ช้อปดีมีคืน VS คนละครึ่ง แบบไหนเหมาะกับตัวคุณ

เริ่มแล้วทั้ง 2 โครงการของรัฐบาล “ช้อปดีมีคืน และ คนละครึ่ง” ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยโครงการ “ช้อปดีมีคืน” หักลดหย่อนภาษีค่าซื้อสินค้าหรือบริการสูงสุด 30,000 บาท

แต่ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการคนละครึ่ง หรือ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนโครงการ “คนละครึ่ง” จะได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลช่วยจ่ายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม คนละ 3,000 บาท ไม่เกิน 150บาท/วัน แต่ผู้รับสิทธิ์ต้องโอนเงินเข้าระบบด้วยเช่นกัน

หากถามว่าทั้ง 2 โครงการ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ภาพรวมของแต่ละโครงการให้ทราบ โครงการไหนเหมาะตัวคุณมากที่สุด รวมถึงคุณเหมาะกับแฟรนไชส์แบบไหนด้วย

เปรียบเทียบโครงการ “ช้อปดีมีคืน VS คนละครึ่ง” (1 คนเลือกใช้ได้เพียงโครงการเดียวเท่านั้น)

ช้อปดีมีคืน

6

ภาพจาก bit.ly/2TuFhX8

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้เสียภาษีปี 2563 ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ เพียงขอใบกำกับภาษีจากร้านค้าที่ซื้อของเท่านั้น ซึ่งผู้รับสิทธิสามารถนำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 30,000 บาท รวมถึงสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าโอท็อป และหนังสือ ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ลอตเตอรี่ น้ำมัน ค่าที่พัก ตัวเครื่องบิน เป็นต้น

ส่วนระยะเวลาการใช้จ่าย เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.-31 ธ.ค. 2563 ซึ่งโครงการนี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท/ปี สามารถซื้อของในห้างที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีแผนซื้อของมูลค่าสูงปลายปี 2563

สำหรับตัวอย่างสำหรับโครงการช้อปดีมีคืน กรณีที่บุคคลนั้นๆ มีรายได้ต่อปีเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะได้รับเงินคืนภาษี กี่บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท

  • เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท (อัตราภาษี 20%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป (อัตราภาษี 35%) หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

สรุปก็คือ โครงการช้อปดีมีคืนนั้น จะเหมาะสำหรับบุคคลที่มีรายได้สุทธิต่อปี 150,000 บาทขึ้นไป ซึ่งถือเป็นบุคคลที่จะต้องเสียภาษีประจำปี ส่วนบุคคลที่มีรายได้สุทธิต่ำกว่า 150,000 จะไม่เหมาะกับโครงการนี้ เพราะไม่ต้องเสียภาษีประจำปีอยู่แล้ว

คนละครึ่ง

5

ภาพจาก www.คนละครึ่ง.com

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (จำนวน 10 ล้านคน หรือจนกว่าสิทธิจะหมด) สามารถลงทะเบียนผ่าน www.คนละครึ่ง.com

ส่วนสิทธิประโยชน์ รัฐบาลจะช่วยจ่ายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม คนละ 3,000 บาทไม่เกิน 150บาท/วัน สามารถสินค้าอาหาร เครื่องดื่มกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ ล็อตเตอรี่ และบริการ

ระยะเวลาการใช้จ่าย 23 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2563 ซึ่งโครงการนี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี คือต่ำกว่า 150,000 บาท/ปี สามารถซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็ก ตลาด โชห่วย และมีมูลค่าลดหย่อนภาษีในส่วนอื่นๆ อยู่แล้วทำให้ไม่ต้องเสียภาษี

สำหรับโครงการ “คนละครึ่ง” เหมาะกับคนที่เป็นระดับรากหญ้า และบุคคลไม่ได้มีภาระการจ่ายภาษีสูงๆ เรียกได้ว่าเป็นคนธรรมดา หรือแรงงานทั่วๆ ไป เพราะรัฐบาลมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน และช่วยเหลือร้านค้ารายย่อย หาบเร่แผงลอย และกิจการพวกร้านอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าทั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้าสะดวกซื้อประเภทแฟรนไชส์ (อาทิเช่น 7-11, Family Mart, Lawson เป็นต้น)

4

ภาพจาก www.คนละครึ่ง.com

ทั้งนี้ โครงการนี้มีข้อเสียตรงที่คนสูงวัยไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟน จึงไม่สามารถเข้าถึงโครงการดังกล่าได้มากนัก โดยหลังจากที่ผู้มีสิทธิ์ได้ลงทะเบียนแล้ว ทางภาครัฐจะช่วยจ่ายเงิน 50% และ ผู้มีสิทธิออกเงินเอง 50% โดยรัฐจะช่วยออกให้ไม่เกิน 150 บาท / วัน หรือตลอดโครงการไม่เกิน 3,000 บาท

โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องจ่ายครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าเองผ่านทาง G Wallet ใน Application เป๋าตัง และใช้กับร้านที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ตรงจุดนี้ทำให้หลายคนไม่สะดวก ล้มเลิกความตั้งใจในการลงทะเบียนไปเพราะต้องเอาเงินไปเข้าระบบก่อน

คุณเหมาะกับแฟรนไชส์แบบไหน?

3

เราได้เห็นแล้วว่า โครงการ “ช้อปดีมีคืน และ คนละครึ่ง” มีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน และเหมาะสำหรับกลุ่มคนแต่ละกลุ่มด้วย โดยโครงการ “ช้อปดีมีคืน” เหมาะกับคนที่มีเงินได้สุทธิต่อปีเกิน 150,000 บาทขึ้นไป (เสียภาษี) และมีเงินใช้จ่ายจำนวนมาก

ส่วนโครงการ “คนละครึ่ง” เหมาะกับคนทำงานทั่วไป แรงงาน พนักงานโรงงาน ประชาชน ที่ไม่ต้องเสียภาษี รัฐบาลออกค่าใช้จ่ายให้ไม่เกินวันละ 150 บาท สมทบกับเงินตัวเองอีกครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าที่ซื้อ หากราคาสินค้า 300 บาท ก็ต้องออกอีก 150 บาท

2

สำหรับทั้ง 2 โครงการดังกล่าว หากนำมาเปรียบเทียบกับธุรกิจแฟรนไชส์ ก็จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมลงทุนในปัจจุบันจะมี 2 รูปแบบ

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ (Product Franchise หรือ สร้างอาชีพ) และ แฟรนไชส์ลงทุนสูง (Business Format Franchise) โดยแฟรนไชส์ลงทุนต่ำจะเหมาะสำหรับคนธรรมดาทั่วไปที่อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้เสริมแต่มีเงินลงทุนไม่เยอะ เปิดร้านได้เร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซื้อเพียงแค่วัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์

1

ส่วนแฟรนไชส์ลงทุนสูงจะเหมาะกับคนที่มีเงินทุนหรือเงินเก็บจำนวนมาก อยากสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต อาจจะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ ซึ่งผู้ลงทุนนอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าแล้ว ยังต้องเสียค่าการตลาด และค่าสิทธิรายเดือนด้วย แต่แฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนสูงจะค่อนมีระบบที่เป็นมาตรฐาน มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

การซื้อแฟรนไชส์ก็เหมือนกับการสมัครโครงการ “ช้อปดีมีคืน และ คนละครึ่ง” ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่า แบบไหนมีประโยชน์ แบบไหนคุ้มค่า แบบไหนเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/3ju0iMo , https://bit.ly/3oy0f5M

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2HJlMYO

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช