เปิดสูตรต้นทุน ร้านขายข้าวสาร ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง

เมืองไทยได้ขึ้นชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” และข้าวก็เป็นอาหารจานหลักของคนไทย แม้จะรับธรรมเนียมต่างชาติเข้ามามาก เด็กบางคนอาจชอบกินขนมปังมากกว่าข้าว หรือบางคนก็กินก๋วยเตี๋ยวเพราะรู้สึกอร่อยกว่าข้าว แต่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะเกินร้อยละ 80 ก็ยังนิยมบริโภคข้าวเช่นเคย

ร้านขายข้าวสาร จึงเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ สังเกตว่า ร้านขายข้าวสาร ยุคใหม่มีข้าวสารให้เลือกมากมายตั้งแต่ข้าวหอมมะลิที่มีทั้งข้าวหอมใหม่ ข้าวหอมเก่า จากหลายจังหวัด ทั้งสุพรรณบุรี ปทุมธานี หรือจะเป็นข้าวนาปี นาปรัง ข้าวเหนียว และอีกหลายๆข้าว ที่ราคาก็แตกต่างกันไปด้วย

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายหากคิดจะเปิดร้านขายข้าวสารอย่างน้อยต้องรู้จักวิธีการหาสินค้า การเข้าหาลูกค้า การทำตลาดที่ถูกใจลูกค้า รวมถึงรู้จักการตั้งราคาขายและการบริหารต้นทุนที่มีผลต่อกำไรของธุรกิจอย่างมาก

เปิดร้านขายข้าวสารจะมีกำไรแค่ไหน?

ร้านขายข้าวสาร

ข้ามขั้นตอนมาถึงเรื่องที่คนอยากรู้กันก่อนเลยว่าเปิดร้านขายข้าวแล้วจะรวยได้ยังไง แต่ต้องบอกก่อนเลยว่าไม่ใช่ทุกคนที่ลงทุนแบบนี้แล้วจะรวย เพราะรูปแบบการขายในท้องตลาดทั่วไปมีหลายแบบ เช่น บรรจุถุง 5 กก. บรรจุ 15 กิโลกรัม (1ถัง) หรือ บรรจุ 49 กก. (1 กระสอบ) ลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อแบบ 5 กก. หรือซื้อแบบยกถัง (15 กก.)

และอีกส่วนหนึ่งก็จะขายตามความต้องการของลูกค้าอาจจะ 1 กก. 2 กก. 3 กก. แล้วแต่ความพอใจของลูกค้า ส่วนการขายแบบยกกระสอบ (49 กก.) มักจะเป็นการขายส่งให้ตามร้านอาหาร ร้านข้าวแกง ข้าวนึ่ง ที่ต้องใช้ปริมาณข้าวในแต่ละวันจำนวนมาก

ผลตอบแทนคิดแบบง่ายๆ เริ่มต้นจากร้านเล็กๆ แบบขายปลีก ตักข้าวสารขายหน้าร้าน กำไรจะอยู่ที่ประมาณกิโลละ 5-7 บาท ทั่วไปกำไรจะอยู่ประมาณ 10-15% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิดข้าวสาร กลยุทธ์การขาย การตั้งราคา คู่แข่ง จำนวนร้านค้าที่มีอยู่ในละแวกนั้นด้วย

แต่ถ้าขายแบบขายส่งเป็นถุง(ขนาด 49 กก.) ตามร้านลูกค้า อาจจะกำไรประมาณ 200-300 บาท มากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดข้าว จำนวนสินค้า ลักษณะการชำระเงิน (เงินสดหรือเงินติด) และคู่แข่ง

อยากเริ่มต้นเปิดร้านขายข้าวสารต้องทำยังไง?

ร้านขายข้าวสาร

ภาพจาก FB : ร้านขายส่งข้าวสารรัตนรุ่งเรือง บางใหญ่

1.เลือกรูปแบบร้านสำหรับการลงทุน

เราต้องตัดสินใจก่อนว่าร้านเราจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ การเป็นร้านเล็กหมายถึงเงินลงทุนน้อยกว่า การลงสินค้า (ข้าวสาร) ก็น้อยกว่า โอกาสในการขายก็อาจจะน้อยกว่าร้านใหญ่ๆ แต่หากเลือกลงทุนเปิดร้านใหญ่ๆ ขั้นต้นใช้เงินทุนไม่ต่ำกว่าหลัก 100,000 สำหรับการซื้อสินค้าและต้นทุนผันแปรต่างๆ

2.ติดต่อหาแหล่งสินค้ามีคุณภาพในราคาเหมาะสม

แหล่งของวัตถุดิบจำพวกข้าวสาร ก็ต้องอาศัยจากโรงสี หรือจากโกดังข้าว โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่แน่นอนเช่นกันว่าเขาก็ต้องมีลูกค้าประจำที่มารับสินค้า หากเราเป็นหน้าใหม่ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างเครดิตเพื่อบางทีอาจจะได้สินค้ามาขายก่อนแล้วจ่ายเงินทีหลังหรือหากใครที่โชคดีหน่อยที่มีญาติพี่น้องทำนาเป็นอาชีพหลัก อาจจะสามารถหาซื้อข้าวสารรูปแบบต่างๆ มาในราคาที่ถูกลงได้

ร้านขายข้าวสาร

ภาพจาก FB : ร้านขายส่งข้าวสารรัตนรุ่งเรือง บางใหญ่

3.คิดเรื่องการตลาดที่ทำให้สู้กับคู่แข่งได้

ด้วยความที่ข้าวสารมันก็เหมือนๆ กัน ลูกค้าอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อประจำจากร้านใดร้านหนึ่ง แต่หากเราเป็นร้านข้าวสารที่ทำให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาซื้อซ้ำได้ ก็จะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง ทำให้ทราบปริมาณความต้องการสินค้าคร่าว ๆในแต่ละเดือน ซึ่งนอกจากลูกค้าทั่วไปเราต้องขยันเข้าหาลูกค้ารายใหญ่เช่น ร้านอาหาร ร้านข้างแกง เพื่อโอกาสในขายสินค้าที่มากขึ้น

4.รักษาคุณภาพสินค้าให้คงที่เสมอ

บางรายอาจเคยเจอปัญหาคือซื้อข้าวสารจากร้านหนึ่งเจ้าของบอกว่าข้าวดี หุงไม่แฉะ ใส่น้ำไม่ต้องเยอะ แต่บางทีข้าวที่ได้ออกมา ก็แฉะบ้าง แข็งบ้าง เรื่องความรู้ของคนขายเกี่ยวกับข้าวสารแต่ละชนิดต้องดีชนิดที่ถ่ายทอดให้ลูกค้าเข้าใจได้ และมาตรฐานของข้าวสารต้องให้คงที่ ไม่มีมอด ไม่มีกรวด ข้าวเก่าก็บอกข้าวเก่า ข้าวใหม่ก็บอกข้าวใหม่ หุงดีหุงไม่ดี ก็ต้องบอกลูกค้าไปตามความจริง อันจะเป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ทางหนึ่งด้วย

สูตรการคำนวณต้นทุนกำไรร้านขายข้าวสาร

ร้านขายข้าวสาร

ภาพจาก FB : ร้านขายส่งข้าวสารรัตนรุ่งเรือง บางใหญ่

เนื่องจากร้านขายข้าวสาร ราคาของข้าวแต่ละชนิดจะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจ เช่นหากน้ำไม่พอทำนา ชาวนาทำนาไม่ได้ราคาข้าวอาจจะแพงขึ้น ต้นทุนหลักๆของร้านขายข้าวสารคือ

สินค้าที่อาจจะรับมาขายก่อนแล้วจ่ายทีหลังหรือบางคนอาจจะได้ญาติพี่น้องเป็นคนทำข้าวแล้วส่งข้าวสารมาให้ขายอันนี้ต้นทุนก็จะถูกลง แต่โดยรวมแล้วสูตรการคิดกำไรโดยเฉลี่ยเป็นดังนี้

42

หมายถึงว่าในแต่ละเดือนร้านขายข้าวสารต้องรู้รายจ่ายก่อนว่า ในเดือนนี้เราซื้อวัตถุดิบ (ข้าวสาร) เข้ามาเท่าไหร่ และเมื่อรวมกับต้นทุนผันแปร เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าคนงาน ค่าขนส่ง ต่างๆ หารด้วยเวลาใน 1 เดือนจะรู้ว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อวันคือเท่าไหร่เพื่อจะได้กำหนดทิศทางการขายว่าควรจะต้องขายได้เท่าไหร่เพื่อให้ได้มีกำไรในแต่ละเดือน

ส่วนใหญ่ก็ต้องการขายให้ได้ครั้งละมากในแต่ละเดือนไว้ก่อนเพื่อมาหักลบกลบหนี้จะได้มีตัวเลขรายได้รวมที่เยอะกว่ารายจ่าย แต่บางครั้งการซื้อสินค้า 1 ล็อต (ข้าวสาร) อาจขายได้มากกว่า 2-3 เดือน ตัวเลขเหล่านี้ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่สถานการณ์ของแต่ละบุคคล

ร้านขายข้าวสาร

ภาพจาก bit.ly/2JL0eZV

ถ้ามองว่าการขายข้าวสารรวยยากเราจะขอยกตัวอย่างของ หวัง โหย่ง ฉิ้ง เศรษฐีอันดับหนึ่งของไต้หวันที่เริ่มต้นมาจากเงินทุนแค่ 200 เหรียญเปิดร้านขายข้าวสารเล็กๆ ทำเลที่เปิดร้านก็ใช่จะดี แต่สิ่งที่เขาทำคือพยายามเข้าหาลูกค้า อย่างการแบกข้าวสารไปเร่ขายทีละถุงตามบ้าน

แม้จะพอขายได้บ้างแต่รวมๆ แล้วก็ยังไม่ดีมากพอ จนเขาเริ่มมองเห็นช่องทางว่าข้าวสารในยุคที่เขาขายเครื่องจักรในการสีข้าวยังไม่ได้มาตรฐาน มีทั้งกรวด และข้าวเปลือกปะปนเป็นปัญหาของแม่บ้านในไต้หวัน เขาจึงลงมือแยกสิ่งแปลกปลอมในข้าวสารที่เขาขายจนกลายเป็นข้าวสารที่สะอาดไม่มีอะไรเจือปนและนำสินค้านี้ไปจำหน่าย

จนกลายเป็นจุดเด่นว่าข้าวสารร้านนี้คุณภาพดี สะอาด ไม่ต้องเสียเวลาซาวหลายครั้ง ยอดขายของหวัง โหย่ง ฉิ้งก็ดีขึ้นทันตา รวมกับการคิดรูปแบบบริการส่งข้าวสารฟรีให้ลูกค้าไม่ต้องแบกเอง ก็ยิ่งทำให้ร้านข้าวสารของเขาขายดียิ่งขึ้น

และนี่คือจุดเริ่มของการเปลี่ยนชีวิตจากคนที่ไม่มีเงินทุนมาเริ่มต้นเปิดร้านขายข้าวสารและปัจจุบันกลายเป็นเศรษฐีอันดับต้นๆของไต้หวันมีสินทรัพย์กว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และร้านข้าวสารของเขาก็เป็นจุดเริ่มสู่การทำธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย นี่คือตัวอย่างของคนเปิดร้านขายข้าวสารที่รู้จักทำตลาด รู้จักคิด ทำให้ตัวเองอยู่เหนือคู่แข่งจนประสบความสำเร็จได้อย่างดี

*** สูตรการคิดคำนวณราคาดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด