กลยุทธ์ Blind Date Books ดึงกระแสคนอ่านจากร้านหนังสือในออสเตรเลีย

กลายเป็นแพะรับบาปกันไปเต็มๆสำหรับเรื่องของไอทีที่ แวดวงหนังสือ ต่างยกให้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ธุรกิจร้านหนังสือซบเซากันอย่างทันตาเห็น ไม่ต้องมองไปไกลแค่ในประเทศไทยตามแผงหนังสือหรือร้านขายหนังสือชั้นนำเราก็เห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี

ไหนจะบรรดานิตยสารต่างๆที่ทยอยปิดตัวกันไปเป็นจำนวนมาก ที่ยังพอเหลืออยู่ก็ต้องงัดกลยุทธ์การอยู่รอดออกมาใช้กันเต็มที่ด้วยการเพิ่มรูปแบบการเข้าถึงผู้บริโภค พัฒนารูปเล่มใหม่ และทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะนึกได้เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้มากที่สุด

ไม่ใช่แค่ในบ้านเราเท่านั้นแต่ปัญหานี้กระทบไปทั่วโลกก็ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจร้านหนังสือของแต่ละทีจะมีกลยุทธ์การปรับตัวอย่างไรในวิกฤติที่ว่านี้ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มีหนึ่งกลยุทธ์จากร้านหนังสือ Elizabeth’s Bookshop ในออสเตรเลียที่ไม่ยอมแพ้กับวิกฤติที่เกิดขึ้นและงัดกลยุทธ์ Blind Date Books ออกมาใช้เพื่อให้ธุรกิจยังเดินหน้าซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

Elizabeth’s Bookshop ร้านหนังสือชั้นนำในออสเตรเลีย

แวดวงหนังสือ

ภาพจาก goo.gl/qn7xty

ร้านหนังสือชื่อ Elizabeth’s Bookshop มี 6 สาขาในเมืองใหญ่ของออสเตรเลีย โดยสาขาซิดนีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนคิง ย่านนิวทาวน์ นอกจากนี้ยังมีสาขาอีกหลายแห่งในทวีป

ซึ่งหนังสือของ Elizabeth’s Bookshop เน้นการจำหน่ายหนังสือมือสองหรือหนังสือที่ไม่มีการตีพิมพ์ซ้ำอันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนสนใจมาที่ร้านนี้กันอย่างเนืองแน่น โดย Elizabeth’s Bookshop เปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 1973 นับเป็นเวลามากกว่า 44 ปีที่เป็นร้านหนังสือชั้นนำของออสเตรเลีย

แต่ทว่าหลังการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยมีสื่อออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้องผลประกอบการของ Elizabeth’s Bookshop ก็ลดลงอย่างน่าใจหายร้านหนังสือหลายแห่งในออสเตรเลียเองที่ทนแรงเสียดทานนี้ไม่ได้ก็มีอันต้องล้มเลิกกิจการไป

แต่ Elizabeth’s Bookshop ยังมีสายป่านที่ยาวและฐานลูกค้าที่มากพอสมควร แต่การจะอยู่รอดได้ดีกว่าคือต้องหากลยุทธ์มาดึงดูดลูกค้าสุดท้ายผู้บริหารของ Elizabeth’s Bookshop ก็มาตกลงที่กลยุทธ์สำคัญที่เรียกว่าการนัดบอดหนังสือหรือ Blind Date Books นั่นเอง

ดันกลยุทธ์ Blind Date Books สู้ตลาดไอที

sd4

ภาพจาก goo.gl/axTthP

Elizabeth’s Bookshop เพิ่มความสนใจให้กับลูกค้าทั้งหลายด้วยการจัด Blind Date Books ซึ่งเป็นมุมไว้สำหรับลูกค้ามานัดบอดกับหนังสือ หนังสือที่ถูกคัดเลือกมาจะถูกห่อหุ้มด้วยกระดาษสีน้ำตาลผูกริบบิ้นเรียบร้อย บนกระดาษห่อเขียนด้วยลายมือระบุสั้น ๆ ว่าเป็นหนังสือแนวไหน และมีคีเวิร์ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเล่ม ลูกค้าที่มาเลือกซื้อจะไม่รู้ชื่อเรื่องหรือแม้กระทั่งชื่อนักเขียน เรียกว่าเป็นการสุ่มเลือกล้วน ๆ

มีวิธีเพิ่มความสนใจให้ลูกค้าด้วยการจัด

sd3

ภาพจาก goo.gl/GKb8tE

โดยผู้จัดการร้านกล่าวว่าเป็นการดึงให้คนอ่านออกจากวรรณกรรมที่ถนัดหรือชื่นชอบ และไม่เลือกหนังสือเพราะปก และลูกค้าหลายคนอาจเลือกหนังสือไม่ถูก ไม่รู้จะอ่านอะไร ส่วนใหญ่ก็จะตัดสินจากปกหนังสือ

การห่อหนังสือไม่ให้เห็นปกทำให้ตัดปัญหาตรงนี้ไป และยังเป็นการเปิดโอกาสคนอ่านได้ลองอะไรใหม่ ๆ แทนการเลือกหนังสือแนวเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ที่คุ้นเคยโดยลูกค้าสามารถซื้อ Blind Date Books ไปอ่านเองหรือเป็นของขวัญก็ได้ เหมือนการเล่นเกมสนุก ๆ เพิ่มความตื่นเต้นเพราะผู้ให้ก็ไม่รู้ว่าซื้อหนังสืออะไรมา ส่วนผู้รับต่างก็ได้ลุ้นว่าจะได้รับหนังสือแนวไหนไปอ่านเช่นกัน

ทั้งนี้ทางร้าน Elizabeth’s Bookshop ก็ยังมีการวางจำหน่ายหนังสือเปิดเผยปกทั่วไป แต่ทว่า Blind Date Books ดูเหมือนกิจกรรมนัดบอดกับหนังสือจะได้รับความสนใจมากกว่าหนังสือทั่วไปบนชั้น ทั้งนี้ พนักงานในร้านจะเป็นผู้เลือกหนังสือมาห่อปก โดยราคาหนังสือจะไม่แพงมาก อยู่ที่เล่มละ 7-10 เหรียญ เมื่อซื้อไปแล้วพบว่าเป็นหนังสือที่เคยอ่านหรือมีอยู่แล้ว ลูกค้าสามารถนำกลับมาคืนได้ภายใน 7 วัน

sd2

ภาพจาก goo.gl/bgGhFK

ถือเป็นอีกกลยุทธ์เพิ่มยอดขายที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลตอบรับของกลยุทธ์นี้ดี อาจเป็นด้วยร้านตั้งอยู่ในย่านนิวทาวน์ ใกล้มหาวิทยาลัยซิดนีย์

แหล่งรวมปัญญาชนและคนรุ่นหนุ่มสาวที่สนใจแนว ๆ นี้อยู่แล้วหรือบางกรณีในประเทศญี่ปุ่นที่เจอปัญหาธุรกิจซบเซาก็เปลี่ยนแนวทางมาเป็นร้านหนังสือให้เช่าแทนการขายขาด ก็เป็นกลยุทธ์ทางตรงที่เราเห็นกันแต่ในทางอ้อมธุรกิจร้านหนังสือก็เข้าไปในโลกออนไลน์ด้วยการจัดหนังสือออนไลน์ขายเช่นกันซึ่งดูเหมือนในบ้านเราจะนิยมวิธีหลังสุดที่ว่านี้มากกว่า

ทั้งนี้ร้านหน้งสือในประเทศไทยเองก็ใช่ว่าจะต้องเลิกกิจการกันไปยังมีอีกหลายร้านที่เปิดดำเนินกิจการอยู่ได้เพียงแต่รูปแบบการนำเสนอวิธีการขายหรือการเข้าถึงลูกค้าจะต้องดึงดูดใจให้มากขึ้น

เรายังเชื่อว่าเสน่ห์ของนิตยสารหรือว่าหนังสือเป็นสิ่งที่ยังมีค่าคู่สังคมไทยเพียงแต่รูปแบบที่ทำให้คนสนใจเท่านั้นที่ยังไม่ชัดเจนหากตอบโจทย์เรื่องเหล่านี้ได้วงการหนังสือก็ไม่สูญหายและยังจะอยู่คู่สังคมของเราได้อีกนานเท่านาน


SMEs Tips (ทำร้านหนังสืออย่างไรให้อยู่รอด)

  • หาหนังสือที่มีความหลากหลายที่คนกำลังให้ความสนใจมากๆ
  • รูปแบบการจัดร้านต้องเปลี่ยนสไตล์เป็นแบบวัยรุ่นมากขึ้น
  • ต้องจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมด้วยให้คนสนใจ
  • ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีในการโปรโมทร้านอย่างชาญฉลาด

ทั้งนี้หากเราคิดจะทำร้านหนังสือให้เติบโตและอยู่รอดได้จริงๆก็ควรมีแนวทางความรู้ในการบริหารจัดการและก้าวตามเทคนโลยีต่างๆให้ทันเพื่อคิดค้นการตลาดที่ไม่ตกยุคซึ่งเราก็มีบทความมากมายเกี่ยวกับการตลาดในยุคนี้ไว้คอยอัพเดทอย่างต่อเนื่องสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม

ดูรายละเอียด goo.gl/zTNzcR

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช