อนาคต! เทรนด์แฟรนไชส์ของไทย

ต้องยอมรับว่า ยุคปัจจุบันผู้คนหันมา สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ กันมากขึ้น เห็นได้จากเจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการ พอทำได้สักพัก ธุรกิจของตัวเองขายดิบขายดี มีการเติบโต ก็อยากจะสร้างระบบแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจของตัวเอง

ขณะที่ผู้ที่อยากมีธุรกิจ หรือกิจการเป็นของตัวเอง ก็หันมานิยมซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม ประสบความสำเร็จในยอดขาย เพราะเป็นการลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเอง อีกทั้งยังได้แบรนด์ธุรกิจที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว

แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมว่า ต่อจากนี้เป็นต้นไป คือ ตั้งแต่ปี 2561 เทรนด์และรูปแบบของการทำแฟรนไชส์จะเปลี่ยนแปลงไป วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเล่าให้ฟังจากเวทีสัมมนาของ ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ กูรูด้านแฟรนไชส์อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ซึ่งถือว่าน่าสนใจและน่าติดตามอยู่ไม่น้อยครับ

สนใจธุรกิจแฟรนไชส์

คุณผู้อ่านลองถามตัวเองก่อนว่า ถ้าเป็นได้อยากจะซื้อแฟรนไชส์กี่แบรนด์ เชื่อว่าหลายคนคงอยากมีหลายๆ แบรนด์ หลายๆ กิจการแฟรนไชส์ แต่ถ้าในมุมมองเจ้าของแฟรนไชส์ล่ะ คุณอยากจะเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เพียงแค่ 1 แบรนด์หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงอยากจะมีหลายๆ แบรนด์เช่นเดียวกัน

และถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง สินค้าและบริการเป็นที่นิยมของตลาดและผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย แล้วคุณอยากจะขยายกิจการแฟรนไชส์ไปในต่างประเทศหรือไม่ คิดว่าเจ้าของแฟรนไชส์หลายๆ คน อยากไป

ที่กล่าวไปทั้งหมด ก็คือ เทรนด์แฟรนไชส์ต่อจากนี้ ที่เรากำลังจะได้เห็น และเห็นมาแล้วบ้าง คือ

p2

1.ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี จะนิยมซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์ หรือมากกว่า 1 แบรนด์ มาทำธุรกิจ อาจจะในพื้นที่จังหวัด หรืออำเภอ หรือประเทศ แฟรนไชส์ซี 1 คน หรือ 1 บริษัท สามารถบริหารสาขาแฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์ ถ้าคุณผู้อ่านนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึง กลุ่มไมเนอร์ฯ และ CRC (เซ็นทรัล) เป็นแฟรนไชส์ซี แต่บริหารแฟรนไชส์หลายแบรนด์

p3

2.เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ จะสร้างธุรกิจ หรือสร้างแบรนด์แฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์ คือ เป็นเจ้าของแฟรนไชส์หลายแบรนด์ อาจจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือต่างกัน

จะเป็นลักษณะของ การสร้างแบรนด์อีกแบรนด์ขึ้นมาซับอีกแบรนด์แฟรนไชส์ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น (ไจแอ้น-ซูโม่ปลาระเบิด) เจ้าของคนเดียวกัน หรือ เครือซี.พี.ก็มีแฟรนไชส์หลายแบรนด์ เช่น 7-11, เชสเตอร์ เป็นต้น

p4

3.แฟรนไชส์จะ Go inter คือ เจ้าของแฟรนไชส์จะหันมานิยมขยายสาขาแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันก็มีแบรนด์แฟรนไชขส์ราวๆ 30 แบรนด์ได้ขยายสาขาไปต่างประเทศแล้ว

อาทิ แฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ความงาม/สปา และค้าปลีก เป็นต้น ที่สำคัญการขยายสาขาในต่างประเทศ บางครั้งเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ต้องลงทุนสักบาท เหมือนกับว่าให้สิทธินักลงทุนในพื้นที่ประเทศนั้นๆ บริการจัดการและขยายสาขาแทน

p6

สรุปก็คือ เทรนด์และรูปแบบการทำแฟรนไชส์ในประเทศไทย จะเปลี่ยนแปลง ในลักษณะของผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะซื้อแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มาทำธุรกิจ และเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะสร้างแบรนด์แฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์ขึ้นมา เป็นลักษระของซับแฟรนไชส์ คอยชื่ยเหลือเกื้อกูลกัน อีกทั้งแฟรนไขส์ไทยจะขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น

สนใจซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ต่างๆ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com

Franchise Tip

  • แฟรนไชส์ซีจะซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์มาทำธุรกิจ
  • แฟรนไชส์ซอร์จะสร้างแฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์
  • แบรนด์แฟรนไชส์ไทยจะขยายสาขาในต่างประเทศมากขึ้น

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3aFcrgH

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช