มาตรฐาน แฟรนไชส์ (Franchise Standard) เกณฑ์ชี้วัดความเป็นมืออาชีพ!

ธุรกิจแฟรนไชส์ จะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของคุณได้ผ่านกระบวนการสร้าง มาตรฐาน มาก่อนหรือเปล่า เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานจะเป็นรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็งและเจริญเติบโตให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเอง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มาฝากท่านเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ทุกท่านครับ

มาตรฐาน

มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญ คือ ระบบการปฏิบัติงาน คุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์) องค์ประกอบเหล่านี้ คือ เกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่เป็นตัวชี้วัดว่าธุรกิจคุณมีโอกาสเติบโตหรือไม่

โดยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

มีหลักเกณฑ์สำคัญของมาตรฐานแฟรนไชส์ ได้แก่

  • การนำองค์กร (120 คะแนน)
  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (100 คะแนน)
  • การมุ่งเน้นลูกค้า (120 คะแนน)
  • การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (80 คะแนน)
  • การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (100 คะแนน)
  • การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (130 คะแนน)
  • ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (350 คะแนน)

คะแนนรวม 1,000 คะแนน คะแนนมาตรฐาน คือ 650 คะแนน ซึ่งเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์สามารถเข้าไปรับคำปรึกษาและประเมินคุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ได้เลยที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ii5

เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์โดยมีผู้บริหารแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษามาตรฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้การจำแนกกลุ่มลูกค้าและตลาด จะช่วยให้การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจตอบสนองได้ตรงประเด็น ตรงใจลูกค้า และความหมายของลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่หมายรวมถึง แฟรนไชส์ซี หรือ ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ไปดำเนินธุรกิจตามที่หวังผลสำเร็จเหมือนกับแฟรนไชส์ซี ซึ่งมาตรฐานแฟรนไชส์ ควรคำนึงถึงทุกมิติ

ii6

ดังนั้นการฟังเสียงลูกค้า (Voice of Customer) และการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus) ในเกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (Workforce Focus) เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ในมาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและบุคคลในกิจการ ได้แก่ การสร้างความผูกพันโดยการเพิ่มคุณค่าของบุคลากร มีการวางแผนอาชีพ (Career Path) การกำหนดลักษณะงาน (Job Description) การพัฒนาบุคลากร เช่นการฝึกอบรม การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน และต้องประเมินความผูกพันของบุคคลทุกๆ ปีด้วย ซึ่งไม่ใช่บุคคลในกิจการเท่านั้น

ขณะที่ แฟรนไชส์ซี เปรียบเสมือนหุ้นส่วนธุรกิจที่จะต้องพัฒนาเป็นประจำ ทั้งด้านพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำ และการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และทุกครั้งในการพัฒนาจะต้องประเมินผลด้วยว่ามีผลตอบรับเป็นอย่างไร นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสร้างความผูกพันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ii7

สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานแฟรนไชส์ ที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้อยู่รอด นอกจากการสร้างมาตรฐานแฟนไชส์แล้ว คือ คุณในฐานะแฟรนไชส์ซอร์ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแฟรนไชส์ซี หากแฟรนไชส์ซอร์จะหวังรวยอยู่ข้างเดียวปล่อยให้แฟรนไชส์ซีซื้อสิทธิไปแล้วทิ้งขว้าง อนาคตของแฟรนไชส์ซอร์นั้นก็ไปได้ไม่นาน

ถ้าหากจะยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน ต้องยกระดับความสัมพันธ์จนกระทั่งให้เกิดความผูกพันกันได้ แฟรนไชส์ซอร์จะประสบความสำเร็จได้เมื่อแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จแล้ว นี่คือเกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ยอมรับกันทั่วโลก

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2EMZqUU

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช