3 สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนที่อยากเป็น เจ้าของธุรกิจ SMEs

เชื่อว่าหลายคนใฝ่ฝันที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองหลังจากเรียบจบ หรือ ทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือน มาได้ในระยะหนึ่ง ตอนนี้เมื่อคุณพร้อมที่จะทำธุรกิจแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอะไร ความเริ่มต้นจากจุดไหน แล้วจะต้องบริหารอย่างไรให้อยู่รอดด้วยดี ทาง ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำน่าสนใจมาฝากไว้ให้เหล่า SMEs มือใหม่ทั้งหลาย ไปดูกันเลยจ้า

1.คำถามเช็คความพร้อม

มาทำแบบทดสอบง่าย ๆ กันก่อนเลยจ้า เพื่อเป็นการประเมินตัวเองว่า คุณมีคุณสมบัติเหมาะสมมากน้อยเพียงใดกับการที่จะก้าวเข้ามาสู่ความเป็น เจ้าของธุรกิจ

  1. คุณฝันว่าอยากมีธุรกิจเล็กเป็นของตัวเอง                                                 ใช่      ไม่
  2. คุณชอบทำงานอิสระ และอยากเป็นนายตัวเอง                                        ใช่      ไม่
  3. ในการตัดสินใจทุกครั้งคุณจะมั่นใจ มั่นคง และเดินตามที่เลือกแล้ว        ใช่      ไม่
  4. เมื่อมีงานประดังเข้ามายุ่งมากแค่ไหนก็ยังสบายใจอยู่                             ใช่      ไม่
  5.  ก่อนเริ่มทำงานคุณมักจะเตรียมหาข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน                   ใช่      ไม่

… ถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่ 3 ข้อขึ้นไป นั้นแสดงว่าคุณเริ่มอยากที่จะเป็นผู้ประกอบการแล้ว แต่อย่าเพิ่งดีใจไปนี่เป็นเพียงคำถามเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าอยากจะเป็น เจ้าของธุรกิจ จริง ๆ คุณต้องถามคำถามต่อไปนี้กับตัวเองดูว่าคุณพร้อมจริง ๆ หรือไม่

  • คุณกำลังรักการทำสิ่งสิ่งหนึ่งมากอยู่ด้วยอย่างไรก็ไม่เบื่อ และสิ่งนั้นคือ?
  • คุณสามารถผลิตออกมาเป็นสินค้าได้ตอบโจทย์คนซื้อ?
  • คุณชื่นชอบ และรู้เรื่องการทำการตลาดดีพอ?
  • กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณคือใคร?
  • คุณสามารถบริหารต้นทุนที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม?
  • สินค้าของคุณมีจุดเด่นที่ดึงดูดให้ลูกค้าสนใจซื้อ?
  • คุณสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆได้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่?
  • คุณรู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และเริ่มที่จะวางแผน หาข้อมูล?

หากคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ครบทุกข้อ จะรีรออะไรอยู่ ได้เวลาลุยแล้วล่ะ!

 

127

2.  เปิดประตูก้าวสู่โลกธุรกิจ

รูปแบบธุรกิจ หลัก ๆ แล้วมี 4 แบบด้วยกัน ดังนี้

1. สร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง

ธุรกิจในรูปแบบนี้คุณจะสามารถคิด เลือก ตัดสินใจทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ตัดสินใจและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว แต่ต้องพร้อมที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีความเสี่ยงสูง เหมาะกับคนเจ้าความคิด มีแผนธุรกิจชัดเจน และมีเงินทุนสูง

quote4PSD22

2. ซื้อกิจการต่อจากผู้อื่น

ธุรกิจแบบซื้อกิจการต่อจากผู้อื่น มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องเปลืองเวลาเริ่มต้นนับหนึ่ง มีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว แต่ข้อเสียคือต้องพึงระวังว่าเจ้าของเดิมอาจเปิดธุรกิจแข่ง และต้องพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาอย่างละเอียด เหมาะกับคนที่เห็นโอกาสทำกำไรในธุรกิจชัดเจน หรือต้องการต่อยอดจากธุรกิจประเภทใกล้เคียงกัน

3. เข้าไปรับช่วงกิจการ

ส่วนใหญธุรกิจในรูปแบบนี้จะเป็นการรับช่วงจากธุรกิจครอบครัว ซึ่งถ้าธุรกิจดีอยู่แล้ว ไม่ต้องลงแรงมาก และมีฐานลูกค้าเดิมอยู่ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรมาก เพราะสามารถปรึกษากันในครอบครัวได้ แต่อาจต้องสะสางปัญหาเดิมที่ค้างอยู่ เหมาะกับธุรกิจครอบครัวหรือคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจมากพอควร

4. การซื้อแฟรนไชส์

เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์น้อยแต่มีเงินทุนพอควร หรือต้องการเปิดแฟรนไชส์เป็นอาชีพเสริม จุดเด่นของรูปแบบนี้ คือ ไม่ต้องใช้เวลาศึกษามาก และแบรนด์มักเป็นที่รู้จัก สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ง่าย แต่ก็มีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่ม เช่น Royalty fee หักเปอร์เซ็นต์ของรายได้ และต้องดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนด

เมื่อพบรูปแบบที่เหมาะกับตัวเองแล้ว ถึงเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนในการจดทะเบียนตั้งธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูรายละเอียดที่ www.dbd.go.th

 

‘จากผลสำรวจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่า
ในปีพ.ศ. 2557 มีธุรกิจแฟรนไชส์จำนวน 435 ธุรกิจ กว่า 42,681 สาขา
มูลค่าการลงทุนสูงถึง 287,932,266 บาท’

 

129

3.รู้กฎหมายเบื้องต้นสำหรับ SMEs

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 ในครึ่งปีแรก และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ต้องยื่น ภ.ง.ด.51 ในครึ่งปีแรก เพื่อประเมินรายได้ และยื่น ภ.ง.ด.52 ในครึ่งปีหลัง พร้อมส่งงบดุล และมีการตรวจสอบบัญชี

การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • ถ้าเป็นทะเบียนพาณิชย์ ที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

การออกแบบใบกำกับภาษี

  • ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ขึ้นและออกให้ผู้ซื้อทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือรับเงิน หรือมีการส่งมอบสินค้า

กฎหมายประกันสังคม

  • นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียน ซึ่งในแต่ละเดือน นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยนำส่ง 2 ส่วน คือ ในส่วนของลูกจ้าง (ทุกคน) หักนำส่งในอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 750 บาท) และเงินสมทบส่วนของนายจ้างเท่ากับส่วนของลูกจ้างทุกคน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของกระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

3 สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนที่อยากเป็น เจ้าของธุรกิจ SMEs ที่คุณได้อ่านไปเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องการทำธุรกิจเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำถามเช็คความพร้อม รูปแบบหลักของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งข้อกฎหมายที่ควรรู้เมื่อเริ่มทำธุรกิจ หากคุณกำลังจะเริ่มที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างจริงจัง และรู้แล้วว่าอยากทำธุรกิจประเภทใด แนะนำให้ลองศึกษาขั้นตอนการทำธุรกิจของด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างจริงจังนะคะ


ท่านใดสนใจอยากให้เขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3dDnCHF
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3b8iQ3w