แบไต๋ เทคนิคขายธุรกิจแฟรนไชส์ จากหลัก 10 ไป 100 สาขา ทำยังไง

ปัจจุบันอาชีพเซลหรือนักขายมีความสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ เพราะหน้าที่ของทีมเซลคือการเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นบริษัทแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ หันมาพึ่งทีมเซลหรือนักขายเพื่อเพิ่มยอดขายและจำนวนสาขา

หากเจ้าของแฟรนไชส์ท่านใดที่อยากขยายสาขาให้ได้จำนวนมากๆ จาก 10 ไป 100 สาขาในปี 2566 วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางในการขายแฟรนไชส์มาแนะนำให้ทราบครับ

เทคนิคขายธุรกิจแฟรนไชส์

1.เก็บรวบรวมข้อมูลการขายแบบ CRM

การติดตามงานขายด้วยระบบที่มีคุณภาพมีความสำคัญสำหรับทีมขายแฟรนไชส์ เพราะระบบติดตามที่ดีจะช่วยตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอนได้ ทำให้รู้ว่าผลงานต่างๆ ถึงจุดไหนแล้วหรือใกล้ปิดการขายได้หรือยัง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บหรือติดตามกิจกรรมต่างๆ รวมถึงข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับดีลกับลูกค้าเป้าหมาย จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกขั้นตอน โดยระบบ CRM สามารถสร้างรายงานยอดขายจากข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ได้ทันที

2.ตรวจสอบกิจกรรมการขายสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบการเก็บกิจกรรมการขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ว่าทำอะไรลงไปบ้าง เช่น การส่งอีเมล์หาลูกค้ากี่ครั้ง กี่คน ประชุมทีมงานขายกี่ครั้งในรอบสัปดาห์ รวมถึงโทรศัพท์หาลูกค้าเป้าหมายกี่คน และมีลูกค้ากี่ที่แสดงท่าทีสนใจซื้อแฟรนไชส์

เทคนิคขายธุรกิจแฟรนไชส์

3.จัดตารางกิจกรรมการขายที่จะต้องทำ

วางแผนและจัดลำดับขั้นตอนการขาย ช่วยทำให้ทีมขายไม่หลงไปกับการทำกิจกรรมส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป ทีมขายแต่ละคนต้องตั้งกรอบเวลาในการทำงานของตัวเอง เพื่อป้องกันการใช้เวลาในการทำงานนานเกินไปในส่วนที่ไม่สำคัญ เพราะเวลาที่จะติดต่อพูดคุยกับลูกค้าเป้าหมายจนกระทั่งปิดการขายได้ คือ สิ่งที่มีค่าที่สุดของพนักงานขาย

4.กระตุ้นลูกค้าเพื่อปิดการขายให้ได้เร็ว

หลังจากทีมขายแฟรนไชส์ได้รายชื่อลูกค้าเป้าหมายมาแล้ว ควรที่จะสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อแฟรนไชส์เร็วขึ้น เพื่อนำไปสู่การปิดดีลการขายได้เร็วขึ้น โดยวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างแรงจูงใจ คือ การสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานขายแฟรนไชส์กับลูกค้าเป้าหมาย ช่วยทำให้ลูกค้ามั่นใจในธุรกิจแฟรนไชส์ของบริษัทา

7

5.หาเวลาโทรศัพท์พูดคุยกับลูกค้าเสมอ

ทีมขายแฟรนไชส์ที่ดี ควรพยายามหาเวลาที่จะโทรศัพท์เพื่อติดต่อพูดคุยกับลูกค้า สร้างความประทับใจให้ลูกค้า และหาโอกาสนัดหมายพูดคุยเพื่อนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์หรือปิดดีลต่อไปอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสการปิดดีลให้มากยิ่งขึ้น

6.ส่งอีเมล์เพื่อสร้างกิจกรรมการพูดคุย

ไม่ว่าจะเป็นการส่งสิ่งที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ส่งคอนเทนต์ที่ดีกับลูกค้า โดยที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทฯ ที่สำคัญอย่าลืมว่าอีเมล์ของเราจะเข้าไปอยู่ในกล่องข้อความที่มีคู่แข่งหรือมีอีเมล์ อื่นๆ อีกหลายร้อยอีเมล์ กล่าวถึงชื่อลูกค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อบริษัท ตำแหน่ง เพื่อแสดงถึงความใส่ใจ และควรตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนส่งอีเมล์ให้ลูกค้าทุกครั้ง

เทคนิคขายธุรกิจแฟรนไชส์

7.หาเวลาที่เหมาะสมติดต่อพูดคุยกับลูกค้า

หากทีมงานขายใช้วิธีการโทรไปแล้วไม่รับ ส่งอีเมล์ก็ไม่เปิดดู ให้ทีมขายแฟรนไชส์ลองเช็คเรื่องของเวลาที่โทรศัพท์หรือเวลาที่ส่งอีเมล์ให้ลูกค้าเป้าหมายดูว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยช่วงเวลาที่เหมาะกับการโทรศัพท์เป็นช่วงประมาณเวลา 10.00-11.00 น. หรือ ช่วงตอนบ่ายราวๆ เวลา 14.00-15.00 น. รวมถึงตรวจสอบอีเมล์ย้อนหลัง เพื่อดูว่าอีเมล์แบบไหนที่ทำให้เกิดการนัดหมาย และปิดดีลการขายแฟรนไชส์ได้ในที่สุด หรืออีเมล์ไหนที่ลูกค้าไม่ได้เปิดดู เพื่อศึกษาและปรับปรุงแก้ไข

8.พยายามรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า

ทีมขายแฟรนไชส์ที่ดีไม่ใช่แค่ขายเก่งอย่างเดียว ต้องพยายามรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ให้นานที่สุด เพื่อให้ต่อดีลการซื้อแฟรนไชส์ไปเรื่อยๆ เพราะจากผลสำรวจการได้ปิดดีลกับลูกค้าเดิม มีโอกาสจ่ายเพิ่มมากกว่าลูกค้าใหม่

เทคนิคขายธุรกิจแฟรนไชส์

9.พูดคุยสื่อสารและประชุมทีมงานเป็นประจำ

ความสัมพันธ์ของคนในทีมขายแฟรนไชส์ เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การดูแลลูกค้าเก่า คนในทีมขายควรพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการขาย ถามไถ่ปัญหาระหว่างการขายแฟรนไชส์ซึ่งกันและกัน และช่วยกันวางกลยุทธ์ในการขายของบริษัท เพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้เร็วที่สุด

นั่นคือ 9 เทคนิคขายธุรกิจ แฟรนไชส์ จากหลัก 10 สาขาไป 100 สาขา ในช่วงปี 2566


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. รวบรวมข้อมูลการขายแบบ CRM
  2. ตรวจสอบกิจกรรมการขายสม่ำเสมอ
  3. จัดตารางกิจกรรมการขายที่จะต้องทำ
  4. กระตุ้นลูกค้าเพื่อปิดการขายให้ได้เร็ว
  5. หาเวลาโทรศัพท์พูดคุยกับลูกค้าเสมอ
  6. ส่งอีเมล์เพื่อสร้างกิจกรรมการพูดคุย
  7. หาเวลาที่เหมาะสมติดต่อพูดคุยกับลูกค้า
  8. พยายามรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า
  9. พูดคุยสื่อสารและประชุมทีมงานเป็นประจำ

ข้อมูล https://bit.ly/3W2rkyz

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BLFsUz


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต