รวมค่าใช้จ่าย! แฟรนไชส์ซีต้องจัดการในระบบแฟรนไชส์

แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะถูกออกแบบให้เจ้าของธุรกิจ ไม่ต้องเสียเงินลงทุนในการขยายสาขาให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่ต้องเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ในการก่อร่างสร้างธุรกิจด้วยตนเองตั้งแต่เริ่มต้น แต่อย่าลืมว่าระบบแฟรนไชส์เป็นเรื่องของการลงทุน ช่วยเหลือเกื้อหนุน ให้การสนับสนุนกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นค่าใช้จ่ายและต้นทุน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้รู้ว่า ในระบบแฟรนไชส์นั้นมีต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะหากผู้ซื้อแฟรนไชส์บริการจัดการไม่เป็น หรือไม่มีความรู้เรื่องต้นทุนและค่าจ่าย เชื่อว่าธุรกิจคงไปไม่รอดอย่างแน่นอน

1.ต้นทุนดำเนินการ

รวมค่าใช้จ่าย! แฟรนไชส์ซี

แฟรนไชส์ซีต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่ง ให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซอร์จะเสนอสินค้าและบริการให้ ในลักษณะจ่ายเชื่อก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินไปเท่านั้น เมื่อถึงเวลากำหนด แฟรนไชส์ซียังคงจะต้องจ่ายค่าสินค้าในที่สุด

2.ต้นทุนการตกแต่งร้าน

226

ต้นทุนการตกแต่งร้าน หมายถึงต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่แฟรนไชส์ซี จะต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของร้านค้า ให้เหมือนกับที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด ต้นทุนนั้นจะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้น แฟรนไชส์ซีจำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แม้จะต้องจ่ายไปก่อนที่จะเริ่มมีลูกค้าเข้าร้านก็ตาม

3.ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee)

ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นคือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตรา หรือเครื่องหมายการค้า / บริการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดี แฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนรายจ่ายนี้ ยกตัวอย่างเช่น การให้ความรู้และการอบรม

227

การให้ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า หรือออกแบบจุดขาย (Outlet) ที่ได้แสดงการจัดวางตำแหน่งในพื้นที่ที่เหมาะสม การให้คำปรึกษา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลประโยชน์ต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์
ดังนั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องพยายามสอบถามว่า จะได้รับขอเสนอในบริการหรือสินค้าในลักษณะใด สำหรับจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายไป โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเปิดดำเนินกิจการจนกระทั่งเกิดรายได้

4.เงินรายงวด / ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Royalty Fee)

เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ โดยปกติแฟรนไชส์ซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์คิดเป็นอัตราร้อยละของยอดขาย หรือรายได้ของกิจการตามรอบระยะเวลา ที่มักจะเป็นรอบรายเดือน ราย 2 เดือน หรือไตรมาส ก็เพื่อช่วยให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถตรวจสอบ หรือควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์

228

ในกรณีที่แฟรนไชส์ซีมีผลประกอบการที่ไม่ดี ก็จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน แฟรนไชส์ซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย (Marketing or Advertising Fee)

ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขึ้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเปรียบก็เสมือนหนึ่งค่าภาษีที่ทุกคนในฐานะพลเมืองของประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาลเพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง

สำหรับเงินรายงวดในธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท อาจจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของเงินรายงวดนี้ จะขึ้นอยู่กับการให้บริการเพิ่มเติมของแฟรนไชส์ซอร์ ยิ่งมีการให้บริการต่างๆ มาก อัตราค่า Royalty Fee บนยอดขาย มักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทการให้บริการ มักอยู่ที่ 8-10% อย่างไรก็ตาม อัตราเฉลี่ยข้างต้น มิได้หมายความว่าเป็นอัตราที่เหมาะสำหรับธุรกิจ แต่ขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานสนับสนุนของแต่ละธุรกิจแฟรนไชส์

229

สรุปก็คือ ในระบบแฟรนไชส์ แม้ว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีจะไม่ได้เสียเงินจำนวนมากในการสร้างธุรกิจด้วยตนเอง แต่ แต่แฟรนไชส์ซีก็ต้องยอมเสียเงินในการแลกกับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง หากแฟรนไชส์ซีมีการจัดการตามระบบที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเอาไว้

อ่านบทความอื่นๆ จากแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

สนใจซื้อแฟรนไชส์ดังๆ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


Franchise Tip

  1. ต้นทุนดำเนินการ
  2. ต้นทุนการตกแต่งร้าน
  3. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee)
  4. เงินรายงวด / ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Royalty Fee)

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3rp9I0O

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช