Dylan’s Candy Bar ธุรกิจดีไซน์ลูกอมตามใจคุณ

ในปี 2558 ตลาดของเหล่า Candy นั้นเติบโตได้เพียงร้อยละ 1.7 ถือว่าเป็นการชะลอตัวลดต่ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี รายงานจาก Euromonitor ระบุว่าเกิดจากการที่ตลาดละตินอเมริกาและจีนเติบโตลดลงมาก แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้เศรษฐกิจแม้ยังไม่ดีแต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นคาดการณ์ว่าในปี 2560 วงการ Candy ทั่วโลกจะมีมูลค่าการเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ส่วนหนึ่งคือการพัฒนสินค้าที่แปลกใหม่และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในหลากหลายวิธีมากขึ้น

แน่นอนว่าสีสันของลูกอมคือตัวดึงดูดที่ดี แต่งานนี้หากรู้จักใช้นวัตกรรมเข้าร่วมในการทำธุรกิจได้ด้วยจะเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้ค้าขายได้ดีและมีกำไรมากขึ้น www.ThaiSMEsCenter.com ก็มีตัวอย่างของธุรกิจแนวนี้จากอเมริกามานำเสนอให้คนทำธุรกิจเมืองไทยได้มองเห็นภาพเผื่อใครมีไอเดียดีๆมาปรับใช้รับรองว่าไปไกลกว่าที่คิดแน่

Candy Bar

ธุรกิจที่เราพูดถึงนี้คือ Dylan’s Candy Bar ในเมืองชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา เป็นแนวคิดการทำธุรกิจของ Dylan Lauren และ Melissa Snover ที่มองว่าตลาดของ Candy ยังคงมีเสน่ห์และเป็นที่ต้องการของคนในทุกกลุ่มไม่ใช่แค่พวกเด็กๆเท่านั้นเพียงแต่รูปแบบการนำเสนอนั้นต้องแตกต่างออกไปเพื่อให้สินค้าอย่าง Candy ดูเป็นสินค้าที่มีค่ามากกว่าการเป็นแค่ขนมหวานอย่างเดียว

57

จึงเป็นที่มาของการเปิดตัว The Magic Candy Factory ที่มีไฮไลต์ของเรื่องนี้อยู่ที่เครื่องทำลูกอมแบบ 3 มิติที่ขอบอกเลยว่าเขาสร้างและออกแบบเจ้าเครื่องนี้มาเพื่อการออกแบบลูกอมโดยเฉพาะเท่านั้นเนื่องจาก Dylan Lauren และ Melissa Snover เชื่อว่าทุกคนมีความคิดของตัวเองและอยากเห็นลูกอมในแบบที่ตัวเองต้องการซึ่งคงดีกว่าการรับประทานลูกอมแบบสำเร็จรูปที่มีคนอื่นคิดไว้ให้แล้ว

58

เครื่องออกแบบลูกอมของ Dylan’s Candy Bar นี้สามารถทำลูกอมให้ออกมาเป็นรูปร่างต่างๆ ให้กับลูกค้าได้ ผ่านการสั่งงานจาก iPad โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น เริ่มจากการเลือกรสชาติของลูกอมที่เราต้องการซึ่งก็มีให้เลือกถึง 8 รสชาติด้วยกันคือคือบลูฮาวาย แบล็กคอเรนต์ เบอรรี่รวม สตรอว์เบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มะม่วง มะนาว และแอปเปิ้ลเขียว

59

หลังจากได้รสชาติที่ต้องการก็มาถึงขั้นตอนการเลือกรูปร่างที่เราสามารถออกแบบเองได้ไม่ว่าจะต้องการเป็นภาพหรือว่าตัวอักษร แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรแค่สั่งงานผ่านทาง iPad ก็สามารถดูเจ้าเครื่องนี้ทำงานได้ ความน่าสนใจก็คือการที่เราได้เห็นลูกอมที่เราออกแบบค่อยๆ ถูกสร้างขึ้นมาทีละชั้นๆ จนกลายเป็น ลูกอมสำเร็จรูปที่เราต้องการ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายก็ไม่มีอะไรมากแค่ฉีด Magic Glitter ลงไปก็เป็นอันเรียบร้อย

60

แต่ขอบอกก่อนเลยว่านี่อาจจะกลายเป็นลูกอมที่ราคาแพงสักนิดแต่ก็ดูจะคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไปเพราะราคาของลูกอมจาก Dylan’s Candy Bar นี้ อยู่ที่ 20 เหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 660 บาทต่อการทำ ลูกอม  1 ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็สามารถต่อยอดได้อีกมาก ไม่ใช่แค่การทำลูกอมแล้วจบแค่นั้น การเอาเครื่องทำลูกอมนี้มาสร้างสรรค์ลูกอมน่าสนใจและทำให้เป็นของขวัญสำหรับคนพิเศษก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากขึ้น

61

ซึ่งดูว่าจะกลายเป็นธุรกิจยอดฮิตที่บ้านเราเองก็น่าจะลองเอาเจ้าเครื่องนี้มาต่อยอดกันดูบ้าง รับรองว่าถ้าได้ทำเลแถวโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย หรือใครที่มีร้านชากาแฟของตัวเองแล้วมีเจ้าเครื่องนี้ไว้เป็นทางเลือกอีกสักอย่าง น่าจะเรียกลูกค้าให้เข้าร้านได้อีกมากพอตัวทีเดียว

62

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/44uzd7

ขอบคุณรูปภาพจาก www.facebook.com/DylansCandyBar 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด