Disrupt กับ Customer’s Pain Point

ใครๆก็ดูเจ็บปวดกันทั้งสิ้นในสถานการณ์แบบนี้ เจ็บมากปวดน้อยก็อยู่ที่การทำใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีเพียงใด

ผู้บริโภคเปลี่ยนและปรับตัวจากเดิมไปมาก ช่องว่างระหว่างวัยระหว่างชนชั้นถ่างกว้างออก เลือกเสพสื่อและข่าวสารที่ชอบแบบใครใคร่แบบไหนมีตอบสนองทุกรูปแบบทั้งในหรือนอกกระแส แตกย่อยเกินจะนับแต่ไม่เกินกว่าวิธีคิดของมนุษย์มากนักหากใครจะจับทางได้ก่อนแบบต้องไม่หวังครอบจักรวาลในทุกกลุ่มเหมือนแต่ก่อน ต้องตะล่อมของตัวกลุ่มเป้าหมายให้ชัดแบบไม่เดา

Disrupt

ขั้นตอนต่อไปคือกลุ่มเป้าหมายของคุณชอบประสบการณ์แบบไหน แฟรนไชส์ซอร์ต้องทำการบ้านสองชั้นทั้งกลุ่มผู้ซื้อแฟรนไชส์ และ กลุ่มผู้บริโภคสินค้าและบริการของแฟรนไชส์ซี ง่ายคือทำสองตลาดซึ่งตลาดผู้บริโภคจะลากแฟรนไชส์ซีมาเองหากขายและบริการดี ลึกไปกว่านั้นมีคำถามว่า

42

แล้วอะไรคือ KSF (Key Success Factors) ทุบโต๊ะแบบไม่แทงกั๊กว่า ประสบการณ์ผู้บริโภคต่อแบรนด์(Customer’s Journey toward Brand)นั้นๆหรือภาษาสมัยเรียกกันว่า Pain Point ของผู้บริโภค (จุดเจ็บปวดหรือปัญหาที่พบต่อการอุดหนุนแบรนด์นั้นๆอยู่ตรงไหน)

พูดแบบสรุปคือทำสินค้า บริการให้มีขบวนการที่ผู้บริโภคปะทะกับสินค้าหรือบริการของคุณให้ดีพอรับไหว เน้นว่าไม่ต้องดีที่สุด แต่ต้องทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจพอที่จะซื้อซ้ำ การเขียนของผมทำให้คุณงงหรือเปล่า ถ้าคุณงง แปลว่าผมสร้างpain point ให้กับคุณและคุณจะไม่อ่านข้อเขียน

40

ของผมอีก หรืออาจจะให้โอกาสอีกสัก 2-3 ครั้งจากนั้น พอ คือพอ เพราะมีทางเลือกอีกมากมาย แบบนี้เข้าใจ pain point หรือ Customer’s Journey หรือยังครับ Comment ได้เลยผมจะได้ปรับ

และหาก OKRs คือโมเดลที่คุณใช้ ตัว O ตัวใหญ่ๆในการดำเนินการตลาดของคุณต่อทั้งสองกลุ่มเป้าหมายนั่นคือสิ่งที่ผมเล่าให้ฟังในตอนนี้ครับ

โดย อ.วิสุทธิ์ ตันติตยาพงษ์

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/38rZlkM

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต