6 วิธี มีธุรกิจใหม่ ด้วยการ #ซื้อแฟรนไชส์ (New Business)

การมีธุรกิจใหม่ หรือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ในยุคปัจจุบัน จะช่วยให้เราก้าวข้ามขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจในช่วงระยะเวลาแรกๆ ไม่ต้องเสียเวลาเพื่อลองผิดลองถูก ในการทำให้แบรนด์และสินค้าได้รับความนิยมในตลาด

อีกทั้งยังได้รับการฝึกอบรมและการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าการซื้อแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัว

เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมาวันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำ 6 วิธี มีธุรกิจ ใหม่ด้วยการซื้อแฟรนไชส์

1.ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ

6 วิธี มีธุรกิจ

เมื่อรู้ว่าชอบแฟรนไชส์ไหนแล้ว ควรประเมินและศึกษาถึงโอกาสการเจริญเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งสิ่งที่ต้องศึกษาแฟรก่อนตัดสินใจลงทุน อาทิ ชื่อเสียงของแบรนด์ สินค้าและบริการได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน จำนวนคู่แข่งขันในตลาดมีเยอะหรือไม่ รวมถึงลงพื้นที่สำรวจแฟรนไชส์ซีรายอื่น ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ความยากง่ายของการทำธุรกิจ ค่าใช้จ่ายต่างๆ จำนวนลูกค้าในแต่ละวัน ยอดขาย ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เรามั่นใจก่อนตัดสินใจลงทุน

2.ประเมินความพร้อมของตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์

5

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรประเมินความพร้อมของตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านความสามารถในการทำธุรกิจที่สนใจให้ประสบความสำเร็จ ความมุ่งมั่นและตั้งใจ เป้าหมายในการทำธุรกิจ ระยะเวลาในการทำธุรกิจ พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าของแฟรนไชส์ ตลอดจนแหล่งเงินทุนสำหรับการซื้อแฟรนไชส์ เป็นต้น

3.สำรวจและศึกษาบริษัทแบรนด์แฟรนไชส์

4

เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์มีความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจแฟรนไชส์มากน้อยแค่ไหน เจ้าของแฟรนไชส์มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการทำธุรกิจอย่างไร บริษัทแฟรนไชส์ตั้งอยู่ไหน ช่องทางการติดต่อบริษัท ระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ ผลการดำเนินงานกำไรหรือขาดทุน บริษัทแฟรนไชส์ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในด้านไหนบ้าง สิ่งเหล่านี้เราต้องรู้ก่อน

4.ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการซื้อแฟรนไชส์

3

สิ่งที่ต้องทำต่อไป ก็คือ ศึกษานโยบายของบริษัท ตลอดจนรายละเอียดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสัญญาแฟรนไชส์ ศึกษาขั้นตอนของการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้เข้าใจ ระยะเวลาในการทำธุรกิจ ค่าใช้จ่าย การจ่ายเงินค่าสิทธิ รูปแบบการให้สิทธิ ทำเลพื้นที่เปิดร้าน การจัดส่งวัตถุดิบ รวมถึงข้อปฏิบัติและหน้าที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์และเจ้าของแฟรนไชส์

5.ประเมินและสำรวจศักยภาพตลาด ทำเลพื้นที่

 

2

ทำเลที่ตั้งของธุรกิจต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง บริการ อาหาร เครื่องดื่ม การศึกษา ทำเลที่ตั้งจะมีความแตกต่างกัน อันจะส่งต่อความเจริญเติบโตของธุรกิจนั้นๆ รวมถึงจำนวนและความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนกฎระเบียบและข้อปฏิบัติต่างๆ ในพื้นที่ จำนวนคู่แข่งขันในพื้นที่

6.เตรียมตัวสำหรับจดทะเบียนธุรกิจและการค้า

1

แม้จะเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ซึ่งจะได้แบรนด์และสินค้ามาจำหน่ายอยู่แล้ว แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จำเป็นต้องทำการจดทะเบียนธุรกิจที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล หากซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ที่มีระบบ เช่น 7-Eleven, Cafe Amazon) หรือแจ้งจดทะเบียนการค้าต่อกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานอื่นๆ ให้ครบถ้วย เพราะรายได้จากการทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีการเสียภาษีเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ อย่างถูกต้อง

นั่นคือ 6 วิธี มีธุรกิจ ใหม่หรืออยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ ลองนำไปศึกษาและประเมินความพร้อมในแต่ละด้าน ก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ
  2. ประเมินความพร้อมของตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์
  3. สำรวจและศึกษาบริษัทแบรนด์แฟรนไชส์
  4. ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขการซื้อแฟรนไชส์
  5. ประเมินและสำรวจศักยภาพตลาด ทำเลพื้นที่
  6. เตรียมตัวสำหรับจดทะเบียนธุรกิจและการค้า

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BpTsk1

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช