจการร้านขนมปังถูกพลิกฟื้นกลับมาอีกครั้ง โดยคุณแบงก์-ทนงศักดิ์ ได้ไปชวนเพื่อนสมัยเรียนด้วยกันมาเป็นหุ้นส่วน คือ คุณอ้น-วุฒิเลิศ และ คุณจ้อย-นรงฤทธิ์ โดยเปิดสาขาแรกที่เกษตร‑นวมินทร์ (ตอหม้อ 137–138)

เป็นทำเลที่เวลาขับรถผ่านจะมองเห็นร้านได้ชัดเจน แต่ในช่วงเดือนแรกของการเปิดร้าน ผลตอบรับยังไม่ดี ลูกค้าบางตา จนทั้ง 3 คนต้องหาวิธีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มาช่วย

เว้ยเฮ้ย
ภาพจาก www.facebook.com/pungweiiheiiplus

กลยุทธ์ช่วยขายของพวกเขาก็คือ จ้างพริตตี้สาวมาช่วยเชียร์ขาย เหมือนกับร้านอาหารที่มีพริตตี้เชียร์เบียร์ ผ่านไปราวๆ 6 เดือน ยอดขายขนมปังพอไปได้ แต่ลูกค้ายังรู้ยังไม่รู้จักร้านมากนัก เพราะไม่มีชื่อร้านในการดึงดูดลูกค้า หลังจากนั้นทั้งสามจึงคิดตั้งชื่อร้าน สั้นกระชับ จำง่าย ฟังดูกวนๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ…”ปังเว้ย…เฮ้ย”

หลังจากนั้นได้รับความนิยมจากลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ จึงขยายสาขาเพิ่มอีกหลายที่ไม่ว่าจะเป็น ห้าแยกวัชรพล ทาวน์อินทาวน์ รัชโยธิน หลักสี่ ลำลูกกา ฯลฯ ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมดราวๆ 50 สาขา

เว้ยเฮ้ย
ภาพจาก www.facebook.com/pungweiiheiiplus

ปังเว้ยเฮ้ยชูจุดเด่นขายขนมาปังราคาชิ้นละ 20 บาทเท่านั้นในช่วงแรกๆ ปัจจุบันมีการปรับราคาขึ้นเป็น 25 บาทต่อชิ้น มีให้เลือกมากกว่า 14 ไส้ อาทิ ไส้มะพร้าวอ่อน เบคอนมายองเนส หมูแดงเห็ดหอม สังขยา ฯลฯ แต่ละสาขาไม่มีที่นั่งทานในร้าน เป็นการให้ลูกค้าซื้อกลับ มีเตาอบหน้าร้าน ในแต่ละสาขาจะทำการอบขนมปังสดใหม่ทุกวัน

จากความสำเร็จของร้านขนมาปัง…เว้ยเฮ้ย ต่อมาได้มีเจ้าของกิจการร้านค้าต่างๆ ได้นำคำว่า “เว้ยเฮ้ย” เป็นชื่อร้านอีกมากมาย

เตี๋ยวเว้ยเฮ้ย (เตี๋ยวต้มยำ) – แพร่

ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำหมู สาขาอยู่ในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ตรงข้ามธนาคารกรุงไทย มีเอกลักษณืรสชาติกลมกล่อม กำลังดี ไม่ต้องปรุงเพิ่ม

แซนด์วิช เว้ย เฮ้ย (Sandwich Wei Hey) – สะพานสูง กทม.

แซนด์วิชโบราณไส้ไก่หยอง (ฮาลาล) ราคา 60 บาท ร้านอยู่ในเขตสะพานสูง กรุงเทพฯ และยังมีอีกหนึ่งสาขาที่สระแก้วแต่ไม่ใช่เจ้าของเดียวกัน

ภาพจาก www.facebook.com/coffeweihei

กาแฟเว้ยเฮ้ย (Lifestyle Coffee) – ปั๊ม PT กำแพงแสน นครปฐม

ร้านกาแฟในจังหวัดนครปฐม ที่มีเมนูหลากหลาย อาทิ คาปูชิโน ลาเต้ ชามะนาว ชาเขียวช็อก ยังมีกล้วยหอมทอด และอาหารจานเดียว เช่น สปาเกตตี้คาโบนาราขายด้วย ชูจุดเด่น กาแฟสดหอมกรุ่น แก้เดียวเอาอยู่

ครัวเว้ยเฮ้ย – สอยดาว จันทบุรี

ร้านอาหารพื้นบ้าน อาหารป่า ในจังหวัดจันทบุรี มีเมนูที่น่าลอง เช่น ไก่ต้มกระวาน, กระวานผัดเผ็ดไก่บ้าน, ส้มตำปูปลาร้า, เมี่ยงปลาทู ชูจุดเด่นบรรยากาศร้าน วิวธรรมชาติ อยู่บนดอย

e‑เย็นเว้ยเฮ้ย – หาดใหญ่ สงขลา

ร้านบิงซู ในจังหวัดสงขลา มีเมนูหลากหลาย อาทิ บิงซู (ช็อกโก้บานาน่า/สตรอเบอร์รี) ปังเย็น, ฮันนี่โทส, มาม่าชีส, น้ำผึ้งมะนาวโซดา ราคาเริ่มต้น 39 บาท บรรยากาศร้านเล็กๆ มีมุมถ่ายรูป ราคาสบายกระเป๋า

ภาพจาก www.facebook.com/Tumweiiheii.Phuket

ตำเว้ยเฮ้ย – ภูเก็ต

ร้านส้มตำริมน้ำ ย่านสามกองแถวตลาดนัดซิลวา จังหวัดภูเก็ต มีเมนูที่ต้องลองชชิม ตำแซลมอน ตำปลาร้าไข่เค็ม ไก่ย่าง ยำปลาดุก

ส้มตำเว้ยเฮ้ย – นาคนิสาว (ลาดพร้าว)

ร้านส้มตำย่านลลาดพร้าว มีเอกลักษณ์ “ส้มตำถาด” และอาหารอีสานรสแซ่บ อาทิ ส้มตำถาดซีฟู้ด, ตำโคตรมั่ว, ตำกุ้งพริก, ตำกุ้งสะดุ้งเม็ดกระถิน, ตำกุ้งสามดาว ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเมนูยำ, เมี่ยงหอยแครง, หอยหวานย่าง, คอหมูย่าง VIP, ต้มแซ่บ, ต้มซุปเปอร์, แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง และของทอดอย่าง ไก่ทอดสมุนไพร, ไส้กรอกอีสาน ฯลฯ ราคา 80-350 บาท

ภาพจาก https://bit.ly/4liL5hP

ร้านกุ้งเต้นเว้ยเฮ้ย – ลาดพร้าว 122

ร้านกุ้งเต้นย่านลาดพร้าว 122 สไตล์สตรีทฟู้ด มีเมนูไฮไลท์ คือ กุ้นเต้นสดใหม่ ราดด้วยน้ำยำปลาร้าสูตรเฉพาะ คลุกเคล้ากับเครื่องปรุงรสจัดจ้าน บรรยากาศร้านแนวสตรีทฟู้ดแบบเรียบง่าย ร้านเล็กๆ เน้นของสดๆ รสชาติยำถึงเครื่อง

ไก่ทอด เว้ยเฮ้ย – (ลาดพร้าว–จตุจักร)

ร้านขายไก่ทอดแนวสตรีทฟู้ด ย่านลาดพร้าว 41 เน้นเสิร์ฟไก่ทอด “กรอบนอก นุ่มใน” ในบรรยากาศริมทาง ทางร้านจะขายไก่ทอดจนกว่าไก่จะหมด

รสโบราณ กาแฟเว้ยเฮ้ย -พิษณุโลก

ร้านกาแฟโบราณ ในจังหวัดพิษณุโลก เสิร์ฟแบบ “กาแฟถัง” แก้วใหญ่ ราคาเริ่มต้น 25 บาท เมนูที่ได้รับความนิยม คือ ชามะนาว รสชาติเปรี้ยวสดชื่น และนมเย็นราคาที่เอื้อมถึง บรรยากาศร้านสไตล์ริมทาง เรียกง่าย

จะเห็นได้ว่าการที่เจ้าของกิจการร้านค้าต่างๆ ที่มีการตั้งชื่อร้านของตัวเองลงท้ายด้วย “เว้ยเฮ้ย” น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของร้าน “ขนมปังเว้ยเฮ้ย” ที่สร้างกระแสด้วยการตั้งชื่อแหวกแนว กวนๆ มีความเว่อร์ ดึงดูดให้ลูกค้ายืนต่อคิวยาวหน้าร้าน จนกลายเป็นกระแสได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คนจดจำง่าย ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังในยุคโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้คำว่า “เว้ยเฮ้ย” ที่เจ้าของธุรกิจนำมาตั้งเป็นชื่อร้านหรือชื่อสินค้า ดูเหมือนว่าจะมีพลังในแง่ของการสื่อสารทางด้านอารมณ์ มีความเป็นกันเอง โดนใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ อีกทั้งยังเป็นคำที่สะดุดตา แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและความปังของสินค้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช