Update ล่าสุด! อยากเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon ลงทุนเท่าไหร่

หากพูดถึงแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Café Amazon เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นร้านกาแฟอันดับ 1 ของเมืองไทย อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ปัจจุบันมีสาขารวมกันมากกว่า 4,120 สาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเปิดให้บริการสาขาแรกเมื่อปี 2545 ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. (ปัจจุบันคือสถานีบริการ PTT Station) ศรีเจริญภัณฑ์ วิภาวดีรังสิต และขยายเพิ่มขึ้นอีก 11 สาขาในปีเดียวกัน

รู้หรือไม่ว่า ในช่วงที่ผ่านมาแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Café Amazon สามารถทำยอดขายทุกสาขาทั้งในและต่างประเทศรวมกันสูงถึง 99.3 ล้านแก้วภายในระยะเวลา 92 วัน หรือ 3 เดือน (ไตรมาส 3 ปี 2565) และรู้หรือไม่ว่าแฟรนไชส์ร้านกาแฟ Café Amazon ในประเทศไทยมีคนสนใจยื่นใบสมัครแฟรนไชส์เข้าไปให้ OR พิจารณาประมาณ 400-500 .รายต่อเดือน

สำหรับใครอยากจะสมัครแฟรนไชส์ Café Amazon วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลการลงทุนตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับการเปิดร้านกาแฟ Café Amazon จำนวน 1 สาขามาให้พิจารณาครับ

เงื่อนไขการสมัครแฟรนไชส์ Café Amazon

Cafe Amazon

ผู้สมัครตกลงปฏิบัติตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสมัคร ดังต่อไปนี้

  1. ผู้สมัครที่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ ต้องจดทะเบียนในนามนิติบุคคลเท่านั้น
  2. ขนาดพื้นที่ที่เสนอพิจารณา ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร และต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน
  3. การพิจารณาพื้นที่ จะพิจารณาตามลำดับ ก่อน-หลัง ที่มีการยื่นเข้ามา แต่ทั้งนี้ OR สามารถพิจารณานำใบสมัครพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงมาพิจารณาก่อนตามที่เห็นสมควร
  4. ในกรณีพื้นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน OR จะพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นลำดับแรก โดยไม่พิจารณาลำดับคิวและหากพื้นที่นั้นมีผู้สมัครเข้ามาเกิน 1 ท่าน OR จะพิจารณาตามลำดับ ก่อน-หลัง ที่มีการยื่นเข้ามาหรือได้รับสิทธิ์การเข้าใช้พื้นที่จากเจ้าของพื้นที่
  5. พื้นที่ที่เสนอพิจารณา ต้องแนบแปลน (Lay Out) ภาพถ่าย พร้อมระบุตำแหน่งที่ตั้ง ระบุละติจูด ลองจิจูด ให้ชัดเจนและถูกต้อง กรณีพื้นที่ที่เสนออยู่ในโครงการ หรืออาคาร หากอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง รวมถึงต้องมีความคืบหน้าที่ชัดเจนของโครงการหรืออาคารและต้องเปิดดำเนินการได้ภายใน 1 ปี
  6. พื้นที่ที่เสนอพิจารณาต้องมีระยะห่างจากร้าน Cafe Amazon ที่เปิดดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว หรือได้รับสิทธิ์เปิดร้านแล้วแต่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ตามเงื่อนไขที่ OR กำหนด
  7. กรณีผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการร้านที่เปิดดำเนินการร้าน Cafe Amazon อยู่ก่อนแล้ว OR จะทำการพิจารณาคะแนน audit ร้านค้าเพิ่มเติม โดยคะแนน audit ย้อนหลัง 3 เดือนของทุกสาขาต้องไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน
  8. ในกรณีผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินการร้าน Cafe Amazon ในพื้นที่นั้นๆ อยู่ก่อนแล้ว และต้องการเพิ่มสาขาในบริเวณเดียวกัน OR สามารถนำใบสมัครมาพิจารณาโดยไม่ต้องพิจารณาตามลำดับคิว
  9. พื้นที่ที่เสนอพิจารณาต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีและค่าเช่าที่เหมาะสม โดย OR จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
  10. หากมีกรณีนอกเหนือหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น OR ขอสงวนสิทธิ์ ให้มติของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  11. ระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่ประมาณ 66 วันทำการ
  12. ระยะเวลาสัญญา 6 ปี ปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่มีนโยบายเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสัญญา
  13. ระยะเวลาในการอบรม 9 วัน ที่ศูนย์ธุรกิจ Cafe Amazon หรือ Amazon Inspiring Campus (AICA) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
  14. ผู้ได้รับสิทธิ์สามารถเข้าอบรมได้ 2 ท่าน คือ เจ้าของร้าน และผู้จัดการร้าน ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าดำเนินการก่อนเปิดร้านแล้ว หากมากกว่า 2 ท่าน อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

งบการลงทุนแฟรนไชส์ Café Amazon

1.ร้านในอาคาร (Shop) 40 ตารางเมตรขึ้นไป

Cafe Amazon

 

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,200,000 – 2,500,000 บาท
  • ค่าออกแบบ 60,000 บาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • หลักประกันสัญญาแฟรนไชส์ 100,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่ ค่า On the Job Training .
  • ค่าสำรวจพื้นที่ 85,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3%ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) ประมาณ 2,349,000 – 3,709,000 บาท

2.ร้านนอกอาคาร (Stand Alone) 100 – 200 ตารางเมตร (รวมสวนหย่อม)

79

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,200,000 – 3,000,000 บาท
  • ค่าออกแบบ 60,000 บาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • หลักประกันสัญญาแฟรนไชส์ 100,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่ ค่า On the Job Training
  • ค่าสำรวจพื้นที่ 85,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3% ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) 2,649,000 – 4,209,000 บาท

Cafe Amazon

รู้หรือไม่ว่าในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 จำนวนร้านแฟรนไชส์กาแฟ Café Amazon ในประเทศไทยและต่างประเทศรวมกันกว่า 4,120 สาขา โดยเป็นสาขาในต่างประเทศจำนวน 355 สาขา ที่สำคัญร้านแฟรนไชส์ Café Amazon ถือเป็นเชนร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 12 ของโลกในแง่ของรายได้ร้านกาแฟ

ปัจจุบันร้าน Café Amazon เปิดให้บริการทั้งในประเทศไทยและอีก 11 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เวียดนาม โอมาน สิงคโปร์ และซาอุดิอาระเบีย วางเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น Global Brand ต่อไป ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

สมัครแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3ExkWc7

ส่งข้อมูลสอบถามอีเมล์ franchiseamazon@pttor.com หรือ โทร. 02-196-6444


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3THGR4B , https://bit.ly/3UB2hSw

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ANJlYX

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช