Shoppertainment เทรนด์มาแรง ในปี 2023-2025 รู้ก่อนรวยกว่า!

เมื่อเราเข้าสู่โลกออนไลน์เต็มรูปแบบ การค้าขายเองก็ต้องพัฒนาให้ก้าวตามเช่นกัน ลำพังแค่การโพสต์ขายก็ดูจะธรรมดาเกินไป กระแสที่มาแรงมากคือ Shoppertainment ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างคำว่า Shopping + Entertainment ซึ่งการขายในรูปแบบนี้คาดการณ์ว่าในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับประเทศไทย Shoppertainment เทรนด์มาแรง มีโอกาสเติบโตสูงถึง 54% และมีมูลค่าสูงขึ้นจาก 3.4 พันล้านเป็น 12 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงไม่พลาดที่จะนำเสนอข้อมูลการขายที่เป็นเทรนด์มาแรงนี้ให้ทุกคนได้ศึกษาและนำไปปรับใช้กับการขายออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

หลักการของ “Shoppertainment” ที่เราควรรู้?

Shoppertainment เทรนด์มาแรง

ภาพจาก https://bit.ly/3Wmfr69

หลักการของ Shoppertainment คือการสร้างอรรถรสและความบันเทิงให้กับลูกค้าระหว่างการชมไลฟ์สด ไม่ต่างจากการให้ผู้ชมได้รู้สึกเพลิดเพลินไม่คิดว่านี่คือการขายของ ซึ่งวิธีการนี้อาจไม่ใช่รูปแบบใหม่ที่เพิ่งคิดค้น แต่เป็นวิธีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจนสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่มากขึ้น

ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น COCO Game Center pop-up store ของแบรนด์ดังอย่าง Chanel Beauty ที่นำแนวคิด Game Center มาใช้ให้ลูกค้าได้ลองสินค้า เติมความสวยก่อนเล่นเกม หรือลุ้นไปกับตู้คีบสกินแคร์ ที่เป็นการสร้างบรรยากาศให้ลูกค้าได้เพลินกับสินค้าและกิจกรรมไปพร้อมกันได้อย่างกลมกลืน

13

ภาพจาก https://bit.ly/3Wmfr69

และถ้ายังไม่ชัดเจนให้นึกถึงภาพการไลฟ์สดสุดฮาของ บังฮาซัน เจ้าของเพจอาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล ที่แจ้งเกิดจากลีลาการขายผ่านไลฟ์ที่เป็นกันเอง สนุก และน่าติดตาม เฮฮาไปกับลูกค้าสร้างบรรยากาศการขายเหมือนนำตลาดปลามาอยู่ตรงหน้า เพิ่มสีสันให้กับการช็อปได้ดีและคนดูก็อยากติดตามแบบไม่น่าเบื่อ เป็นต้น

ทำไม Shoppertainment ถึงคาดว่าเป็นเทรนด์แรงในตลาดออนไลน์

12

ภาพจาก https://bit.ly/3Py8vRt

ถ้าเราอยากขายสินค้าให้คนสนใจต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือพฤติกรรมของลูกค้ายุคนี้ ซึ่ง ข้อมูลระบุว่า 85% ของผู้บริโภคมีการสลับการใช้แอปพลิเคชันไปมาส่งผลให้ความสนใจ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคช้าลง รวมถึงการโฆษณาที่มากเกินไปก็ไม่อาจทำให้ยอดขายดีขึ้นในทางตรงข้ามอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกเบื่อมากขึ้นด้วย เพราะ 31% ผู้บริโภครู้สึกเบื่อโฆษณา และ 23% บอกว่าโฆษณาทำให้อารมณ์ที่กำลังเพลิดเพลินสะดุด

ตรงนี้จึงเป็น “จุดขาย” Shoppertainment เข้ามาครองใจลูกค้าได้เพราะการทำ คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาบันเทิง จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจแบรนด์ และสินค้ามากขึ้น ไม่ว่าการเข้ามาดูคอนเทนต์นั้น จะตั้งใจซื้อสินค้า หรือไม่ได้ตั้งใจจะซื้อก็ตาม

แต่ถ้าคอนเทนต์ความบันเทิงนั้น โดนใจผู้บริโภค ก็สามารถเปลี่ยนใจให้ซื้อสินค้าในที่สุด และกลายเป็นลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายแบรนด์ที่นำวิธีการนี้มาใช้ เช่น “See now, Buy Now” technology ของ LazLive ที่นอกจากการแชทคุยกันได้แบบเรียลไทม์แล้ว ผู้ชมยังสามารถกดตะกร้าช้อปสินค้าที่เห็นได้เลยทันที

โดย Top 5 กลุ่มสินค้าขายดีจากการขายรูปแบบ Shoppertainment ในตลาดไทยคือ

  1. แฟชั่น และเครื่องประดับ
  2. ผลิตภัณฑ์ความงาม และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล
  3. อาหารและเครื่องดื่ม
  4. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  5. เครื่องใช้ในครัวเรือน

สำหรับ Shoppertainment ในประเทศไทย กำลังเติบโตมากวิธีการนี้มาแรงขนาดที่ว่าเป็นกลยุทธ์หลักในการขายออนไลน์โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 55% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด และตัวเลขระบุว่า ประมาณ 40-60% ได้รับอิทธิพลการซื้อจากคอนเทนต์วิดีโอที่สอดแทรกความบันเทิง และแน่นอนว่าในปี 2022 ต่อเนื่องไปวิธีการนี้จะยิ่งน่าสนใจมากขึ้นจนกว่าจะมีการขายในรูปแบบใหม่ที่อาจมาจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาแทนที่

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Yhkir6 , https://bit.ly/3YgSjYD , https://bit.ly/3FNTiIy

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jcBn5E


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต