Step by Step เปิดร้านชาบู ไม่ยาก

ร้านชาบู นับเป็นเทรนด์ลงทุนยุคใหม่ความน่าสนใจของร้านชาบูคือวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ทั้งเนื้อวัว ผักสด รวมถึงบรรยากาศภายในร้าน และเสน่ห์ของชาบูที่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อน ญาติพี่น้อง มานั่งกินพร้อมกัน เป็นสีสันแห่งการรับประทานอาหารที่ดีทิศทางการเติบโตของร้านชาบูก็เพิ่มหลายเท่าตัว ทั้งแบรนด์ขนาดใหญ่ และบรรดาผู้ค้ารายย่อยที่แม้แต่ริมทางก็ยังเปิดเป็นร้านชาบูได้

แม้เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและลูกค้าก็มีจำนวนมากแต่การเข้ามาทำ Step by Step เปิดร้านชาบู ใช่ว่าใครจะทำแล้วประสบความสำเร็จได้การเป็นร้านชาบูที่มีคุณภาพ ลูกค้าติดใจนั้นต้องมีเทคนิคในการเริ่มต้นที่ดีซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มีขั้นตอนเบื้องต้นของการเปิดร้านชาบูมาฝากเป็นข้อมูลให้เราได้รู้แนวทางก่อนเริ่มต้นการทำธุรกิจนี้

1.สำรวจความพร้อมตัวเองในด้านเงินทุน

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://www.facebook.com/shabu81

คำถามคือต้องมีเงินเท่าไหร่สำหรับเปิดร้านชาบู คิดกันแบบง่ายๆ ไม่รวมค่าเช่าสถานที่และค่าก่อสร้าง เฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเปิดร้านเบื้องต้นประมาณ 100,000 บาท (ในกรณีที่เป็นร้านเล็กมีที่นั่งประมาณ 10 โต๊ะ) ซึ่งหากรวมเบ็ดเสร็จทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้วการเปิดร้านชาบูใช้ต้นทุนที่เยอะมาก

ส่วนหนึ่งคือวัตถุดิบที่ต้องมีการคัดสรรอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว เนื้อหมู ซีฟู้ด ผักสด และยิ่งหากอยู่ในทำเลที่ดีก็จะมีค่าเช่าที่แพงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นร้านชาบูแม้เป็นธุรกิจที่ดีคนให้ความนิยมแต่ควรถามตัวเองก่อนว่าพร้อมจะลงทุนในธุรกิจนี้มากน้อยแค่ไหน แนะนำว่าวิธีการที่ทำให้เริ่มต้นได้ง่ายขึ้นคือการร่วมหุ้นกันเปิดร้าน

2.ทำเลยังเป็นสิ่งสำคัญ

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://goo.gl/HZHpRX

ถ้าหมดปัญหาเรื่องเงินทุนมีความพร้อมจะเปิดร้านได้ ขั้นต่อมาคือ “ทำเล” ร้านชาบูจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดในแหล่งชุมชนยิ่งใกล้ที่พัก ใกล้สถานศึกษา สถานที่ราชการ ย่านโรงงาน จะยิ่งได้เปรียบ อย่าคิดเปิดร้านชาบูในพื้นที่คนไม่ค่อยนิยมผ่านแม้ค่าเช่าจะถูกกว่าแต่ความเสี่ยงก็สูงมากด้วย

แนะนำว่าเราต้องยอมเสี่ยงค่าเช่าที่แพงเพื่อแลกกับปริมาณลูกค้าที่มากขึ้น และต้นทุนค่าเช่าที่ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่บอกได้ว่าร้านเราจะมีกำไรได้มากน้อยแค่ไหน แต่หากใครมีที่ดินของตัวเองในย่านชุมชนจะได้เปรียบเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

3.กำหนดรูปแบบของร้านและจดทะเบียนให้ถูกต้อง

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://www.facebook.com/shabu81

เราไม่ได้แนะนำว่าควรเปิดร้านขนาดใหญ่ในทันที ก่อนเปิดร้านชาบูควรกำหนดรูปแบบร้านที่เหมาะสมกับเงินทุนที่ตัวเองมีทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งระเบียบของการเปิดร้านอาหารนั้น มีการจดทะเบียน 2 ประเภทคือ นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาโดยสามารถยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานเขตทุกแห่ง

4.หาซื้ออุปกรณ์เปิดร้านที่จำเป็น

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://goo.gl/EWoYij

อุปกรณ์สำคัญสำหรับการเปิดร้านชาบูเช่นเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบปรับอุณหภูมิได้ ,หม้อน้ำซุปแบบ 2 ช่อง , เครื่องสไลด์เนื้อ , ตู้แช่สำหรับเก็บเนื้อและวัตถุดิบต่างๆ , ชุดโต๊ะ เก้าอี้ , ถาด ถ้วย กระบวย กระชอน เป็นต้น

โดยสินค้าเหล่านี้หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านที่จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับร้านอาหารซึ่งมีให้เลือกเป็นจำนวนมาก สำหรับใครที่เปิดร้านชาบูแบบมือใหม่แนะนำว่าให้ซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นมาก่อนแล้วค่อยซื้อเพิ่มเติมอย่างอื่นในภายหลัง

5.สร้างจุดเด่นของร้านให้น่าสนใจ

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://goo.gl/rp4NSU

สิ่งที่จะทำให้ร้านชาบูอยู่รอดได้หรือไม่คือจุดเด่นของร้านที่ต้องให้เด่นและแตกต่างจากคู่แข่งที่มีจำนวนมาก นั้นหมายถึงคุณภาพของวัตถุดิบ การบริการ ราคา (โดยส่วนใหญ่มักเป็นแบบบุฟเฟต์ คิดราคาต่อคนเริ่มต้นที่ประมาณ 299 บาท) และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “น้ำจิ้ม” ที่ควรเป็นเอกลักษณ์ของร้าน

แม้ว่าน้ำจิ้มส่วนใหญ่หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าแต่หากต้องการให้ร้านชาบูนั้นน่าสนใจควรมีสูตรน้ำจิ้มเฉพาะของตัวเองให้ลูกค้าได้กินแล้วติดใจ รวมไปถึงมาตรฐานในเรื่องอื่นๆ ที่ต้องเอาใจใส่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความประทับใจอย่างสูงสุด

6.รู้จักการควบคุมต้นทุนเพื่อให้มีกำไร

Step by Step เปิดร้านชาบู

ภาพจาก https://goo.gl/x5z1ds

การบริหารต้นทุนมักเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการใหม่ๆ คิดไม่ถึง หลายคนมีเงินลงทุนเท่าไหร่ก็นำมาซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น โดยไม่คำนึงถึงเงินหมุนเวียนจนทำให้กิจการสะดุด เพราะฉะนั้นการบริหารเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้กิจการรุ่งดำเนินต่อไปได้

ซึ่งมีสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้ ต้นทุนอาหาร ควรอยู่ที่ 25 – 35 เปอร์เซ็นต์ , ต้นทุนด้านแรงงาน ควรอยู่ที่ 15 – 25 เปอร์เซ็นต์ ,ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน ควรอยู่ที่ 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ ,ต้นทุนผันแปร ควรอยู่ที่ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ หากตั้งเป้ายอดขายไว้ที่วันละ 10,000 บาท ต้นทุนอาหารไม่ควรเกิน 3,500 ต้นทุนแรงงานไม่ควรเกิน 2,500 เป็นต้น

7.รู้จักการต่อยอดธุรกิจให้เติบโต

รู้จักการต่อยอดธุรกิจให้เติบโต

ภาพจาก https://goo.gl/XURKZa

การเปิดร้านชาบูถ้าเริ่มจากร้านขนาดเล็กต้นทุนอาจไม่สูงมากข้อแนะนำคือเราควรรู้จักการใช้กำไรมาต่อยอดธุรกิจให้โตขึ้น ขยายขนาดร้านให้ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ไม่ควรพลีพลามรีบขยายร้านหากเงินทุนในการขยายร้านยังไม่มากพอ และควรดูแนวโน้มของลูกค้าที่มีเพื่อป้องกันความเสี่ยงเบื้องต้น หรือในกรณีที่มีการขยายสาขาสิ่งสำคัญคือต้องสามารถควบคุมคุณภาพของอาหารให้เหมือนกันได้ทุกสาขา รวมถึงต้องมีระบบการจัดส่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพด้วย

การลงทุนเปิดร้านชาบูถือว่ามีต้นทุนที่ควรข้างสูงแต่ก็มีลูกค้าที่ให้ความสนใจมาก ใครที่กำลังมองการลงทุนในธุรกิจแนวนี้หากยังไม่มั่นใจว่าจะเปิดร้านได้เองหรือคิดว่าตัวเองยังไม่มีประสบการณ์มากพออีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจคือการลงทุนกับ
แฟรนไชส์ที่มีแฟรนไชส์ในลักษณะนี้ให้เลือกกจำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งแนวทางการลงทุนที่ลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีด้วย

SMEs Tips

  1. สำรวจความพร้อมตัวเองในด้านเงินทุน
  2. ทำเลยังเป็นสิ่งสำคัญ
  3. กำหนดรูปแบบของร้านและจดทะเบียนให้ถูกต้อง
  4. หาซื้ออุปกรณ์เปิดร้านที่จำเป็น
  5. สร้างจุดเด่นของร้านให้น่าสนใจ
  6. รู้จักการควบคุมต้นทุนเพื่อให้มีกำไร
  7. รู้จักการต่อยอดธุรกิจให้เติบโต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kFSurM

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด