Pain Point แฟรนไชส์ซอร์ ปฏิบัติต่อ แฟรนไชส์ซี

แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมใน ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การค้าแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้กำหนดให้แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติต่อแฟรนไชส์ซี เพื่อความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดต้องมีโทษปรับ 10% ของยอดขาย

แต่ถ้าพูดถึง PainPoint แฟรนไชส์ซอร์ หรือ จุดเจ็บปวดของแฟรนไชส์ซี ที่แฟรนไชส์ซอร์ปฏิบัติต่อแฟรนไชส์ซี ซึ่งแฟรนไชส์ซีสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

PainPoint

1.แฟรนไชส์ซอร์ไม่เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดค่าตอบแทน

ค่าใช้จ่ายต่างๆ และอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจให้แฟรนไชส์ซีทราบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ ค่าตกแต่งร้าน ค่าวัตถุดิบ อุปกรณ์ ค่าการตลาด โฆษณา การต่ออายุสัญญา รายได้ เป็นต้น

2.แฟรนไชส์ซอร์ต้องการขยายสาขาใหม่ด้วยตัวเอง

แต่ไม่แจ้งให้สาขาแฟรนไชส์ซีในพื้นที่ใกล้เคียงทราบ และให้สิทธิเปิดสาขาแก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นในพื้นที่ใกล้เคียงก่อน ซึ่งการปฏิบัติของแฟรนไชส์ลักษณะเช่นนี้จะส่งผลโดยตรงต่อสาขาแฟรนไชส์ซี อาจทำให้ยอดขายลดลง เพราะมีคู่แข่งขันแบรนด์เดียวกันมาเปิดใกล้ๆ กัน และลูกค้าอาจไปใช้บริการร้านแฟรนไชส์ซอร์ก็ได้

9

3.การจำกัดสิทธิแฟรนไชส์

เช่น แฟรนไชส์ซอร์บังคับให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ซอร์เพียงเท่านั้น เช่น เปิดร้านอาหาร บังคับให้ซื้อช้อน ซ้อม หม้อ มีด น้ำตาล พริก เป็นต้น

4.บังคับให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการอื่น

นอกเหนือจากข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ โดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนล่วงหน้า เช่น หากแฟรนไชส์ขายสินค้าหรือบริการเดียวในร้าน แต่แฟรนไชส์ซอร์สำรวจตลาดพบสินค้าอีกหนึ่งอย่างสามารถขายร่วมกันได้ เมื่อนำมาขายแล้วยอดขายเพิ่มขึ้น แฟรนไชส์ซอร์จึงอยากให้สาขาแฟรนไชส์ซีมียอดเพิ่มขึ้นด้วย จึงบังคับให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าเพิ่มอีก 1 อย่าง โดยไม่แจ้งและทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้แฟรนไชส์ซีทราบล่วงหน้า

8

5.บังคับห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ให้บริการรายอื่น

ที่ขายสินค้าหรือบริการในราคาและคุณภาพเท่ากัน เช่น สาขาแฟรนไชส์ซีอยู่เชียงใหม่ แต่ถูกแฟรนไชส์ซอร์บังคับให้ซื้อไข่ไก่ น้ำตาล นม จากกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งระยะทางในการขนส่งที่ไกล อาจทำให้ไข่ไก่ที่สั่งจากกรุงเทพฯ แตกเสียหายได้

6.บังคับห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสินค้าเน่าเสียง่าย

หรือใกล้หมดอายุโดยไม่มีเหตุผลสมควร เช่น แฟรนไชส์ซอร์กลัวว่าสาขาแฟรนไชส์ซีจะทำยอดขายไม่ถึงเป้า หากให้ขายลดราคา และกลัวเสียภาพลักษณ์แบรนด์ ในส่วนแฟรนไชส์ซีต้องการลดราคาขายสินค้าที่กำลังจะเน่าเสีย หากเก็บไว้นานๆ จะขายไม่ได้ ยิ่งทำให้ขาดทุน

7

7.แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเงื่อนไขอื่นที่ไม่เหมาะสม

นอกเหนือจากการรักษาชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ตามสัญญา เช่น แฟรนไชส์ซอร์เปิดสาขาในต่างประเทศ แต่ให้แฟรนไชส์ซีในประเทศนั้นต้องซื้อ หลอด กระดาษทิชชู่ และวัตถุดิบอื่นๆ จากแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งที่แฟรนไชส์ซีสามารถหาซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานเหล่านี้ได้ภายในประเทศ ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ KFC เป็นของสหรัฐอเมริกา เมื่อเปิดสาขาในไทย ก็ยังต้องใช้ไก่ในประเทศไทย หากนำเข้าต้นทุนคงบาน

ได้เห็นกันแล้วว่า PainPoint แฟรนไชส์ซอร์ ปฏิบัติมีอะไรบ้าง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีแฟรนไชส์ซอร์บางราย บางแบรนด์ ยังกระทำต่อแฟรนไชส์ซีอยู่บ้าง ต่อไปนี้เมื่อมี “แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การค้าแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560” ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า บังคับใช้ เชื่อว่าแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีคงจะปฏิบัติต่อกันตามหน้าที่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39G70xu

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช