รวมวิธีเอาตัวรอดในปี 2566! เมื่อคนไทย “รายจ่าย” มากกว่า “รายรับ”

เข้าสู่ปี 2566 อย่างเป็นทางการช่วงเวลาแห่งความสุขในการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ผ่านพ้นไปต่อจากนี้คือช่วงเวลาสำคัญที่เราต้องกลับมาปากกัดตีนถีบสู้ๆ กันอีกครั้ง คาดการณ์ว่าในปี 2566 นี้ วิกฤติค่าครองชีพจะรุนแรงมากสวนทางกับรายได้ที่น้อยลงแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนส่วนใหญ่กังวลในเรื่องนี้อย่างมาก และหลายคนก็อยากรู้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนแบบนี้จะมีวิธีเอาตัวรอดยังไงได้บ้างวันนี้จึงจัดมาให้กับ รวมวิธีเอาตัวรอด ในปี 2566

ภาพรวมรายจ่ายคนไทยในปี 2566

รวมวิธีเอาตัวรอด

ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 เฉลี่ยที่ 18,145 บาท โดยมีรายจ่ายสำคัญได้แก่ ค่าที่พักอาศัย , ค่าอาหาร , ค่าโทรศัพท์ , ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ , ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ต่างๆ เป็นต้น สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ครัวเรือนไทยเกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่าค่าครองชีพเฉลี่ย เพราะกว่า 40% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 16,852 บาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายนที่ 18,146 บาท

และถ้ามองในเรื่องฐานรายได้พบว่ากลุ่มที่เรียกว่ารายได้น้อยสุดคือมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 11,135 บาท สำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 22,106 บาท ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับรายจ่ายเฉลี่ยทำให้มองเห็นภาพว่าแทบไม่มีเหลือเก็บ แค่ใช้ประทังชีวิตไปแต่ละเดือนก็ยังแทบไม่พอ

เมื่อรายได้ไม่พอก็ย่อมก่อให้เกิดตัวเลขหนี้ ซึ่งปัจจุบันหนี้ครัวเรือนเกิดจากหนี้ 3 ประเภทคือ หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ค่าใช้จ่าย อยู่ในระดับที่น่ากังวล ยอดหนี้รวมไปแตะ 14-15 ล้านล้านบาท และยิ่งมีตัวเลขก่อหนี้มากเท่าไหร่ก็ทำให้ตัวเลขของเงินที่ใช้ได้มีลดน้อยลง นั่นคือกำลังการซื้อก็จะลดลง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตก็ทำได้ยาก

ยังไม่นับรวมบรรดาราคาสินค้าและบริการซึ่งจ่อขึ้นราคาในปี 2566 อีกหลายอย่างเช่นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป รวมไปถึงการที่รถไฟฟ้า รถแท็กซ่ ก็ขอปรับขึ้นราคาด้วยเช่นกัน

และที่หนักสุดสำหรับภาคครัวเรือนคือค่าไฟ ค่าก๊าชหุงต้ม ในปีใหม่ ก็มีราคาใหม่ที่แพงกว่าเดิมด้วย และเมื่อมองดูภาพรวมทั้งหมดจะเห็นว่าปีนี้ต้องวางแผนการใช้งานและการจับจ่ายให้ดีเพราะถือว่าเป็นปีที่โหดหินสำหรับประชาชนคนธรรมดาอย่างมาก

รวมวิธีเอาตัวรอด ในปี 2566 เมื่อ “รายจ่าย” มากกว่า “รายรับ”

1.ต้องประหยัดให้มากที่สุด

เป็นวิธีเบื้องต้นที่เราต้องนำมาใช้ เพราะเมื่อพูดว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็หมายถึงถ้าเราสามารถจัดการกับตัวเลขรายจ่ายให้เหลือน้อยที่สุดได้ก็เท่ากับมีโอกาสที่จะเพิ่มเงินเก็บหรือเงินใช้หมุนเวียนได้มากขึ้น ซึ่งคำว่าประหยัดของแต่ละครัวเรือนอาจไม่เหมือนกัน จึงต้องพิจารณากันอย่างละเอียดว่าในครัวเรือนอะไรมีรายจ่ายอะไรที่จะช่วยกันประหยัดได้บ้าง

2.สร้างรายได้เพิ่มให้มากขึ้น

การทำงานที่มีรายได้หลักเพียงทางเดียวในยุคนี้ย่อมไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่มากขึ้น การจะทำให้อยู่รอดในปี 2566 ได้จึงควรเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนที่ไม่ต้องพึ่งแค่รายได้หลัก โดยเฉพาะคนที่ทำงานประจำเมื่อมีรายได้เพียงแค่เงินเดือนอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอในการใช้จ่าย ซึ่งการหารายได้เพิ่มอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนักแต่ถ้าลองคิดและหาวิธีการดีๆ ในยุคนี้ก็มีหลายวิธีช่วยเพิ่มรายได้เช่นการขายของตลาดนัด , การซื้อแฟรนไชส์ , การขายของออนไลน์ , การใช้ความสามารถพิเศษในการสร้างรายได้ เป็นต้น

3.อย่าสร้างหนี้เพิ่ม

รวมวิธีเอาตัวรอด

การไม่มีหนี้เพิ่มก็เท่ากับว่ารายจ่ายเราไม่เพิ่มแม้รายได้จะไม่เพิ่มแต่ก็พอจะทำให้สถานะการเงินเราคล่องตัวขึ้นได้ แม้คาดว่าเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้จะยิ่งดันให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอีกมาก ในระยะยาวจะมีปัญหาการชำระคืนอย่างชัดเจน ดังนั้น ทางที่ดีควรวางแผนการใช้เงินให้ดีและหากเป็นไปได้ชะลอการก่อหนี้เพิ่มต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

4.วางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำบัญชีอาจไม่ช่วยให้เรามีเงินเพิ่มขึ้น แต่การทำบัญชีหรือวางแผนการเงินก็จะทำให้เราเห็นเส้นทางการเงินในแต่ละเดือนนำไปสู่การหาวิธีอุดรูรั่วที่ไม่จำเป็น และอาจทำให้เรามีเงินเหลือเก็บได้มากขึ้น แต่หลายคนก็อาจมองว่าแค่ให้มีเงินใช้ตลอดเดือนยังทำไม่ได้แล้วจะเสียเวลามาทำบัญชีเพื่ออะไร ทั้งนี้เรื่องวางแผนการเงินคือการฝึกวินัยในการใช้จ่ายที่ต้องทำควบคู่กับการประหยัดและการหาเงินเพิ่ม

5.ใช้เงินต่อยอดสร้างรายได้

รวมวิธีเอาตัวรอด

มีคนกล่าวว่า “เก็บเงินอย่างเดียวไม่รวย” ถ้าอยากรวย “ต้องลงทุน” แต่การลงทุนก็มีความเสี่ยง ยิ่งไม่มีเงินให้เสี่ยง การลงทุนใดๆ ยิ่งต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี การใช้เงินต่อยอดสร้างรายได้อาจเป็นวิธีที่ดี แต่ก็ต้องมีการเลือกหาข้อมูลการลงทุนที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน , พันธบัตร , การออมทอง หรือใดๆ ก็ตาม วิธีการนำเงินมาต่อยอดเหล่านี้อาจให้ผลดีในระยะยาวแต่ก็ต้องควบคู่กับการวางแผนการเงินที่ดีร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามภาพรวมในปี 2566 เชื่อว่าเราจะต้องเผชิญกับหลายอย่างที่ไม่คาดคิด ดังนั้นทุกการใช้จ่ายจึงต้องวางแผนให้ดี ใครที่อยากลงทุนก็ต้องประเมินความเสี่ยงและวางแผนในการบริหารจัดการให้ดี การติดตามข้อมูลข่าวสารในด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถือว่ามีสำคัญมาก รวมถึงการใช้กลยุทธ์การตลาดที่ดีก็ล้วนแต่มีส่วนให้การลงทุนมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3WivbaB , https://bit.ly/3IhGQT2 , https://bit.ly/3jKlbZE

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3VToJ94


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด