7 ปัจจัยทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์

การทำธุรกิจแฟรนไชส์มีข้อดีตรงที่สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้ออกเงินลงทุนในการขยายสาขา อีกทั้งยังสามารถกระจายสินค้าและบริการไปในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างแพร่หลาย

จึงไม่แปลกที่เจ้าของธุรกิจจำนวนมากจะผันตัวมาเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ บางรายสำเร็จ บางรายไม่สำเร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก DNA ของธุรกิจเอง ปัจจัยอะไรบ้างทำให้ธุรกิจเหมาะสำหรับทำ แฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 ปัจจัยทำธุรกิจ ให้เป็นแฟรนไชส์ ให้ทราบ

1. ขนาดของกิจการ

7 ปัจจัยทำธุรกิจ

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำ แฟรนไช ส์ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรขนาดกลางขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หากเป็นองค์กรขนาดเล็กอาจทำให้ขาดทีมงานช่วยเหลือและสนับสนุนแฟรนไชส์ซี แต่ถ้าเป็นองค์กรขนาดกลางขึ้นไปจะมีความพร้อมในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาแฟรนไชส์ซีให้เจริญเติบโต

2. อายุของกิจการ

13

หลายธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้เพียง 1-2 ปี ก็เปิดขายแฟรนไชส์ เพียงเพราะเชื่อมั่นในสินค้าและบริการของตัวเอง แต่สาขาที่เปิดทดลองขายและลองผิดลองถูกยังมีไม่กี่แห่ง สุดท้ายทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ดูได้จาก 7-Eleven ก่อนจะขายแฟรนไชส์ต้องเปิดสาขาของตัวเองนำร่องหลายสาขา เพื่อทดลองว่าธุรกิจจะสามารถเดินหน้าไปได้หรือไม่ เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้น ธุรกิจที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ต้องอายุยาวมากกว่า 5 ปี

3. อัตราทำกำไรของกิจการ

14

ธุรกิจที่มีกำไรคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์ หลักการของระบบแฟรนไชส์คือคุณไม่สามารถนำธุรกิจที่ขาดทุนและไม่ประสบความสำเร็จไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้ เพราะไม่มีคนอยากซื้อความล้มเหลว ดังนั้น ถ้าธุรกิจของคุณยังทำกำไรไม่ได้อย่าฝ่าฝืนกฎของระบบแฟรนไชส์ โดยกำไรที่ได้ในแต่ละเดือนต้องมากกว่า 2 หมื่นบาท

4. กระบวนการถ่ายทอด

15

ธุรกิจที่ถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยากไม่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วปฏิบัติตามไม่ได้ เมื่อปฏิบัติตามไม่ได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้น กิจการที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ดี ต้องสามารถถ่ายทอดและฝึกอบรมให้กับคนอื่นนำไปปฏิบัติตามได้ง่าย เพราะแฟรนไชส์เป็นการขายระบบความสำเร็จของธุรกิจที่ผ่านการลองผิกดลองถูกมาแล้ว

5. ร้านสาขาต้นแบบ

21

ก่อนทำแฟรนไชส์ควรเปิดร้านสาขาเพื่อลองผิดลองถูก หากเปิดร้านสาขาแล้วเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าขายให้คนอื่นไปแล้วอาจแก้ไขได้ยาก ถ้าร้านคุณเปิดในพื้นที่แตกต่างกันก็จะทำให้คุณรู้ถึงมีปัญหาที่แตกต่างกันมีอะไรบ้าง ตรงนี้จะช่วยให้คุณมีทักษะในการหามาตรการบริหารร้านที่อยู่ในพื้นที่ต่างกันได้ โดยร้านต้นแบบควรมี 4-5 สาขา

6. งบการลงทุน

20

ธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ควรลงทุนไม่สูงเกินไป เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีความเสี่ยงในการขาดทุน คืนทุนได้ยาก และธุรกิจจะหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ยาก ยิ่งในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองรวมถึงการระบาดโควิด-19 ทำให้เงินเก็บเงินออมเหลือน้อย จึงทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียโอกาสในการขยายตัว โดยงบการลงทุนที่เหมาะในยุคนี้ต้องไม่เกิน 2 ล้านบาท

7. การนำเทคโนโลยี

ถจ

อีกหนึ่งองค์ประกอบของธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ คือ สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการร้าน เพื่อให้มีความง่าย สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องของการชำระเงิน ระบบ POS ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เพราะต่อไปพฤติกรรมการใช้เงินสดจะน้อยลง จะเห็นพนักงานจะน้อยลง

นั่นคือ 7 ปัจจัยทำธุรกิจ ให้เป็นแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ ลองสำรวจธุรกิจของตัวเองว่า มีองค์ประกอบข้างต้นหรือไม่ หากมีเชื่อว่าน่าจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ขนาดของกิจการ
  2. อายุของกิจการ
  3. อัตราทำกำไรของกิจการ
  4. กระบวนการถ่ายทอด
  5. ร้านสาขาต้นแบบ
  6. งบการลงทุน
  7. การนำเทคโนโลยี

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3zJYSFH

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช