7 เทคนิคธุรกิจเปิดร้านพระเครื่อง

อาชีพเกี่ยวกับพระเครื่องนี่ต้องเป็นผู้ที่สนใจในวงการพระ มีความรู้เรื่องพระรุ่นต่างๆ ดูพระเครื่องเป็น ไม่ใช่แค่คิดอยากทำก็จะทำได้ แม้ว่าโดยภาพรวมเซียนพระบ้านเราจะมีรายได้จากการปล่อยพระให้เช่า แต่หลายคนที่เข้ามาในวงการนี้ก็ล้มคว่ำไม่เป็นท่า

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้รวบรวมเอา7เทคนิคพื้นฐานของคนที่คิดจะเปิดร้านพระเครื่องมาให้อ่านกันพอสังเขป บอกตามตรงว่าเราก็ไม่ได้เป็นเซียนพระเหมือนกันดังนั้นหากมีข้อไหนขาดตกบกพร่องไปก็ขอประทานอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

1.วงการนี้ใจต้องรักเท่านั้น

เทคนิคธุรกิจเปิดร้านพระเครื่อง

ภาพจาก https://goo.gl/a5CGFC

การเปิดร้านพระเครื่องหรือทำแผงพระไม่เหมือนอาชีพขายของอื่นๆ อย่างเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ร้านกาแฟ สินค้าพวกนี้เราใจไม่ต้องรักก็ทำได้เพราะยังไงลูกค้าก็เยอะแต่วงการพระเครื่องลูกค้าจำเพาะเจาะจง คนที่เริ่มเข้าวงการนี้ก่อนมีร้านของตัวเองก็ต้องมีพระเครื่องของตัวเองอยู่บ้าง หลายคนเป็นนักสะสมแต่ไม่คิดขาย ดังนั้นพื้นฐานต้องมีความชอบแบบจริงๆ จังๆเลยทีเดียว

2.รู้ศัพท์เทคนิคในวงการพระ รู้เท่าทันกลยุทธ์การขายและเล่เหลี่ยมต่างๆ

44

ภาพจาก https://goo.gl/z1S29p

หากเรามีพื้นฐานจากข้อแรกข้อที่สองนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาศัพท์เทคนิคในวงการพระเครื่องมีเยอะมากเช่น พระกรุ , พระเกจิ , พิมพ์นิยม , แท้แต่ไกล, แท้ตาเปล่า, กริ๊บๆ , เดิมๆ ,ของหลง , พระสองคลอง , พระลูกย่อย , ตาปลิ้น ฯลฯ ยังไม่รวมเรื่องเล่เหลี่ยมของการขายพระที่เซียนพระบอกเลยว่า “อย่าใช้หูดูพระจะสับสน” คือการเป็นเซียนพระได้เราต้องมีความรู้เรื่องพระเครื่องแต่ละรุ่น การปลุกเสกแต่ละรุ่น ลักษณะของแท้ของเทียม วงการพระบอกเลยว่าหากไม่เก่งจริงมีหวังเล่นพระเก๊ไปตลอดชีวิต

3.เล่นพระจากง่ายไปยาก

46

ภาพจาก https://goo.gl/xZuYvM

หากเรามีความรู้อยู่บ้างแต่ขาดประสบการณ์ขอแนะนำว่าให้เล่นพระจากง่ายไปหายาก พระอะไรที่หาง่าย ปลอมยาก ควรศึกษาก่อน จนเข้าใจแล้วค่อยไปศึกษาพระที่หายาก คำว่ายากง่ายอาจจะขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน เซียนพระบอกว่าพระที่ปลอมยากสุดคือเนื้อดิน รองลงไปคือเนื้อชินและเนื้อผงแต่ที่ปลอมได้ง่ายสุดคือเหรียญ เรื่องพวกนี้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ดี

4.ต้องมีทีมงานและพวกพ้องสนับสนุน

45

ภาพจาก https://goo.gl/8vcxea

การเปิดร้านพระเครื่องที่ดีทำคนเดียวอยู่คนเดียวไม่ได้ต้องมีกลุ่มพรรคพวกที่เรียกว่าเป็นทีมงานเดียวกันข้อดีของการมีทีมงานคือทำให้เรามีโอกาสได้เจอกับพระที่ดีที่เกิดจากการแนะนำกันมา รวมถึงการอยู่เป็นทีมงานก็ทำให้มีการสื่อสารข้อมูลหาข่าวในวงการพระได้ง่ายด้วย

5.เปิดร้านไม่ต้องใหญ่แต่ขอให้มีคุณธรรม

47

ภาพจาก https://goo.gl/83N9Hj

ว่ากันว่าเปิดแผงพระคนขายก็ต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมด้วย เซียนพระที่แท้จริงควรต้องมีจิตใจธรรมะธรรมโม ไม่ใช่คิดจะเป็นพ่อค้าที่หลอกขายให้คนที่สนใจอย่างเดียว ปัจจุบันวงการเซียนพระมีคนที่ดีอยู่ไม่น้อยแต่คนที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ก็มีอยู่มากชอบหลอกขายพระให้คนที่เป็นไก่อ่อนทั้งหลาย

6.อย่าลืมเรื่องการจดทะเบียนให้ถูกต้อง

50

ภาพจาก  https://goo.gl/jHg3J1

พูดถึงในมุมของการเปิดร้านพระที่มีผู้รู้ให้ข้อมูลไว้ว่าหากเป็นพระหล่อใหม่หรือพระทั่วไปก็จดทะเบียนการค้าธรรมดาได้แต่หากเปิดเป็นร้านพระเก่าหรือวัตถุโบราณต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ค้าของเก่าไว้ด้วย หากละเลยกฏระเบียบข้อนี้อาจถูกปรับย้อนหลังได้

7.ทำเลเปิดร้านต้องอยู่ในย่านพระเครื่องดีที่สุด

49

ภาพจาก https://goo.gl/urzvhK

การเปิดร้านพระเครื่องอย่าคิดว่าเปิดร้านเป็นเอกเทศแล้วจะดี ร้านพระเครื่องไม่เหมือนสินค้าทั่วไป หากในพื้นที่โดยรอบไม่มีร้านแบบเดียวกันขอแนะนำว่าให้ไปหาทำเลที่เป็นโซนพระเครื่องเปิดทำการจะดีที่สุด เราจะสังเกตว่าตามห้างสรรพสินค้าบางแห่งมีการจัดโซนพระเครื่องให้คนมาเปิดร้าน ซึ่งข้อดีคือคนที่สนใจพระเครื่องจะมาเดินในพื้นที่และสามารถเลือกดูพระที่ตัวเองต้องการได้หากมีร้านเดียวคนมักไม่สนใจและส่วนใหญ่จะขายได้ยากมาก

51

สำหรับบางคนไม่คิดเปิดร้านหรือแผงให้วุ่นวายใช้โลกออนไลน์ในการติดต่อปล่อยพระให้ลูกค้า ซึ่งข้อดีก็คือทำงานได้ทุกที่ขอแค่มีความรู้และรู้จักเก็งราคาพระเช่นพระบางรุ่นปล่อยตอนนี้ราคาไม่ดีแต่ถ้าเก็บไว้อีกสักพักราคาจะสูงเรื่องเหล่านี้เซียนพระจะรู้กันดี ทั้งนี้การเปิดร้านขายพระพื้นฐานคือต้องมีความรู้เป็นสำคัญที่สุด


SMEs Tips

  1. ต้องมีใจรักเท่านั้น
  2. ความรู้เกี่ยวกับวงการเซียนพระเป็นสิ่งสำคัญ
  3. เริ่มเล่นจากง่ายไปยาก
  4. มีทีมงานที่คอยสนับสนุน
  5. คุณธรรมสำคัญกว่าทำเล
  6. จดทะเบียนให้ถูกต้อง
  7. ไม่ควรเปิดร้านแบบแยกโดดเดี่ยว

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด