5 แนวคิดบริหารแฟรนไชส์ ไม่ต้องกลัวโดนก็อป

เชื่อว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์ อาจมีความกังวลอยู่บ้าง หลังจากที่ตัวเองสร้างแบรนด์แฟรนไชส์จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่อยู่มาวันหนึ่งก็มีคนผลิตสินค้าลอกเลียนแบบของตัวเอง

วางขายตามตลาดนัด หรือตามสถานที่ต่างๆ จึงส่งผลให้ไม่เป็นอันทำมาหากิน ไม่กล้าที่จะพัฒนาแฟรนไชส์ของตัวเองให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอแนวคิดในการบริหารแฟรนไชส์ โดยไม่ต้องกลัวว่าสินค้าของตัวเองจะโดนลอกเลียนแบบ มีอะไรที่น่าสนใจในการทำให้แฟรนไชส์ของเรา ยังคงแข็งแกร่ง ได้รับความนิยมอยู่เช่นเดิมครับ

1.กำหนดเป้าหมาย และโฟกัส

แนวคิดบริหารแฟรนไชส์

ปัจจุบันการนำพาแฟรนไชส์ไปข้างหน้า จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่ง หรือสภาพการแข่งขันไปได้เลย ยิ่งเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการ ก็มักจะหาลู่ทางด้วยการศึกษาคู่แข่งที่ทำมาก่อนแล้วเป็นส่วนใหญ่

ในตลาดที่คู่แข่งขันมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงมักเห็นการเลียนแบบกลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน การแข่งขันกันตัดราคา ฯลฯ ขณะที่ตลาดขนาดใหญ่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องการทุ่มตลาด เพื่อลดต้นทุน หรือการสร้าง Economy of Scale การทุ่มงบโฆษณา การคิดค้นบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ๆ

การลอกเลียนความคิดทางธุรกิจ จึงดูเหมือนเป็นเรื่องที่เห็นเป็นปกติในตลาดที่แข่งขันกันรุนแรง ไอเดียใหม่ๆ ทางการตลาดถูกก๊อบปี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโชคร้ายที่นวัตกรรมการตลาดเหล่านี้ ไม่ได้รับการปกป้องเหมือนทรัพย์สินทางปัญญาอื่น เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยากไม่เหมือนสินค้าและบริการ ที่พิสูจน์ถึงความเป็นเจ้าของความคิดที่แท้จริงได้ง่ายกว่า

สินทรัพย์ทางปัญญา ที่เป็นผลพวงจากการแข่งขันทางการตลาดพอจะปกป้องกันได้ มีเพียงแค่แบรนด์โลโก้ และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่ไม่สามารถละเมิดได้ แต่เรื่องอื่นดูจะเปิดช่องให้ลอกเลียนความคิดได้เต็มที่ โดยเฉพาะสินค้า

2.สินค้าลอกเลียน มักมีจุดจบไม่สวย

w2

การเป็นนักเลียนแบบมักมีจุดจบไม่สวยงามนัก เช่น การลดราคาตามคู่แข่ง สุดท้ายจะกลายเป็นสงครามราคาที่ไม่มีใครได้กำไร หรือจะเลียนแบบคู่แข่งด้วยการเปิดสาขาประกบไปทุกแห่ง

เช่น ชา 25 บาท มีหลากหลายแบรนด์มาก แต่ก็ไม่รู้ว่าแบรนด์ไหนเป็นที่นิยมของตลาด เพราะรสชาติเหมือนกันหมด สุดท้ายก็จะพากันไปไม่รอด

สุดท้ายย่อมเจอข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน เพราะแต่ละสาขาใช้เงินทุนไม่น้อย ยิ่งเป็นการเลียนแบบการตกแต่ง ต้องทุบของเก่าทิ้ง แล้วทำใหม่ให้สวยงามเหมือนคู่แข่งก็ต้องใช้เงินทุนมากขึ้น

3.การเลียนแบบมักทำให้ผู้ตามเสียเป้าหมาย

w3

การเลียนแบบจึงมักทำให้ผู้ตามต้องเสียเป้าหมาย ที่อาจเป็นจุดแข็งของตัวเองไปทีละน้อยๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะมัวทำตามคู่แข่ง สุดท้ายจะพบว่าตัวเองมีจุดอ่อนเต็มไปหมด

เจ้าของแฟรนไชส์หลายคนที่เริ่มเบื่อหน่ายกับการเลียนแบบ จึงเริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่ หันกลับมาที่พื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจ วางเป้าหมายของตัวเอง ซึ่งน่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า

4.เจ้าของแฟรนไชส์ที่ถูกลอกเลียน ไม่ควรท้อถอย

w4

สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ที่ถูกเลียนแบบ ต้องไม่ท้อถอย ต้องมองให้ออกว่า นวัตกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นมา อาจถูกเลียนแบบได้รวดเร็วก็จริง

แต่วิธีคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรม ที่จะต่อยอดเป็นสินค้าและบริการใหม่ๆ นั้น จะทำให้เรานำคู่แข่งอยู่เสมอ และไม่มีทางที่คู่แข่งหรือผู้ลอกเลียนจะเอาชนะเราได้

5.การวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ

w5

การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ถือเป็นการสร้างความได้เปรียบให้กับแบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพราะระหว่างที่คู่แข่งกำลังเลียนแบบสินค้าและบริการของเรานั้น

เราก็อาจใช้เวลาเดียวกันพัฒนาช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ ที่มีอัตราส่วนกำไรสูงกว่า หรือพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ออกมา จะยิ่งเพิ่มความได้เปรียบมากขึ้น

ผู้บริหารแบรนด์แฟรนไชส์ จึงเปรียบเสมือนนักโต้คลื่น ต้องเล็งหาคลื่นใหม่ๆ เพื่อขึ้นไปเล่นสนุกบนยอดคลื่นให้ได้อยู่เสมอ ยอดคลื่นลูกใหม่ คือ ความแตกต่างของสินค้าและบริการ ที่มักมีช่องว่างให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ

แต่ปัจจัยการคิดเพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ให้ตัวเองได้เป็นผู้นำตลาดนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายมากนักในยุคปัจจุบัน แต่ขอเพียงแค่ผู้บริหารแบรนไชส์ ต้องรู้จักการวางเป้าหมายธุรกิจ แล้วโฟกัสไปที่เป้าหมาย และจุดแข็งของตัวเอง ก็น่าจะได้เปรียบได้

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/aSjuYn


Franchise Tips

  1. กำหนดเป้าหมาย และโฟกัส
  2. สินค้าลอกเลียน มักมีจุดจบไม่สวย
  3. การเลียนแบบมักทำให้ผู้ตามเสียเป้าหมาย
  4. เจ้าของแฟรนไชส์ที่ถูกลอกเลียน ไม่ควรท้อถอย
  5. การวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช