Marketing More | เรียนรู้เทคนิค Bulla Bulla จิตวิทยาเชิงบวก “ให้สินค้ามีมูลค่า”

เทคนิค Bulla Bulla เป็นหลักการทางจิตวิทยา “Scarcity Effect” ที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงมากนัก หากเทียบกับหลักการทางจิตวิทยา ที่ใช้ในการทำตลาด Marketing ทั่วไป
สังเกตมั้ยครับว่า สินค้าใดที่มีจำนวนน้อยๆ หาซื้อได้ยาก ผู้คนก็จะให้คุณค่ามากขึ้น แต่ถ้าสินค้าใดหาได้ง่าย มีอยู่ทั่วไป ซื้อเมื่อไรก็ได้ มูลค่าของมันก็ดูเหมือนจะลดลง

Marketing More

เทคนิคทางจิตวิทยา Bulla Bulla เป็นการสร้างความรู้สึกในเชิงบวกต่อสินค้า ว่าสินค้าหลายๆ ชิ้นอยู่รวมกันนั้นไม่น่าจะราคาแพง แถมมีอยู่ให้เลือกมากมาย กระตุ้นให้ลูกค้าอยากหยิบจับ โดยเฉพาะเมื่อถูกรายล้อมไปด้วยสินค้าที่มีราคาสูงกว่า โดยลูกค้าจะเริ่มจ่ายเงินจากของที่คิดว่าราคาถูกไปหาของอื่นๆ ที่ราคาแพง

ต้นตำรับมาจากที่ไหนแน่ชัด ไม่มีใครทราบ แต่แบรนด์ที่เอาเทคนิคนี้มาใช้อย่างเต็มตัว ที่เห็นได้ชัดคือ

ห้างค้าปลีกชื่อดังอย่าง IKEA ซึ่งปัจจุบันขยายกิจการไปทั่วโลกกว่า 433 สาขาใน 52 ประเทศ ยิ่งมีสถิติว่าตู้หนังสืออย่าง Billy นั้นขายได้ทุกๆ 10 นาที และ 1 ใน 10 ของคนยุโรปต้องมีเตียง IKEA อยู่บ้านตัวเอง

นอกจากนี้ เทคนิค Bulla Bulla ยังพบเห็นจากร้านเสื้อผ้าต่างๆ ที่อยู่ในช่วงการลดรา Sale ไม่ว่าจะช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือ Summer Sale โดยนำเสื้อผ้ามากมายมากองรวมกันแล้วติดป้ายลดราคา ซึ่งบางครั้งเสื้อผ้าเหล่านี้ไม่ได้ถูกที่สุดทุกตัว แต่พอถูกรายล้อมไปด้วยเสื้อธรรมดาๆ มากมาย ผู้คนก็มีแนวโน้มที่จะซื้อ มากกว่าการนำมันไปตั้งโดดๆ อยู่ตัวเดียว ซึ่งอาจทำให้ดูแพงขึ้น

เราจะเห็นได้ว่า การนำของคล้ายกันหลายๆ ชิ้นมาวางรวมกัน จึงเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นยอดขายให้กับร้านค้าได้ แต่ก็อย่าลืมนำเทคนิค Bulla Bulla ไปใช้ร่วมด้วย ก็คือ เจ้าของร้านต้องคอยนำสินค้าใหม่ๆ มาสับเปลี่ยนอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้น ถ้าลูกค้ากลับมาที่ร้านอีกครั้ง หากเจอแต่สินค้าเดิมๆ ลูกค้าอาจจะไม่สนใจสินค้าเหล่านั้นไปเลยก็ได้

นั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมร้านขายของต่างๆ โดยเฉพาะร้านเฟอร์นิเจอร์ IKEA นอกจากจะมีตุ๊กตาฉลาม หมาและน้องหมี ยังมีน้องหมู น้องยีราฟ น้องกระต่าย และตุ๊กตาอื่นๆ ถูกสับเปลี่ยนให้เห็นโดยไม่ซ้ำแต่ละวัน

ด้วยการมีสินค้าล่อให้ลูกค้าเริ่มจ่ายเงิน ทำให้เรารู้สึกว่าต้องเริ่มจ่ายเงินในการซื้อสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในมุมของผู้บริโภคนั้น อาจจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ แต่ถ้าสินค้าแบรนด์นั้นทำให้ผู้บริโภคเริ่มจ่ายเงินกับสินค้าเล็กๆ ราคาถูกได้ หากถูกจัดวางเรียงติดกัน หรือกองรวมกันแล้ว ก็จะสามารถกระตุ้นให้คุณเริ่มจ่ายกับสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก https://bit.ly/33Z0ldJ , https://bit.ly/3f4qhLy

 

อ้างอิงจาก Facebook : Marketing More

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต