“8 ข้อดี 7 ข้อเสีย ในธุรกิจแฟรนไชส์ “

คุณรู้สึกไหมว่าธุรกิจ แฟรนไชส์ ในปัจจุบันมีมากมายเหลือเกิน เดินตั้งแต่ปากซอยถึงท้ายซอยก็เห็นแต่ร้านค้า แฟรนไชส์ เต็มไปหมด จนบางครั้งเกิดความรู้สึกอยากจะทำธุรกิจแฟรนไชส์กับเขาบ้าง อีกทั้งใครต่อใครต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าธุรกิจ แฟรนไชส์ ยังคงเติบโตได้ดี มีผู้คนเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ต่อเนื่อง จนทำให้บางครั้งลืมคิดถึงข้อดี-ข้อเสียของการทำแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแจกแจงข้อดี-ข้อเสียของแฟรนไชส์ ให้คุณได้คิดก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อดีของการทำธุรกิจแฟรนไชส์มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจออนไลน์ ในแง่ที่ว่าคนตัวเล็กก็สามารถทำให้ตัวเองใหญ่ได้ กล่าวคือ สมัยก่อนถ้าเราคิดจะมีร้านค้า 100 แห่ง แต่ด้วยความที่ตัวเราเองเล็กนิดเดียว จึงไม่สามารถที่จะทำได้ แต่ด้วยระบบของแฟรนไชส์ถ้าเรามีสินค้าดี บริหารอย่างมีระบบ เราสามารถที่จะมีร้านค้า 100 แห่งได้

เพราะคนลงทุนคือแฟรนไชส์ซี เราในฐานะเจ้าของเพียงแค่เก็บค่าธรรมเนียมและเสียเวลาในการออกไปอบรมให้กับแฟรนไชส์ซี ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์ดีก็สามารถเติบโตได้เร็ว ขยายเครือข่ายได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีทุนเยอะ มาดูกันว่า

8

ข้อดีของแฟรนไชส์ มีอะไรบ้าง

  1. สร้างการเติบโตได้เร็ว ใช้งบลงทุนน้อย ได้ค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์
  2. เปิดโอกาสให้ธุรกิจที่มีทุนน้อยขยายเครือข่ายได้ เพราะการขยายสาขาเป็นของแฟรนไชส์ซี
  3. เป็นช่องทางการตลาด กระจายสินค้า-บริการ เมื่อมีการขยายสาขาได้จำนวนมาก ก็จะสามารถกระจายสินค้าได้มากเท่านั้น
  4. มีผู้จัดการเป็นเจ้าของธุรกิจ ทำให้มีแรงจูงใจมากกว่า
  5. รับผิดชอบต่อความเสียหายน้อยลง
  6. เป็นเครื่องมือเอาชนะการแข่งขัน เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเหมือนเครือข่ายธุรกิจที่มีรูปแบบการบริหารงานที่เหมือนกัน ขายสินค้าภายใต้แบรนด์เดียวกัน
  7. มีอำนาจในการซื้อสินค้าทำให้ต้นทุนถูกลง
  8. ได้รับการรายงานสถานการณ์ตลาดจากร้านแฟรนไชส์ซี คนซื้อหรือลูกค้าจะมากหรือน้อยจะได้รับการรายงานทันทีจากแฟรนไชส์ซีในพื้นที่ หรือดูจากยอดการขายของสาขาแฟรนไชส์ซี

w46

ข้อเสียของระบบธุรกิจแฟรนไชส์

  1. มีภาระมากขึ้น ต้องรับผิดชอบต่อแฟรนไชส์ซี เพราะเขาได้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมมาแล้ว ต้องไปอบรมคอยแนะนำให้การบริหารธุรกิจให้กับแฟรนไชส์ซี
  2. ถ้าไม่มีความพร้อมอาจทำให้ธุรกิจล้มเหลว เพราะคนที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ และเข้าใจในเรื่องการบริหารเครือข่ายแฟรนไชส์
  3. เกิดความขัดแย้งได้ง่าย เพราะบางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจมีการฝ่าฝืนกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุต้องการความเป็นอิสระและเรียกร้องอยากเอานั่นเอานี่
  4. เกิดการสูญเสียการควบคุมในทิศทางที่ต้องการ เมื่อเทียบกับสาขาของตัวเอง เพราะแม้ว่าจะเป็นแบรนด์เดียวกัน แต่เมื่อขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นไปแล้ว เขาอาจจะนำรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างจากสาขาตัวเองไปใช้ก็ได้
  5. หาแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพได้ยาก แต่ถ้าได้คนดีมีคุณภาพก็ถือว่าโชคดีของแฟรนไชส์เซอร์ เพราะเขาจะรักและบริหารธุรกิจของเราให้เป็นอย่างดี
  6. ต้องเปิดเผยวิธีการทำธุรกิจ เพราะแฟรนไชส์เป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์เซอร์ให้กับแฟรนไชส์ซี เพื่อแลกกับเงินทุนและค่าสิทธิ์ต่างๆ
  7. มีภาระค่าใช้จ่ายสูงในการเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทีมงาน จัดทำคู่มือ ระบบการอบรมและการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะถ้าแบรนด์ไม่ดังไม่เป็นที่รู้จัก ก็จะไม่มีใครมาซื้อแฟรนไชส์

w47
“แม้ว่าข้อดี-ข้อเสียของการทำธุรกิจแฟรนไชส์จะมีมากมาย จนหลายคนอาจไม่กล้าที่จะลงมือทำธุรกิจแฟรนไชส์ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าจะคิดถึงข้อดี-ข้อเสียของแฟรนไชส์ คือ ความพร้อมของตัวคุณเอง เพราะหากเจ้าของธุรกิจไม่มีความพร้อมและเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ดีพอ เชื่อแน่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในฝันของคุณอาจจะไปไม่ถึงฝั่ง”

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kZcTrQ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช