Subway ยุคใหม่! เพิ่มระบบดิจิทัลเพิ่มกำลังการขาย

ธุรกิจในยุคนี้ ต้องทำตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดูจากบรรดาร้านค้าปลีกในสหรัฐที่ระส่ำระส่ายกับการเข้ามาของสินค้าออนไลน์ถึงขนาดที่มีการปิดกิจการกันเป็นว่าเล่น

ธุรกิจรูปแบบอื่นก็ต้องพยายามไม่ให้เกิดบทเรียนซ้ำรอยแบบนั้นจึงเห็นการขยับของแบรนด์ยักษ์ใหญ่มากมายที่ดิ้นเพื่ออยู่รอดหนึ่งในนั้นก็รวมยักษ์ใหญ่แซนด์วิชอย่าง Subway ที่ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาไปดูข้อมูลในการต่อสู้เพื่อปรับตัวให้อยู่ในตลาดปัจจุบันได้ดีกว่าเดิม

e7

Subway เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 1965 ที่รัฐ Milford, Connecticut สหรัฐอเมริกา ชื่อของ Subway มาจาก submarine sandwich ปัจจุบันสาขาของ SUBWAY มีอยู่มากกว่า 44,333 แห่ง ในกว่า 111 ประเทศทั่วโลกและเป็นการบริหารด้วยตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งสิ้น

ด้วยจุดเด่นของ Subway ที่เน้นขายแซนวิช และสลัดเป็นหลัก ตามสโลแกนคือ eat fresh ทำให้ธุรกิจนี้ขึ้นแท่นเป็นสุดยอดธุรกิจติดระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว

ตัวเลขรายได้ของ Subway แม้จะดูเหมือนง่ายแต่ก็ไม่ได้สวยงามเท่าไหร่นักแม้จะยังมีส่วนแบ่ง 49.3% ของตลาดแซนวิชอเมริกัน แต่ก็ถือเป็นสัดส่วนลดลง 5.1% ตั้งแต่ปี 2010

จุดนี้ข้อมูลจากบริษัทวิจัย Technomic ที่รวมอันดับ Top 500 Restaurant Chains Report พบว่ายอดจำหน่ายของ Subway ลดลง 3.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีมูลค่ารวม 1.15 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เหตุผลสำคัญคือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

e8

สิ่งที่เห็นได้จากการพยายามสู้เพื่อรอดของ Subway ในตอนนั้นเริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนโลโก้ โดยโลโก้ใหม่ของ Subway ก็ยังคงจุดเด่นคือสีเขียว เหลือง และเล่นลูกศรกับตัวอักษร S และ Y แต่เน้นดีไซน์ในรูปแบบของ Flat design เพื่อเน้นถึงภาพลักษณ์ความสดใหม่ และมีทัศนคติที่เป็นแบรนด์หัวก้าวหน้า

โดยทางผู้บริหารของ Subway มั่นใจว่าโลโก้ใหม่ที่ว่านี้จะช่วยให้เอกลักษณ์ของแบรนด์ชัดเจนยิ่งขึ้น แสดงถึงความมั่นใจ พร้อมจะก้าวไปกับผู้บริโภคยุคใหม่ ยังไม่รวมการคลอดเมนูใหม่ๆแบบพรีเมี่ยมเช่น อกไก่ตุรกี และไก่ย่างกับซอสซีซาร์ เพื่อเป็นมิติใหม่ทางการตลาดและทำให้เกิดสีสันน่าสนใจกับผู้บริโภคมากขึ้น

e4

แต่ทว่าความพยายามทั้งหลายที่ว่านี้ก็ดูจะแค่ประคับประคองตัวธุรกิจให้ทรงอยู่ต่อไปได้เท่านั้นในภาพรวมแล้วต้องยอมรับว่ายอดขายของ Subway นั้นกลับลดลงกว่า 1.7% แถมยอดขายเฉลี่ยในแต่ละร้านก็ลดลงกว่า 13 %

และผลพวงจากปัญหาของการตลาดแบบออนไลน์ที่เป็นปัญหาหนักในอเมริกา Subway เองก็มีผลกระทบเรื่องนี้ชัดเจนกับการปิดสาขาในสหรัฐอเมริกาไปถึง 359 แห่ง เป็นที่มาของการปรับขบวนอีกครั้งด้วยการนำระบบดิจิทัลมาเพิ่มกำลังการขายของตัวเองให้มากขึ้นนี้

e6

Peter Buck ผู้ร่วมก่อตั้ง Subwayจึงมีแผนในการตั้งแผนกดิจิทัลของตัวเองขึ้นมา โดยจะมีพนักงานทำงานแบบเต็มเวลาจำนวน 150 คน โดยเป็นความร่วมมือกับบริษัท Accenture ซึ่งจะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้บริษัทผู้จำหน่ายแซนวิชสามารถพัฒนากลยุทธ์ดิจิทัลด้วยการใช้เทคโนโลยีได้ดีกว่าเดิม คาดการณ์ว่านโยบายเชิงกลยุทธ์ดิจิทัลของ Subway จะเน้นที่การพัฒนาพัฒนา loyalty program และกลยุทธ์ดิจิทัลอื่นๆอย่างเต็มตัวเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความพิเศษใน Subway มากขึ้น

เบื้องต้น Subway ระบุว่าประสบการณ์เหล่านี้อาจไม่ต้องเริ่มต้นที่ร้าน Subway แต่อาจจะเริ่มที่การชมโฆษณาออนไลน์ของ Subway จุดนี้ Subway หวังจะให้ลูกค้าใน 125 ประเทศที่ Subway เปิดกิจการอยู่ได้รับประสบการณ์สั่งซื้ออาหารที่สะดวกรวดเร็วและเป็นส่วนตัว โดยทั้งหมดนี้จะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีบนโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก

e5

แนวทางการปรับมาใช้กลยุทธ์ดิจิทัลเพิ่มยอดขายให้ตัวเองนี้ละม้ายคล้ายคลึงกับคู่แข่งอย่าง Starbucks ที่เน้นในการพัฒนา Loyalty Program เหมือนกันและก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งครั้งหนึ่ง Subway เองก็เคยทดลองใช้ระบบนี้มาก่อนหน้าแต่ตอนนั้นไม่ได้จริงจังมากพอจึงเป็นข้อผิดพลาดที่ต้องมาตามแก้ไขในตอนนี้

แต่เชื่อได้อย่างหนึ่งว่า Subway มีความแข็งแกร่งในตัวเองที่มากพอตัว กับจุดเริ่มต้นเงินลงทุนธุรกิจแค่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ผลักดันตัวเองผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้ถึงตอนนี้อาจจะสั่นคลอนไปบ้างแต่เชื่อว่าถ้าตั้งหลักได้เมื่อไหร่คราวนี้เดินหน้าฉลุยแบบไม่หยุดไม่อยู่ทีเดียว

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/vyVEKG

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด