สร้างธุรกิจ “แบบทุนน้อย” ทำยังไงให้ “ขายดี”?

เชื่อว่าหลายคนต้องการเป็น “นายตัวเอง” เพราะเบื่อกับชีวิตงานประจำที่บางทีชักหน้าไม่ถึงหลัง ทำงานหนักแทบตายสุดท้ายคนรวยก็คือเจ้าของกิจการ แต่มาคิดอีกทีจะไปเริ่ม สร้างธุรกิจแบบทุนน้อย คู่แข่งก็มาก โอกาสเติบโตริบหรี่เต็มทน โอกาสเติบโตริบหรี่เต็มทน www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่อยากรู้ว่ามีวิธีไหนอย่างไรที่จะสร้างธุรกิจจากทุนน้อย ทำยังไงให้ขายดี ให้เติบโตเป็นธุรกิจใหญ่กำไรเยอะได้

“เงินทุนน้อย” ก็ต้องขยันให้มากขึ้น

สร้างธุรกิจแบบทุนน้อย

ทฤษฏีโลกสวยไม่มีอยู่จริงในการทำธุรกิจประเภทที่บอกว่าลงทุนน้อยไม่ต้องทำอะไรมาก เป็นธุรกิจแบบเสือนอนกินรอเงินปันผล เป็นเพียงแค่การขายฝัน ในความจริงถ้าเรามีทุนน้อยก็ต้องขยันให้เยอะ เช่นลงทุนเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวหรือขายอาหารตามสั่ง ถ้าเรามีเงินทุนมากก็สามารถจัดร้านยิ่งใหญ่ วางระบบแบบจัดเต็ม ทำการตลาดในทุกช่องทาง เรียกว่าทุ่มสุดตัว โอกาสที่จะมีกำไรก็รวดเร็วกว่า

แต่ในทางกลับกันเงินทุนน้อย ก็ต้องทำร้านแบบง่ายๆ เมนูไม่เยอะ การตลาดก็ต้องอาศัยบอกต่อ หรือเน้นบริการที่ดีให้คนรู้จักปากต่อปาก เป็นต้น อาจต้องใช้เวลาในการ “สร้างแบรนด์”ที่มากกว่า ถึงได้บอกว่าต้อง “ขยัน”มากขึ้นเพราะไม่สามารถใช้เงินแก้ปัญหาได้เหมือนคนรวยที่ทำธุรกิจ

เมื่อเป็นการก้าวทีละขั้นไม่ได้ก้าวกระโดดเหมือนคนรวยมาลงทุน มองในแง่ดีคือจะทำให้เรามีพื้นฐานทางธุรกิจที่รู้ลึก รู้จริง รู้ทุกปัญหาของธุรกิจที่ทำ การเติบโตอย่างช้าๆ ทำให้เราเข้าใจในทุกรายละเอียด มองเห็นทุกปัญหาและเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจของเราได้อย่างแข็งแรง แต่ก็ต้องอาศัยแรงกายแรงใจมากเป็นพิเศษด้วย

ทฤษฏี The 20 Mile March วิธี  ” สร้างธุรกิจแบบทุนน้อย ”

สร้างธุรกิจแบบทุนน้อย

ถ้าจะอ้างอิงเรื่องทฤษฏีก็เห็นจะหนีไม่พ้น The 20 Mile March หรือ กฎ 20 ไมล์ เป็นแนวคิดที่คนทำธุรกิจขนาดเล็กควรยึดถือไว้เป็นแบบอย่าง แนวคิดนี้เกิดขึ้นใน ศ.ศ. 1911 จากทีมสำรวจที่แข่งขันกันว่าใครจะเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้ได้ก่อน ทีมแรกใช้การเดินทางแบบมุทะลุ หวังจะไปให้ไกลที่สุด

ในขณะที่อีกทีมเดินทางแค่วันละ 20 ไมล์ ผลคือทีมนี้เป็นผู้ชนะ หลักการของแนวคิดนี้คือ “เดินไปข้างหน้าวันละนิด” และต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าใน 1-2 ปี เราควรไปอยู่จุดไหน เป็นเหมือนการตั้งความหวังที่เป็นขั้นบันไดหรือให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นลองมาดูสรุป 5 ข้อที่ได้จากทฤษฏีนี้

  1. ตั้งเป้าให้สำเร็จในแต่ละขั้น >> ไม่เกี่ยวว่ามีเงินทุนแค่ไหน สำคัญคือต้องมีเป้าหมายเริ่มจากขั้นแรกค่อยๆ ไต่ขึ้นไป
  2. ไม่ต้องกดดันตัวเอง >> แม้มีเป้าหมายแต่ก็ไม่ใช่การลงทุนแบบหักโหม อะไรที่เกินกำลังก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี
  3. มีแผนที่ชัดเจน >> และต้องมีแผนที่ยืดหยุ่นปรับไปตามสถานการณ์ที่เข้ามากระทบได้
  4. กำหนดกรอบเวลาให้ตัวเอง >> มีกรอบที่ชัดเจนว่าในระยะเวลาเท่าไหร่ ที่เราควรไปอยู่ตรงจุดไหน
  5. สนใจทีมงานด้วย >> ธุรกิจจะเดินหน้าไปสู่เป้าหมายไม่ได้หากทีมงานไม่มีคุณภาพ ลูกน้องไม่อยากทำงานให้เจ้านาย

สร้างธุรกิจแบบทุนน้อย

 

กฎ 20 ไมล์ อาจไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ชี้วัดว่าทำตามนี้แล้วจะประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจได้ทันที แต่อย่างน้อย กฎ 20 ไมล์ก็ถือเป็นกรอบปฏิบัติที่คนทำธุรกิจควรมีไว้เป็นแบบแผนเพื่อให้การลงทุนเดินหน้าได้อย่างมีเป้าหมาย ไม่สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง และไม่รู้ว่าต้องทำอะไร แบบไหน อย่างไร เพื่อให้ไปถึงความสำเร็จที่ต้องการ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3j93NLh

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ZmDF2t


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด